ปรับเกณฑ์รับนักเรียน แก้ “แป๊ะเจี๊ยะ” ได้จริงหรือ?

ถึงช่วงเทศกาลรับนักเรียน ปัญหาเรื่อง แป๊ะเจี๊ยะ เด็กเส้น เด็กฝาก เป็นประเด็นที่ถูกหยิบนำมาพูดถึงกันเป็นประจำ แม้หลายครั้งจะมีความพยายามหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ แต่ดูเหมือนก็ยังมีช่องโหว่ให้ยังสามารถกระทำได้

ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 ที่ผ่านมา มีการรายงานถึงมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ โดยสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวคือ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 7 ข้อ เพราะเงื่อนไขดังกล่าวกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาทุจริตหรือเรียกเงิน “แป๊ะเจี๊ยะ” ขึ้นได้

เพิ่มเงื่อนไขพิเศษรับเด็กเข้าเรียน

เงื่อนไข 7 ข้อที่ให้ยกเลิกนั้น ประกาศใช้เมื่อปีการศึกษา 2554  ลงนามโดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีศึกษาธิการ ในขณะนั้น โดยประกาศหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษไว้ ดังนี้ 1.นักเรียนที่ทำคะแนนสอบคัดเลือกเท่ากันในลำดับสุดท้าย, 2.รับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษตามข้อตกลงในการจัดตั้งโรงเรียน, 3.เด็กยากไร้ เด็กด้อยโอกาส หรือเด็กพิการ, 4.บุตรของผู้เสียสละเพื่อชาติ, 5.บุตรของข้าราชการครู หรือบุคลากรในโรงเรียนแต่ไม่ครอบคลุมถึงหลานและญาติ, 6.รับนักเรียนโควตาตามข้อตกลงของโรงเรียนคู่พัฒนา และ 7. รับนักเรียนของผู้ทำคุณประโยชน์ให้โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

แนวทางดังกล่าวทั้งนี้ สถานศึกษาต้องพิจารณารับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษให้เสร็จ และประกาศรายชื่อก่อนวันสอบคัดเลือก และยึดหลักการปฏิบัติ 3 ข้อ คือ 1. การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ต้องไม่มีการรับฝาก เรียกรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน 2.บุคคลหรือองค์กรที่เสนอชื่อเด็กนั้น จะต้องเกี่ยวพันโดยตรงกับเด็กและสามารถตรวจสอบได้ และ 3.ต้องไม่มีการแบ่งโควตานำไปรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ โดยเฉพาะการแบ่งโควตาระหว่างสมาคมศิษย์เก่า และโรงเรียน

เห็นช่องโหว่เด็กฝาก เด็กเส้น

เงื่อนไขดังกล่าวถูกใช้มาหลายปี กระทั่งการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2559 ซึ่ง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการในขณะนั้น ได้กำชับไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศ ว่าต้องไม่มีการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ และยอมรับว่าเงื่อนไขพิเศษในการรับเด็ก 7 ข้อ คือช่องโหว่ในการเรียกรับผลประโยชน์  และเห็นว่าควรนำเงื่อนไขที่กำหนดไว้กลับมาทบทวนใหม่

ผนวกกับในเวลาต่อมา นายคมเทพ ประภายนต์ อดีตนายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมทางการศึกษา ซึ่งเคยร่วมออกนโยบายเงื่อนไขพิเศษ 7 ข้อ เห็นว่าการคัดเลือกนักเรียนที่เข้าเงื่อนไขให้โรงเรียนตั้งคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นมาเองนั้น เกิดการคัดเลือกที่ไม่โปร่งใส และไม่ได้รับการตรวจสอบชัดเจนว่า เด็กที่รับเข้ามามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้จริงหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้โรงเรียนเปิดช่องรับเงินจากผู้ปกครอง ให้เด็กได้เข้าเรียน โดยระบุว่า การกำหนดเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อ ต้องการให้เด็กนักเรียนที่เข้าเงื่อนไขได้รับโอกาสเข้าเรียน และคาดว่าโรงเรียนแต่ละแห่ง จะมีเด็กนักเรียนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขไม่เกินโรงเรียนละ 5 คน หรืออย่างมากที่สุดคือ 10 คน แต่กลับพบว่าโรงเรียนบางแห่งมีนักเรียนเข้าเงื่อนไขพิเศษถึง 60 คน ซึ่งเป็นช่องโหว่ของการกำหนดเงื่อนไขพิเศษการรับเด็กเข้าเรียน

ตัดเงื่อนไขพิเศษจาก 7 เหลือ 4

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้มีมติแก้ไขประกาศ สพฐ. เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2562 เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2562 ที่ผ่านา โดยปรับปรุงเงื่อนไขเดิมที่กำหนดเกณฑ์การรับนักเรียนไว้ 7 ประเภท ให้ลดเหลือ 4 ประเภท ได้แก่ 1. นักเรียนที่อยู่ในความอนุเคราะห์ของผู้บริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งโรงเรียน เนื่องจากเป็นข้อผูกพันเดิมของโรงเรียน 2. นักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส 3. นักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติ หรือ ผู้ประสบภัยพิบัติ ที่ต้องการได้รับการสงเคราะห์ดูแลเป็นพิเศษ และ 4. นักเรียนที่เป็นบุตรราชการครู และบุคลากรของโรงเรียน ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเภทให้ตัดออก ได้แก่ 1. นักเรียนที่ทำคะแนนสอบคัดเลือกเท่ากันในลำดับสุดท้าย 2. รับนักเรียนโควตาตามข้อตกลงของโรงเรียนคู่สหกิจ หรือคู่พัฒนา หรือโรงเรียนเครือข่าย และ 3. นักเรียนที่อยู่ในอุปการะของผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนไป นักการศึกษาชื่อดัง ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้มุมมองว่า รู้สึกผิดหวังกับประกาศที่ออกมา เพราะหากจะแก้ไขปัญหาแป๊ะเจี๊ยะจะต้องยกเลิกเงื่อนไขพิเศษทั้ง 7 ข้อ ทำให้เชื่อว่าปัญหาแป๊ะเจี๊ยะจะยังอยู่ในวังวนเดิม คงหมดหวังกับการปฏิรูปการศึกษา เพราะเพียงเรื่องปัญหาแป๊ะเจี๊ยะยังไม่สามารถแก้ไขได้ ปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้อย่างไร

“จุดอ่อนของปัญหาการรับนักเรียนอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนบางแห่งเรียกรับเงินจากการรับนักเรียนจริง ผมเสนอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย ขณะเดียวกัน สพฐ. ก็ต้องเร่งยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ยกเลิกค่าใช้จ่ายรายหัวที่กำหนดให้เท่ากันหมดทั้งประเทศ และควรกระจายอำนาจให้สถานศึกษาตัดสินใจกำหนดแนวทางการรับนักเรียนที่ชัดเจนและรับผิดชอบต่อการรับเด็ก ไม่ควรใช้เกณฑ์เดียวเหมือนกันทั้งประเทศ”

การปรับเกณฑ์รับนักเรียนครั้งนี้ จะแก้ปัญหา “แป๊ะเจี๊ยะ” ได้จริงหรือไม่ เพราะหากยังแก้ไขปัญหาไม่ตก การศึกษาไทยก็คงยังย่ำอยู่ที่เดิม

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

จัดอันดับ! ชื่อเสียงของเหล่าซุปตาร์เกาหลี ประจำเดือนเมษายน

ไม่ต้องรอกันนานตอนนี้ได้ประกาศอันดับชื่อเสียงสำหรับโมเดลโฆษณาประจำเดือนเมษายน ใครที่จะคว้าใจของคนทั้งประเทศต้องรอดูเลย!

“ไอรีน Red Velvet” ปล่อยคลิปโปรโมตงานนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรก!

นักร้องสาว “ไอรีน Red Velvet” จัดนิทรรศการภาพถ่ายของตัวเองเป็นครั้งแรก พร้อมมีเซอร์ไพร์สของขวัญสุดพิเศษให้แฟน ๆ ได้ตาลุกวาว

ปารีณา น้ำตาซึม! คู่กัดในสภา เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ ร่วมอาลัยคุณพ่อทวี

ปารีณา ไกรคุปต์ น้ำตาซึมไม่คาดคิดว่าคู่กัดในรัฐสภา อย่าง เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ จะมางานศพ ร่วมอาลัย คุณพ่อทวี ไกรคุปต์

โคตรโหด! พ่อโมโห ลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ เตะอัดหน้าลูกจนสลบ

พ่อหัวร้อน โมโหลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ งานศพยาย เพราะใกล้เป็นเทอม เตะอัดหน้าลูกจนสลบคาเท้า ก่อนต่อยญาติเจ็บอีก 2 ราย

OMG! เน็ตไอดอล จัดซีทรูแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อน แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ดไม่ไหว

โอ้โห! เน็ตไอดอลชื่อดัง จัดซีทรูสุดแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อนกลางชายหาด แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ด จนทำใจระทวย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า