ถ้ารู้ว่าวันพรุ่งนี้เป็น “วันนอนหลับโลก” จะมีคนขี้เกียจมาทำงานไหม? สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก กำหนดให้วันศุกร์ในสัปดาห์ที่ 2 เต็มสัปดาห์ของเดือนมีนาคมทุกปี เป็น วันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับ วันที่ 15 มีนาคม โดยมีคำขวัญว่า “นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว” (Healthy Sleep, Healthy Aging)

สำหรับการกำหนดให้เป็นวันนอนหลับโลก ก็เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับและสุขอนามัยการนอนที่ดี เพราะการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อน ทำให้ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดไม่ต้องออกแรงมากเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปรับสมดุลของสารเคมีต่าง ๆ

ที่สำคัญช่วงเวลาของการนอนหลับ ยังเป็นนระยะที่สมองทำการเรียบเรียงข้อมูล และจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ทำให้สมองเกิดการจดจำและมีพัฒนาการ หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การคิด ความจำ รวมไปถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ และอาจสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานด้วย 

พญ.พรรณพิมล  วิปุลากร  อธิบดีกรมอนามัย แนะนำเทคนิคที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่าย 9 วิธี ได้แก่

  1. ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ด รสจัด หรืออาหารหวานมาก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ในการย่อยอาหาร
  3. หลีกเลี่ยงกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาททุกชนิด 4 – 6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน  4 ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือการนั่งสมาธิ และไม่ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นร่างกายและสมองไปจนถึงเวลาเข้านอน
  4. จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวนด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ก่อนนอน แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศทำให้หลับสบายขึ้น
  5. เลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะจะทำให้หลับยาก ตื่นบ่อย และฝันร้าย เนื่องจากผลของสารนิโคติน
  6. เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนดึกมาก ควรเข้านอนเวลาประมาณ 21.00 – 23.00 น. และปฏิบัติให้เป็นประจำ รวมถึงตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน รวมทั้งช่วงวันหยุดด้วย
  7. เข้านอนเมื่อร่างกายพร้อมที่จะนอน คือเมื่อรู้สึกง่วง และไม่ได้อยู่ในภาวะตึงเครียด อย่าพยายามฝืนนอนหากไม่ง่วง
  8. หากพบปัญหานอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ติดต่อกันหลายคืนควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้นอนหลับสนิทได้ดีขึ้น

พญ.พรรณพิมล  บอกด้วยว่า การนอนหลับที่เพียงพอแต่ละช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะวัยเด็กส่งผลต่อการเจริญเติบโต เพราะขณะที่เด็กนอนหลับจะมีฮอร์โมนที่เรียกว่าโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเติบโต ใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ ทำให้สมองเติบโตด้วย เด็กที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้มาก โดยระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมจะแตกต่างกัน วัยแรกเกิด (แรกคลอด – 3 เดือน) ควรนอน 14 – 17 ชั่วโมง วัยทารก (4 -11 เดือน) ควรนอน 12 – 15 ชั่วโมง วัยเตาะแตะ (1 – 2 ปี) ควรนอน 11 – 14 ชั่วโมง วัยก่อนเข้าเรียน (3 – 5 ปี) ควรนอน 10 – 13 ชั่วโมง วัยเข้าโรงเรียน (6 – 13 ปี) ควรนอน 9 – 11 ชั่วโมง วัยรุ่น (14 – 17 ปี) ควรนอน 8 – 10 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่ (18 – 64 ปี) ควรนอน 7 – 9 ชั่วโมง และวัยผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7 – 8 ชั่วโมง ทั้งนี้ ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำจะช่วยให้นอนหลับสนิท ซึ่งโดยปกติในผู้ใหญ่ การนอนหลับสนิทจะจำเป็นมากกว่าจำนวนชั่วโมงการนอน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

แห่ยินดี! แก้มบุ๋ม-พีท จัดพิธีฉลองมงคลสมรส สุดอลังการ

แก้มบุ๋ม ปรียาดา – พีท กันตพร จัดพิธีฉลองมงคลสมรส สุดอลังการ เหล่าเพื่อนๆ ในวงการร่วมยินดี เป็นสักขีพยนานรัก อย่างล้นหลาม

สาววัย 24 เข้ามอบตัว รับ! เป็นคนทิ้งศพทารกใส่ถังขยะ อ้าง ตกใจลูกหลุด

สาววัย 24 เข้ามอบตัว ยอมรับ! เป็นคนยัดศพทารกใส่เป้ทิ้งถังขยะ เผยเข้าห้องน้ำแล้วลูกหลุด ตกใจทำอะไรไม่ถูก พ่อเด็กอ้าง ไม่รู้ว่าแฟนท้อง

เกิดอะไรขึ้น! ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ยุติบาทบาทผจก.ส่วนตัว FC สงสัยหนักมาก

เกิดอะไรขึ้น! เมื่อจู่ๆ ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ออกมาประกาศยุติบทบาทของผู้จัดการส่วนตัว พร้อมปลดออกจากการดูแลทั้งครอบครัว ?!

เผยบรรยากาศโศกเศร้า! ‘ใบปอ’ ถือภาพนำขบวนเคลื่อนร่าง ‘บุ้ง’ ก่อนขึ้นเมรุ

‘ใบปอ’ ถือภาพ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เดินนำขบวน เคลื่อนร่างรอบเมรุ เตรียมฌาปนกิจ ตลอดการเดินขบวน มีผู้คนชู 3 นิ้ว ยังคงเรียกร้องความยุติธรรม
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า