“โรคหืด”ที่หลายคนมองข้ามไป แต่คร่าชีวิตคนไทยนับพัน

  • รู้หรือไม่ คนไทยเสียชีวิตจากโรคหืด ปีละกว่า 2000 ราย
  • มีผู้ป่วยที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินปีละล้านครั้ง
  • โรคหืดยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้
  • เปิดทฤษฎี 4Es เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้ เพื่อควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ และลดการใช้ยา

 

ถ้าพูดถึง “โรคหืด” หลายคนอาจยังมีความสับสน และเข้าใจผิดว่าเป็นโรคชนิดเดียวกันกับหอบหืด แต่ความจริงแล้วคนที่เป็นโรคหืดนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นหอบก็ได้ ซึ่งในที่นี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการดูแลตัวของคนที่เป็นโรคหืด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลง

ปัจจุบันโรคหืดพบได้มากถึงร้อยละ 7 ของคนไทยทั้งหมด จากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่า 2,000 รายต่อปี และที่น่าตกใจไปกว่านั้น โรคนี้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ ศ.นพ. สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเสริมว่า เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยโรคหืด จึงเป็นการควบคุมอาการให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติ

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล นายกผู้ตั้งสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวถึงการใช้ทฤษฎี 4Es ที่สามารถใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งทฤษฏี 4ES ประกอบไปด้วย

  1. การให้คนไข้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise)
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Eating)
  3. สิ่งแวดล้อม (Environment) คนไข้โรคหืดจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ
  4. อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ในภาวะที่คนไข้เครียด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน จะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้

ทั้งหมดนี้เป็นทฤษฎีที่ง่าย สามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ด้าน ผศ.นพ. ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ เลขาธิการสมาคมสภาองค์กรโรคหืดฯ กล่าวว่าการสร้างฐานข้อมูลของคนไข้โรคหืดนั้นมีความจำเป็น และต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดทำมาตรฐานแนวทางการวินิจฉัยเพื่อการรักษา การทดสอบทางห้องปฏิบัตืการ การสืบค้นหาดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรง เพื่อให้เห็นถึงอุบัติการณ์ ความชุก และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรง โดยจะนำไปใช้ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด และนำไปสู่การแนวทางการวินิจฉัยและรักษา โรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) อันจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรการแพทย์ ในการนำไปใช้รักษาคนไข้ในพื้นที่บริการได้ โดยการเก็บข้อมูลนั้น ได้รับความร่วมมือในรูปแบบสหสถาบันในไทย ประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาล สงขลานครินทร์ โดยตั้งกลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัย โดยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจด้านโรคหลอดลม

หากใครที่อยากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพิ่มเติม หรืออยากได้ความรู้ทางด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage “Asthma Talk by Dr.Ann”

 

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ตร.น้ำดี ฮึดไล่จับ! หนุ่มคลั่งทุบรถ หลังถูกคว้าปังตอวิ่งไล่ฟันหัวโดน 3 แผล

รองสารวัตรจราจรกลาง เข้าระงับเหตุ ชายคลุ้มคลั่งเอาค้อนทุบรถ ถูกวิ่งเอาปังตอ ร้านก๋วยเตี๋ยวฟันหัว 3 ครั้ง อึดจับคนร้ายรวบตัวได้สำเร็จ

ไวรัล! แมวส้มในสนามบิน “หนูหรั่ง” ขวัญใจ นทท. ที่นั่งบนราวบันไดเลื่อน

ไวรัลสุดน่ารัก! “หนูหรั่ง” แมวส้มที่กำลังนั่งอยู่บนราวบันไดเลื่อน สนามบินสุวรรณภูมิ เจ้าของเผยสาเหตุ ที่ทำให้ต้องตามไปถึงสนามบิน

เช็กลิส! 5 อาหารยอดนิยม เสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ โรคหูดับ

ดับฝันซอยจุ๊เลิฟเวอร์ สบส. เตือน! กินอาหารดิบเสี่ยงไข้หูดับ พยาธิใบไม้ตับ พร้อมเผยชื่อเมนูสุดฮิตที่ใครๆก็ต้องเคยลอง

หนุ่มใหญ่ วัย 60 ปี ตัดสินใจ! กินยาฆ่าแมลง จบชีวิตสลดบนรถไฟ

สลด! ผู้โดยสาร วัย 60 ปี เสียชีวิตคาตู้โบกี้รถไฟ ที่เกิดเหตุพบ “ยาฆ่าแมลง” คาดผู้ตาย ตัดสินใจ กินเข้าไปก่อนรถไฟจะมาถึงสถานี

ร้อนไม่ไหว! วิธีคลายร้อนของวัยแรงงาน ด้วยสมุนไพร ช่วยให้ร่างกายเย็นลงได้

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผย วิธีรับมือปัญหาสุขภาพ เมื่อต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อน ด้วยสมุนไพรไทย ช่วยได้จริง!

ชาวบ้าน ผงะ! พบศพชาวต่างชาติ ผูกคอดับปริศนา ร่างติดอยู่กับราวสะพาน

ชาวบ้านเขตบางรัก เปิดเผย เคยเห็นชาวต่างชาติ เดินเร่ร่อนแถวนี้บ่อย คล้ายคนสติไม่ดี ก่อนมาพบเป็น ศพผูกคอดับปริศนา สภาพศพรอยอืดน้ำ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า