วันนี้วันอะไร? 13 ตุลาคม “วันลดภัยพิบัติสากล” ตระหนักถึงวิธีการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ

รู้หรือไม่!? 13 ตุลาคม ของทุกปี วันลดภัยพิบัติสากล (International Day for Disaster Risk Reduction) เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงวิธีการป้องกัน และรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติ

องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันลดภัยพิบัติสากล (International Day for Disaster Risk Reduction) จุดประสงค์หลักของวันลดภัยพิบัติสากล คือเพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการและลดความเสียหายจากภัยพิบัติ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการระวังป้องกัน การบรรเทา และการให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินต่างๆ

ภัยพิบัติ หมายถึงอะไร

ภัยพิบัติ หมายถึง ภัยที่รุนแรง หรือเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อบุคคลเดียว หรือต่อผู้คนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าที่ใดที่เกิดภัยพิบัติย่อมนำมาซึ่งความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สินสิ่งของและผู้คนอย่างแสนสาหัส สร้างความลำบากในการดำเนินชีวิต เช่น บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ขาดที่ทำกิน พิการ ฯ ลักษณะการเกิดภัยพิบัติ พิจารณาตามลักษณะการเกิดภัยพิบัติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากกระทำของมนุษย์

ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Natural Disaster)

เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล

  • วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากความเร็วของลม เช่น พายุไต้ฝุ่น พายุ โซน ร้อน พายุฤดูร้อน พายุฟ้า คะนอง ฯลฯ
  • อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมในฤดูฝน คลื่นจากพายุซัดฝั่ง เขื่อน ฝาย พัง
  • คลื่นความร้อน เป็นลักษณะของอากาศที่มีอากาศร้อนจัด ผิดปกติ
  • อากาศหนาวผิดปกติเช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศหนาวในบางปีต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส
  • ฝนแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชพันธ์ทางการเกษตร เกิดความขาดแคลนอาหารและน้ำ
13-ตุลาคม-2566
วันภัยพิบัติ-13-ตุลาคม-2566

ภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก

  • แผ่นดินเลื่อนหรือแผ่นดินถล่ม เป็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นดินทำให้เกิดการไหวและการสั่นสะเทือน หรือเมื่อมีฝนตกหนักบริเวณเทือกเขาที่มีพื้นดินขาดต้นไม้หรือพืชคลุมดินที่ไม่มีการยึดเหนี่ยวของพื้นผิวดิน อาจทำให้พื้นผิว ดินพังทลายลงมาทับบ้านเรือนตามบริเวณเชิงเขา
  • แผ่นดินไหว เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการสั่นสะเทือนเป็น คลื่นติดต่อกันจากจุดศูนย์กลาง ออกไปทุกทิศทางทำให้บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างพังทลาย ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงข้างใต้พื้นท้องทะเลอาจทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) ซัดเข้าโจมตีฝั่งได้
  • ภูเขาไฟระเบิด (ผลกระทบมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่นอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) คือการระเบิดของแรงดันจากความร้อนภายใต้พื้นผิวโลกมีการพ่นลาวา และเกิดการสั่นสะเทือนของภูเขาและพ่นควันที่เป็นพิษกระจายออกไปทั่วอาเซียน

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามลักษณะสภาพของภูมิประเทศ

  • อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดจากน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มักจะมีน้ำท่วมเป็นประจำและในบริเวณที่ลุ่ม
  • ดินถล่ม หินถล่ม เป็นการถล่มทลายของก้อนหิน ดินหรือโคลน เมื่อชุ่มน้ำฝนมีน้ำหนักมากอาจเลื่อนไหลลงมาทับบ้านเรือนและผู้คนบริเวณเชิงเขา

ภัยพิบัติที่เกิดจากเชื้อโรคและภัยพิบัติที่เกิดจากสัตว์และแมลง

  • การระบาดของโรค เช่น อหิวาตกโรค ไข้สมองอักเสบ โรคเอดส์ เมื่อมีแหล่งแพร่เชื้อ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ภัยจากสัตว์หรือแมลง เช่น หนูนา หรือตั๊กแตนที่มีจำนวนมากทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชไร่ อาจเกิดการขาดแคลนและอดอยาก

ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Manmade Disaster)

เนื่องจาก สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์เพื่อความสุขสบาย หรือเพื่อการสงคราม จำแนกเป็น

ภัยจากอุบัติเหตุทางคมนาคม

  • ทางบก เช่น รถชนกัน รถพลิกคว่ำ รถตกเหว รถไฟตกราง
  • ทางน้ำ เช่น เรือล่ม หรือเรือชนกัน
  • ทางอากาศ เช่น เครื่องบินตก เครื่องบินชนกัน เครื่องบินระเบิด

ภัยจากการก่อสร้าง

  • การก่อสร้างที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย การพังทลายของอาคารที่ได้ก่อสร้างผิดแบบ ผิดเทศบัญญัติมีการต่อเติมอาคารจนฐานราก ไม่สามารถทานน้ำหนักได้

ภัยจากการประกอบอุตสาหกรรม

  • การระเบิดของท่อก๊าซหรือท่อ แก๊สภายในโรงงาน หม้อไอน้ำระเบิด สารเคมีลุกไหม้เกิดควันที่เป็นพิษ ปฏิกรณ์ปรมาณูการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีภัยจากขยะเคมีรังสีที่ไม่มีสัญชาติ

ภัยจากการขัดแย้งทางลัทธิหรือการก่ออาชญากรรมในที่สาธารณะ

  • เช่น การวางระเบิดในสถานที่ชุมชนในสถานที่ราชการ และภัยจากอาชญากรข้ามชาติ

ภัยที่เกิดจากจลาจล

  • เป็นภัยที่เกิดจากการที่ชุมชนมีการขัดแย้งกันอย่าง รุนแรง ทำให้เกิดการยกพวกปะทะกัน หรือเผาอาคาร บ้านเรือน สถานที่ราชการ

ภัยจากการปะทะด้วยกำลังอาวุธ

เช่น การก่อการร้าย สงครามกองโจร สงครามเต็มรูปแบบ เช่น สงครามโลก ครั้งที่ ๑ และ ๒ สงครามในตะวันออกกลาง อาวุธชีวะ เคมีรังสีสารพิษและ เชื้อโรค ภัยพิบัติบางอย่างอาจเกิด จากการกระทำของมนุษย์หรือเกิดจากธรรมชาติหรือทั้งธรรมชาติและมนุษย์มีส่วนร่วมทำให้เกิดภัยรุนแรงขึ้น

– ไฟไหม้ป่า อาจเกิดจากการที่ฟ้าผ่าต้นไม้เกิดการลุกไหม้ป่า เกิดจากการเผา ป่าเพื่อล่าสัตว์ หาของป่า ไฟจากความประมาทของนักท่องเที่ยว

– อุทกภัย เกิดฝนตกหนักเหนือเขื่อนและการพังทลายของเขื่อนจากการก่อ วินาศกรรม บริเวณใต้เขื่อน

– อัคคีภัย เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้เองของสารเคมีไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดจากการ ลอบวางเพลิง

– การระบาดของโรคติดเชื้อเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากสงครามเชื้อโรค

ภัยพิบัติ

ผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติ

  • ความเสียหายทางเศรษฐกิจ เช่น ภัยจากแผ่นดินไหว ทำให้อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมถล่มทลาย เส้นทางคมนาคม ขนส่ง ถนน ทางรถไฟ เสียหาย ทำให้การติดต่อขนส่งสินค้า และการผลิตสินค้าหยุดลง เกิดความจำเป็นในการดำรงชีพ ประเทศต้องสูญเสียเงินไปฟื้นฟูบูรณะอย่างมากมายกว่า จะกลับคืนสู่ภาพปกติจึงเกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ
  • ความเสียหายด้านเกษตรกรรม เช่น ทำให้ข้าวและพืชผลทางเกษตร เสียหายเกิดความขาดแคลนและอดอยาก
  • ความเสียหายทางด้านอุตสาหกรรม เช่น เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้เกิดการสูญเสีย วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิต การหยุดกิจ การทำให้คนว่างงาน สินค้าขาดตลาด
  • ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความสูญเสียทรัพย์สินของทางราชการ และของประชาชนขึ้นอยู่กับประเภทของภัยพิบัติความรุนแรงของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
  • ความเสียหายต่อร่างกายและชีวิต เช่น ทำให้เกิดบาดเจ็บ เจ็บป่วย และ สูญเสียชีวิต

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการสาธารณภัย

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการสาธารณภัย พบว่าเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญมาก แต่ละสังคมจำเป็นต้องมีความชัดเจน ทั้งแนวคิดการป้องกัน การเตรียมการ/เตรียมความพร้อม การตอบสนองต่อความเร่งด่วน/ภาวะ
วิกฤต หรือ การเผชิญเหตุ/ภัยพิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์การฟื้นฟู-บูรณะ-การเยียวยา (ซึ่งกระบวนการหลังสุดนี้จะ
ต้องเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบและความเสียหาย/ความสูญเสียในด้านต่าง ๆ ด้วย) โดยมีรายละเอียดของแต่ละ
แนวคิดย่อย ดังต่อไปนี้คือ

การป้องกัน (Prevention)

โดยปกติทั่วไป มักหมายถึง การดำเนินการต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ภัยพิบัติเกิดขึ้น หรือ ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ในกรณีของอุทกภัยอาจจะมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันในเชิงกายภาพ เช่น การยกของขึ้นที่สูง การทำคันกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ กาลักน้ำ การสร้างเขื่อน หรือ การป้องกันการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับจิตใจ เพื่อลดผลกระทบต่อจิตใจ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นกรณีการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว อาจจะเป็นการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น การมีโครงสร้างรองรับแผ่นดินไหว เช่น การออกแบบให้มีลักษณะยืดหยุ่นไปตามแรงสั่นสะเทือน แต่ไม่พังทลายลงมา หรือ อาจจะเป็นการออกกฎหมายห้ามและควบคุมการใช้ที่ดิน ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ เป็นต้น

ฝาย

การป้องกันนี้ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น พบว่า ได้มีการดำเนินการต่างๆมากมาย โดยเฉพาะการมีระบบสนับสนุนในการ
ป้องกัน หรือ มีการจัดวางโครงสร้างทางสังคม เพื่อรองรับให้สามารถทำการป้องกันได้อย่างแท้จริง นอกจากกรณีแผ่นดินไหว แล้วยังมีความพยายามในการป้องกัน กรณีภัยพิบัติอื่นๆ อีกด้วย เช่น การป้องกัน ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม ฯลฯ โดยรัฐบาลหรือประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านความรู้และวิชาการ การพัฒนาระบบข้อมูล ฐานข้อมูลที่เป็นระบบ Real Time และ ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและการคาดการณ์ต่างๆ โดยมีสถานีทดลอง การพัฒนาตัวแบบจำลอง หรือ model ต่างๆ เพื่อทำการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศภายใต้สมมติฐานต่าง ๆ และมีการจำลองสถานการณ์ พร้อมซักซ้อมและการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ทะเลสมุทรศาสตร์ธรณีวิทยา ฯลฯ อย่างมีความเชื่อมโยงกัน โดยมีสถาบันวิจัย ฯ เป็นแกนกลางในการทำงานด้านนี้หลายสถาบัน ฯ ด้วยกัน

การเตรียมความพร้อม (Preparedness)

โดยปกติมักหมายถึง การเตรียมการล่วงหน้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับปัจเจกบุคคล ครอบครัว กลุ่ม องค์กร หน่วยงาน ชุมชน รัฐบาล สังคม ประเทศ ในการเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติภาวะภัยพิบัติหรือ ภาวะวิกฤตต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ได้แก่ การจัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน การจัดทำระบบการสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต การเตรียมการอพยพประชากรกลุ่ม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ (โดยเฉพาะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เช่น เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต) หญิงมีครรภ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ (ซึ่งมีหลายประเภท โดยเฉพาะ ผู้พิการทางสายตา ทางหูทางการเคลื่อนไหว ทางสติปัญญา หรือ ทางจิต เป็นต้น) รวมถึงการฝึกซ้อมและอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน สาธารณชน ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง อันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ ๆ มีความเสี่ยงต่อการได้รับ ผลกระทบ เช่น ริมน้ำ ชายคลอง เชิงเขา ฯลฯ สำหรับการเตรียมพร้อมในระดับปัจเจกบุคคลและระดับครอบครัว ครัวเรือน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สิน ได้เป็นอย่างดีดังนั้น การให้การศึกษา หรือ ชี้ให้ เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล และ ระดับครอบครัว เพื่อให้เกิดการเตรียมการ เตรียมความพร้อมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า การเตรียมการ/เตรียมพร้อมในระดับกลุ่ม-ชุมชน หรือ ระดับพื้นที่ภูมินิเวศน์ด้วย

การตอบสนอง/การเผชิญหน้า/การเผชิญเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน (Emergency/Disaster Response)

ซึ่งโดยปกติมักหมายถึง การปฏิบัติการอย่างทันทีทันใดของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีภัยพิบัติใดๆเกิดขึ้น โดยมี
มาตรการต่างๆ เพื่อช่วยชีวิต ป้องกันอันตราย และความสูญเสียต่าง ๆ เช่น การค้นหาช่วยชีวิต การกู้ภัย การอพยพ
การผจญภัย การผจญเพลิง (กรณีอัคคีภัย) การแจกจ่ายอาหารและยา การจัดทำที่พักชั่วคราว การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ การนำส่งโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ในกรณีของประเทศไทย ยังเป็นมิติของการกระทำหน้าที่โดยหน่วยงาน ภาครัฐ หน่วยงานราชการ เป็นหลัก โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการทหาร และ หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะ ศูนย์นเรนทร) เสริมด้วยบทบาทของหน่วยงานอาสาสมัคร หรือ องค์กรสาธารณกุศลของภาคเอกชนต่าง ๆ เช่น มูลนิธิได้แก่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบัน พบว่า ในแต่ละจังหวัด มีหน่วยงานลักษณะนี้เกิดขึ้นมากพอสมควร

การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ (Relief/Mass Relief)

โดยปกติมักหมายถึง การให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆแก่ผู้ประสบภัย อย่างทันทีทันใด/ทันท่วงที/ทันการณ์ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกับภาวะปกติได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการได้รับปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร/น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (หรือ แหล่งพักพิงชั่วคราว/บ้านพักฉุกเฉิน ที่มีปัจจัยเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ พอสมควร เช่น ห้องน้ำสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อลดความตึงเครียด/ความเครียด ฯลฯ) และยารักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต/เอาชีวิตรอดให้ได้ซึ่งการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์นี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกับการเผชิญหน้า/การตอบสนองต่อภัยพิบัติหรือ เหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

การฟื้นฟู/บูรณะ/เยียวยา (Recovery/Restoration/Reconstruction/ Rehabilitation)

เมื่อภัยพิบัติไม่ปกติผ่านพ้นไปแล้ว ก็จะต้องทำการฟื้นฟู บูรณะ เยียวยา เพื่อทำให้ปัจเจกบุคคล ครอบครัว กลุ่มประชากรต่าง ๆ ชุมชน พื้นที่ ๆ ได้รับผลกระทบ กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นระดับหนึ่ง หรือ กลับคืนสู่สภาพเดิมให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้แต่ในหลาย ๆ กรณีที่ภัยพิบัติมีความรุนแรงมาก ก็จำเป็นจะต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูบูรณะ เยียวยา เช่น กรณีสึนามิในภาคใต้ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟู โดยเฉพาะ การฟื้นฟูด้านจิตใจสำหรับบุคคลหรือครอบครัวที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัว สูญเสียที่อยู่อาศัย สูญเสียแหล่งทำมาหากิน หรือ สูญเสียสภาพความเป็นชุมชนที่เคยอาศัยอยู่ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิมอย่างมหาศาล จนหลาย ๆ คนยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้ หรือ สถาบันแหล่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สูญหายเสียหายอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติทำให้จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร ได้แก่ ตลาด แหล่งอาหาร แหล่งทรัพยากรในการเลี้ยงชีพ เช่น การทำประมงชายฝั่ง หรือ สถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น วัด ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หรือ โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ฯลฯ เป็นต้น สำหรับมาตรการต่าง ๆ ที่สำคัญของการฟื้นฟูได้แก่ การซ่อมแซมบ้าน ที่พักอาศัย สิ่งก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน หรือ สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค สาธารณูปการ สาธารณสมบัติต่าง ๆ (เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ โรงเรียน วัด มัสยิด ฯลฯ) หรือ

อาจจำเป็นต้องมีการย้าย จัดตั้งชุมชนขึ้นมาใหม่ รวมไปถึง การฟื้นฟูบูรณะ เยียวยา ด้านจิตใจ (โดยเฉพาะกรณีการสูญเสียบุคคล สมาชิกในครอบครัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น) หรือ การฟื้นฟูด้านอาชีพ-รายได้ที่จะต้องมีการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะอาชีพอิสระต่าง ๆ หรือ สถานประกอบการขนาดย่อม ได้แก่การค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ การแสวงหาอาชีพใหม่ ที่ให้โอกาสทางเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งจำเป็นต้องมีเงินลงทุนก้อนใหม่ หรือ ด้านครอบครัว ที่อาจต้องมีการรักษา เยียวยา ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ (กรณีได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ ฯลฯ) และ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การจัดการขยะ การปลูกป่าชายเลนขึ้นมาใหม่การบำบัดน้ำเน่าเสีย การขนย้ายสิ่งปรักหักพังต่าง ๆ ฯลฯ

ที่มา : https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/15887/19028.pdf

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ด่วน! คนร้ายสวมไอ้โม่ง ดักยิงหนุ่มใหญ่ดับคาคอนโด คาดสางแค้นปัญหาส่วนตัว

เร่งล่าตัว ไอเหี้ยมสวมโม่งดำ ดังยิงหนุ่มใหญ่พนักงานโรงแรม ดับคาหน้าลิฟต์คอนโดชั้น 9 ตำรวจคาดสาเหตุ สางแค้นปัญหาส่วนตัว

น้ำตาซึม! นิกกี้ บอกรัก ก้อย อรัชพร อีกฝ่ายเผย ขอให้มูฟออน ?

นิกกี้ ณฉัตร อวยพรวันเกิดและบอกรัก ก้อย อรัชพร ฝ่ายหญิงตอบกลับ ขอให้ทั้งคู่มูฟออนอย่างแข็งแรงไปด้วยกัน พร้อมอโหสิกรรมทุกเรื่องที่ผ่านมา

“หมออาร์ต” เปิดไพ่ทำนายดวง 12 ราศี ส่งท้ายเดือนเมษายน 67

ดวงส่งท้ายเดือนเมษายน 2567 : เปิดไพ่มหาเทพ ทำนายดวง 12 ราศี สิ้นเดือนนี้จะเป็นอย่างไร? โดย หมออาร์ต คเณชาพยากรณ์ ดูดวงไพ่พระพิฆเนศ

อนาถ! ลูกชายป่วยทางจิต ปาดคอแม่ดับคาเตียง ก่อนผูกคอตายหนีความผิด

อนาถ! ลูกชายวัย 45 ปี มีอาการป่วยทางจิต ใช้อาวุธมีดฆ่าปาดคอแม่ดับคาเตียง ก่อนผูกคอตายตามแม่เพื่อหนีความผิด จ.ปทุมธานี

สลด! 3 วัยรุ่น ขับรถจยย.หนีคู่อริ สุดท้ายรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าดับ 2

กลุ่มวัยรุ่นนัดเจรจาแต่ไม่ลงตัว ซิ่งรถจักรยานยนต์หนีคู่อริ ก่อนรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าเสียชีวิต 2 ราย กลางซอยรามอินทรา 5

ดวงรายสัปดาห์ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 โดย หมอแอ้ เดอะเมจิกแมน

ดวงรายสัปดาห์ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 ดวงการงาน – การเงิน และเลขมงคล โดย หมอแอ้ เดอะเมจิกแมน ผ่านช่อง Youtube ดวงD 
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า