อาจจะช้าเกินไปหากจะตั้งคำถามว่า E-Sport ควรเป็นกีฬาหรือไม่ แต่คำถามเหล่านี้ก็ยังวนเวียนอยู่ในสังคมไทย แม้ว่า E-Sport จะได้รับการรับรองจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(กกท.) ให้เป็นกีฬาไปตั้งแต่ปี 2560 เพราะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่เลิกว่า คำจำกัดความของ “กีฬา” คืออะไร และ E-Sport ส่งผลดีหรือผลเสียกันแน่

หลากหลายความเห็นที่มีต่อกระแสข่าวนี้ เรามาทำความรู้จักกันอีกสักครั้งว่า E-Sports คืออะไร ถ้าจะให้ตอบก็เป็น กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกพัฒนาจากการเล่นเกมแบบเดิม ๆ ตามการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ เกม จึงถูกพัฒนาตามโลกที่เปลี่ยนแปลงด้วย  E-Sports ก็เป็นหนึ่งในเกมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตามยุคสมัย จากเล่น 1คน ก็เล่นเป็นทีม สิ่งที่ล้ำไปกว่านั้นคือ ผู้เล่นต้องวางแผน วางกลยุทธ์ ซึ่งไม่ต่างการเล่นกีฬาทั่วไป เพียงแต่ E-Sports ไม่มีข้อจำกัดช่วงอายุ-เพศ

ข้อมูลจาก Newzoo ระบุว่า อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ E-Sports เติบโตสูงที่สุดในโลก โดยคาดการณ์ว่า ปี 2015-2019 แฟนกีฬา E-Sports จะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 36.1% ขณะที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วโลกในช่วงปีเดียวกันอยู่ที่ 19.1% เท่านั้น

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาระบุว่า E-Sport เป็นเพียงวาทกรรมของธุรกิจวิดิโอเกม ซึ่งในทางวิชาการ ยังไม่จัดว่าเป็นกีฬา โดยอ้างอิงคำพูดของ “โธมัส บาค” ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ว่า ไอโอซี ยังไม่มีคำตอบว่า E-Sport คือกีฬาอย่างแท้จริงหรือไม่ และไม่มีข้อยุติ เพราะเนื้อหาของเกมมีความรุนแรง ซึ่ง E-Sport ยังตอบคำถามไม่ได้ รวมทั้งยังไม่มีองค์กรใด ๆ ที่ให้การรับรองอย่างแท้จริง เพราะเท่าที่ทราบจะเป็นเรื่องผู้ผลิตเกมมากกว่า”

 เหตุผลที่ E-sport ไม่ควรจัดเป็นกีฬา เพราะ เนื้อหาของเกมออนไลน์ ที่นำมาแข่งขันมีความรุนแรง และไม่มีองค์กรกำกับดูแลที่ชัดเจน ต่างกับ“หมากรุก” กับ “บริด์จ” ที่ ไอซีโอ รับรอง เพราะ เป็นกีฬาประเภท Mind Sport หรือกีฬา ที่ต้องใช้ความคิดในการวางแผน

มือโปรแค่ 1 ในล้าน แต่ติดเกมบานตะไท

“ผลเสียคือ เด็กไทยถูกกระแสโฆษณาชวนให้ไปเล่นเกมมากขึ้น เพียง 6 เดือนหลังจากการประกาศให้เกมเป็นกีฬา ปริมาณเด็กที่พ่อแม่พามารักษาอาการติดเกมเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว และเด็กที่เล่นเกมในจำนวน 1 ล้านคน มีเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น ที่จะกลายเป็นมืออาชีพด้าน E-sport แต่มีเด็กติดเกมเพิ่มขึ้นหลายพันคน สังคมไทยจะต้องหันกลับมาทบทวน E-sport กันใหม่”

สอดรับกับ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ โดย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก ที่ระบุว่า ประเทศไทยรับกระแส  E-sports อย่างรวดเร็ว ซึ่งการนำ E-sports มาเป็นกีฬานั้น เกิดจากภาคธุรกิจ มีการโฆษณาเกินจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นกีฬา และไม่ควรเอาลิขสิทธิ์เกมจากบริษัทใดเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้เงินรางวัลในการแข่งขันมาเป็นตัว ‘ล่อเด็ก’ ให้เข้าสู่เกม ซึ่งวัยที่เล่นเกมมากสุด คือ 13-18 ปี เป็นวัยที่มีการพัฒนาสมองทำให้ขาดการพัฒนา

“กกท. ให้การรับรอง E-sports เป็นกีฬาเร็วเกินไป ควรกลับมาทบทวน สร้างกติกา และหาทางรับผิดชอบร่วมกัน โดยต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ ต้องมีกฎกติกาชัดเจน ต้องไม่นำไปสู่ความรุนแรง และต้องมีคณะกรรมการดูแลหากเกิดการละเมิดข้อตกลง”

ตัดเกรดคนเล่นเกม 3 กลุ่ม

แต่ในมุมมองของสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย ซึ่ง นายสันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย กลับมีความเห็นว่า E-sports ควรจัดอยู่ในประเภทของกีฬา เพราะไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือเกม ต่างเป็นการแข่งขันเพื่อวัดศักยภาพของมนุษย์ E-sports จึงไม่แตกต่างจากกีฬาประเภทอื่น ๆ

“เราควรแยก เด็กติดเกม เกมเมอร์ และนักกีฬา E-sports ให้ออก เด็กติดเกม คือ เด็กที่ชอบเล่นเกมโดยไม่ได้หาผลประโยชน์จากเกม ซึ่งกลุ่มนี้มีจำนวนมาก จึงทำให้คนทั่วไปมองภาพลักษณ์ของคนเล่นเกมผิดไป แต่ เกมเมอร์ คือ คนชอบเล่นเกม สามารถหารายได้จากเกม แต่ไม่คาดหวังว่าจะเป็นนักกีฬา ส่วน นักกีฬา E-sports คือ กลุ่มคนที่อยากเป็นนักกีฬา อยากมีการแข่งขันที่มีระบบ ระเบียบ มีวินัย เหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ หากเรามองคนทั้งสามกลุ่มอย่างเข้าใจ เราจะทราบได้ทันที ว่าทำไม เกม ควรได้รับการจัดให้เป็นกีฬา”

นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตฯ บอกด้วยว่า การนำเกมเข้าแข่งขันในเชิงกีฬา จะทำให้เกิดมาตรการควบคุมที่ง่ายขึ้น เพราะต้องมีกรรมการ กฎ กติกา ข้อบังคับ เช่นเดียวกับชนิดกีฬาอื่น ๆ ซึ่งนักกีฬา E-sports ทุกคนต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และห้ามใช้สารเสพติดและสารกระตุ้นทุกประเภท

“นักกีฬา-คนติดเกม” อยู่คนละชั้น

ด้าน ดร.ศุภฤกษ์ รักชาติ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า E-sports อาจให้ความรู้สึกแตกต่างจากกีฬาชนิดอื่น และถูกมองว่าเป็นเกม แต่หากย้อนดูวิถีชีวิตของคนไทย เราอยู่กับเกมมาตลอด มอญซ่อนผ้าก็เป็นเกม เพียงแต่เกมถูกปรับไปตามยุคสมัย

“ส่วนที่บอกว่าการรับรอง E-sports ให้เป็นกีฬา ส่งผลให้เด็กติดเกมมากขึ้น ประสบความสำเร็จน้อยนั้น มันอยู่ที่ว่า เรามองความสำเร็จอยู่ตรงไหน หาก E-sports มีการแข่งขันแพร่หลาย เด็กจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในหลายระดับเช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่นกัน”

ดร.ศุภฤกษ์ บอกอีกว่า เด็กติดเกมกับนักกีฬา E-Sports เป็นกลุ่มคน 2 กลุ่ม ที่ไม่สามารถกระโดดข้ามมาหากันได้ เพราะเด็กติดเกมคือ “ผู้ป่วย” ไม่สามารถหยุดเล่นได้ด้วยตนเอง แต่นักกีฬา E-Sports ต้องมีเวลาพักผ่อน ดูแลร่างกาย ฝึกฝนทักษะ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ชัดเจน

บทสรุปของ  E-Sports เหมือนเหรียญที่มี 2ด้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องขบคิดให้รอบเพื่อหาทางออกร่วมกัน เพราะสังคมและแนวคิดของเด็กไทย แตกต่างกับแนวคิดของเด็กต่างประเทศ บางครั้งสิ่งที่ได้กลับมาอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

คุณล่ะคิดว่า E-Sports “ทำลายล้าง” หรือ “สร้างคน” มากกว่ากัน?

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ไม่ยอม! Source Music ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดในนาม LE SSERAFIM

ต้นสังกัด Source Music เตรียมดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดในนามของเกิร์ลกรุ๊ป LE SSERAFIM ที่ถูกข้อความเท็จโจมตีจาก “มินฮีจิน”

“ขนมจีน” ซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ที่จะส่งความเห็นใจให้ มือที่สาม

“ขนมจีน” ส่งซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ได้ “เติร์ด Tilly Birds” และ “bnz” โปรดิวซ์ส่งความเห็นใจ ‘มือที่สาม’ พร้อมได้ “มิว ศุภศิษฐ์” ร่วมแสดง MV

ทุ่มสุดตัว! “เจฟ ซาเตอร์” จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติให้แฟนๆ เซอร์ไพร์สครั้งใหญ่

“เจฟ ซาเตอร์” ทุ่มสุดตัว!! จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติ ขนเซอร์ไพร์ส!! โชว์จัดหนักเพื่อแฟนเพลงในคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้

“RIIZE” เตรียมปล่อยเพลง มินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้แฟนๆ ได้ฟังก่อนใคร!

RIIZE เตรียมปล่อยเพลงในมินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้ได้ฟังกันก่อนใครในวันที่ 29 เมษยน 2024 นี้ พร้อมสไตล์ที่อันโดดเด่น

ศาลตัดสิน! แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” ไม่ได้รับมรดกสักแดงเดียว

แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” แพ้คดีความเรื่องมรดก และศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้สมาชิกในครอบครัวที่ดูแลเธอได้รับมรดกแทน

“Code Kunst” ตัดสินใจแยกทางกับ AOMG หลังอยู่มานานถึง 6 ปี

นักดนตรี/โปรดิวเซอร์ “Code Kunst” ชื่อดัง ได้ตัดสินใจแยกทางกับค่ายเพลง AOMG หลังจากอยู่มานานถึง 6 ปี ทำเอาใจหายไปกันทั้งทามไลน์
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า