จับมือหวานใจดู ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จาก ดาวหางฮัลเลย์ 21-22 ต.ค. 66

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จากเศษฝุ่นของ ดาวหางฮัลเลย์ ที่จะโคจรมาปรากฎตัวให้พวกเราเห็นในทุกๆ 76 ปี

กำลังเป็นที่โด่งดังสำหรับเพลงดาวหางฮัลเลย์ ของวง fellow fellow ที่เปรียบดวงดาวเสมือนความรักที่กำลังโคจรในอวกาศ เฝ้ารอวันที่ดาวหางจะโคจรมาให้เห็นอีกครั้ง ในทุกครั้งที่เคลื่อนเข้ามา รังสีจากดวงอาทิตย์จะทำให้ดาวหางสูญเสียมวลของตัวเองไปเรื่อยๆ มีขนาดเล็กลง 1-3 เมตรในแต่ละรอบ จนในที่สุด ดาวหางฮัลเลย์ ก็จะไม่ได้มีหางที่สวยงามเหมือนที่เราเคยเห็นในอดีต กลายเป็นเพียงก้อนหินมืดดำในอวกาศ หรืออาจแตกสลายกลายเป็นเศษฝุ่นที่ยังคงโคจรอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ต่อไปเพียงเท่านั้น

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จากเศษฝุ่นของ ดาวหางฮัลเลย์ ที่จะโคจรมาปรากฎตัวให้พวกเราเห็นในทุกๆ 76 ปี ในปีนี้ 2023 ดูฝนดาวตกได้ในคืนวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม อัตราการตกประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ที่กลุ่มดาวนายพราน (Orion)

นอกจากนี้ ในระหว่างที่ ดาวหางฮัลเลย์ โคจรและทิ้งเศษหินและฝุ่นไปในอวกาศนั้น เมื่อโลกโคจรตัดผ่าน แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงเอาเศษหินและฝุ่นเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดการเผาไหม้เป็นดาวตก เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตก “โอไรออนิดส์ (Orionids)”

ดาวหางฮัลเลย์-min

ดาวหางฮัลเลย์ 

ดาวหางฮัลเลย์ (Halley’s Comet) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley นับเป็นดาวหางที่มีชื่อเสียงที่สุด และมีหลักฐานบันทึกการพบเห็นมานานแล้วกว่า 2,000 ปี ตั้งชื่อตาม “เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley) นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เป็นคนแรกที่สามารถคำนวณคาบของ ดาวหางฮัลเลย์ ได้ในปี ค.ศ. 1705

  • ในปี 1687 เป็นปีที่ “ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton)” ได้ตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อว่า “Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica” หรือที่เรารู้กันในชื่อ “กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน” อันโด่งดัง ที่หลายคนน่าจะเคยได้เรียนกันในวิชาฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย โดยในขณะนั้นฮัลเลย์ก็นับเป็นหนึ่งในคนใกล้ชิดของนิวตัน ซึ่งฮัลเลย์สนใจในเรื่องแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ว่าแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ทั้ง 2 ดวงนี้ จะส่งผลต่อวงโคจรของดาวหางอย่างไรบ้าง
  • ในปี 1705 ฮัลเลย์ได้นำข้อมูลบันทึกตำแหน่งของดาวหางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 17 มาคำนวณด้วยกฎของนิวตัน แล้วพบว่า มีดาวหาง 3 ดวงที่เคยปรากฏตัวในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 ที่มีค่าคุณสมบัติในวงโคจรที่เหมือนกัน เขาจึงสรุปว่า นี่คือดาวหางดวงเดียวกันและจะโคจรกลับเข้ามาใกล้โลกทุก ๆ 74 – 79 ปี โดยในปี 1682 นั้น เป็นปีที่ฮัลเลย์สังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลของดาวหางดวงนี้ด้วยตัวเอง และฮัลเลย์ทำนายว่า ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้ามาใกล้โลกอีกครั้งในปี 1758
  • ผลปรากฏว่าในปี 1758 นั้น มีดาวหางปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าจริง ๆ แต่สุดท้ายแล้ว เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ก็ไม่ได้มีโอกาสได้มองเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาตัวเองอีกเป็นครั้งที่สอง เนื่องจากเขาได้เสียชีวิตลงในปี 1742 ดาวหางดวงนี้จึงเป็นดาวหางดวงแรกที่จัดอยู่ในประเภทดาวหางคาบสั้น (คาบการโคจรสั้นกว่า 200 ปี) และเพื่อเป็นเกียรติให้กับเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ จึงตั้งชื่อดาวหางดวงนี้ว่า “ดาวหางฮัลเลย์” นั่นเอง

จากข้อมูลการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวหางฮัลเลย์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 กิโลเมตร มีคาบการโคจรเฉลี่ย 76 ปี มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ซึ่งแต่ละรอบจะมีคาบการโคจรไม่เท่ากัน เนื่องจากวงโคจรถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โดยธรรมชาติของดาวหางนั้น มีลักษณะเป็น ก้อนน้ำแข็งสกปรก ในอวกาศ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลที่ระเหิดได้ง่าย เช่น น้ำ มีเทน แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ปะปนอยู่กับเศษหินและฝุ่น ทุก ๆ ครั้งที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวหางจะได้ปริมาณรังสีที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โมเลกุลของสสารเหล่านี้จะระเหิดเป็นแก๊สที่ฟุ้งกระจายไปในอวกาศ มีทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดเป็นหางของดาวหางที่สวยงามขึ้นมานั่นเอง

ดาวหางฮัลเลย์โคจรเข้ามาเฉียดดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อปีเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 และจากการคำนวณคาดว่า ครั้งถัดไปดาวหางจะเฉียดดวงอาทิตย์ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2061 ดังนั้น ในอีก 38 ปีข้างหน้า เราก็น่าจะได้เห็นหนึ่งในดาวหางที่สวยงามและสว่างที่สุด กลับมาปรากฏบนท้องฟ้าให้พวกเราได้ชื่นชมกันอีกครั้ง

ดาวหางฮัลเลย์-min-1

นี่คือหน้าตาที่แท้จริงของดาวหางฮัลเลย์ที่ถ่ายโดยยานอวกาศ Giotto ในปี 1986 ที่ระยะห่างจากดาวหางเพียง 596 กิโลเมตร เป็นครั้งแรกที่เราสามารถบันทึกภาพส่วนที่เป็นนิวเคลียสของดาวหางได้ บอกเลยว่าขอดูไกล ๆ จากโลกเหมือนเดิมน่าจะดีที่สุดแล้ว

ที่มา เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศมันร้อน! แดดส่องเก้าอี้สแตนเลส จนไฟลุก เกือบเผาร้านอาหารวอด

เตือนภัย! ไฟไหม้ร้านอาหาร หลังสภาพอากาศประเทศไทยร้อนขึ้น คาด แดดส่องเข้าเก้าอี้สแตนเลส จนทำให้เกิดประกายไฟ

มันใช่เหรอ? พ่อน้องออนิว ภูมิใจ ลงรูปอวดลูกน้อย ดูดพอตข้างน้ำท่อม

ชาวเน็ต จวกยับ แบบนี้เหมาะสมแล้วเหรอ? หลัง พ่อน้องออนิว อวดรูปลูกชาย นั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้า ลั่น! ลูกผมไม่เหมือนคนอื่น

“ฤดูฝน” ปี 2567 ช้ากว่าปกติ 1 – 2 สัปดาห์ พร้อมเตือนประชาชน เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วง ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 และข้อควรระวังในช่วงฤดูฝนปีนี้

เปิดคำพูด! กามิน เผยสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่

ฟังชัดๆ! กามิน ตอบสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่ ทำให้เห็นอีกมุมของฝ่ายชายมากขึ้น

คุณยายสุดเซ็ง! โดนแม่ค้าหลอกขายหอย แต่เปิดมาที กลิ่นเหม็นมาก..

โดนแม่ค้าต้มจนเปลือย! ยายวัย 79 ปี สุดเซ็ง ซื้อหอยแมลงภู่มา 3 โล แต่กินไม่ได้ เปิดออกมามีแต่กลิ่นเหม็นเน่า บางตัวก็ไม่มีเนื้อ

จัดว่าเด็ด! อินฟลูฯ สาว ปาเซตบิกินีจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับ งานนี้โกยยอดไลก์เพียบ

เด็ดจริง! อินฟลูเอนเซอร์สาว ปาเซตบิกินีตัวจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับริมชายหาด บอกเลยงานนี้โกยยอดไลก์เพียบ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า