ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกประกาศห้ามผลิตและนำเข้าไขมันทรานส์ เพื่อลดความเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจ ให้กับประชาชน เนื่องจากมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่า ไขมันทรานส์เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาบอกว่า การออกประกาศห้ามผลิตและนำเข้าไขมันทรานส์ เป็นเพียงแค่การลดปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ความจริงประชาชนยังต้องควบคุมอีก 7ปัจจัยเสี่ยงควบคู่กันไปด้วย จึงจะหลีกเลี่ยงภาวะโรหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือ

1.บุหรี่ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ 2 ซองต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ชายสูงเป็น 3 เท่า และในผู้หญิงสูงเป็น 6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนไม่สูบบุรี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

2.ไม่ออกกำลังกาย งานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคหลอดเลือหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ

3.อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะเนื้อแดง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจถึงร้อยละ 29 ขณะเดียวกันต้องกินผักและผลไม้ควบคู่ เพราะมีผลการศึกษาชี้ว่า หากคนเราลดการกินผักและผลไม้จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจถึงร้อยละ 14 เช่นกัน

4.น้ำหนัก ต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับร่างกาย ไม่ให้เกิดภาวะอ้วน

5.ควมดันโลหิตสูง หากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้วต้องควบคุมโดยการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ

6.น้ำตาล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำตาล

7.ไขมัน ไม่แต่เฉพาะไขมันทรานส์ที่เป็นตัวการสำคัญเท่านั้น แต่รวมถึงไขมันอื่นเป็นส่วนเกินต่อร่างกาย

“การงดบริโภคไขมันทรานส์ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเลย เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ดังปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อที่กล่าวข้างต้น หากประชาชนเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวลงได้ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจก็จะลดน้อยลงด้วย”

ส่วนมาตรการต่อไปเพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภค ผศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า ที่กำลังเป็นปัญหาในกระแสสังคมโลกขณะนี้คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต ซึ่งประเทศไทยมีทิศทางเหมือนประเทศตะวันตก แนวเศรษฐกิจทุนเสรีนิยม ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจอาหารที่เสี่ยงต่อการก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเติบโต จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุม อาทิ การควบคุมปริมาณน้ำตาลและเกลือในอาหาร เป็นต้น และที่ผ่านมามีการดำเนินการบ้างแล้ว รวมถึงการสร้างทางเลือกอาหารสุขภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศมีสุขภาพที่ดี

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ผิดแค่ไหน! พ่อค้าร้านขาหมูประกาศหยุดขาย หลังถูกร้องเรียนเสียงดัง

พ่อค้าร้านข้าวประกาศ หยุดขายขาหมู หลังเพื่อนบ้านร้องเรียน สับหมูรบกวนเสียงดัง ล่าสุดเทศบาลนัด 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยพรุ่งนี้

สพฐ. แจงปม ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ ที่ร้อยเอ็ด ชี้! ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยผลสรุป ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ พบผิดวินัยไม่ร้ายแรง เตรียมลงดาบทางวินัย แต่ให้โอกาสปรับปรุงตัว

ณเดชน์ ใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง พร้อมขอโทษ ญาญ่า

ณเดชน์ คูกิมิยะ ถึงกับใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง บานปลายสร้างความเข้าใจผิด พร้อมขอโทษ ญาญ่า อุรัสยา

แชร์สนั่น! “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่เด็กสมบูรณ์ พกง่าย ละลายเร็ว

ชาวเน็ตอึ้ง! เด็กสมบูรณ์เปิดตัว “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่ ของซีอิ๊วขาว มาพร้อมกับสโลแกน พกสะดวก ละลายไวใน 5 วินาที

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ยินดี สมรสเท่าเทียมผ่าน เผยเป็นวันที่รอคอยมานาน

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ข้อความร่วมยินดี เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่านครม. พร้อมเผยเป็นวันที่รอคอยมานานมาก โลกเปิดกว้าง ไม่จำกัดเพศ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า