วันนี้วันอะไร? 10 ตุลาคม “วันสุขภาพจิตโลก” World Mental Health Day

รู้หรือไม่!? 10 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ” วันสุขภาพจิตโลก ” World Mental Health Day เพราะสุขภาพจิตสำคัญ เราจึงต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งตัวเองและคนรอบข้าง

10 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ” วันสุขภาพจิตโลก ” World Mental Health Day เพราะสุขภาพจิตสำคัญ เราจึงต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ เพศใด ก็สามารถมีอาการทางจิต หรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ ไม่ว่าจะกดดันหรือเครียด จากการทำงานและการเรียน การถูกคาดหวังจากคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมล้วนมีผลต่อจิตใจเราทั้งนั้น เพราะฉนั้นหันมาดูแลจิตใจตัวเอง รับฟังตัวเองให้มากขึ้น จะเป็นสิ่งที่ดีต่อชีวิต

ที่มา วันสุขภาพจิตโลก

วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) เริ่มจากองค์การสหพันธ์สุขภาพจิตโลก (World Federation for Mental Health : WFMH) ร่วมกับสมาคมนานาชาติ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International Association for Suicide Prevention : IASP) สนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก เกิดขึ้นครั้งแรกวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2535

ในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ป่วยจิตเวช ส่งเสริมให้เข้ารักษาตัว และเมื่อหายแล้วก็กลับมารักษาให้ครอบคลุมการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้

จำนวนผู้ป่วยจิตเวชในปัจจุบัน

ข้อมูลจากผลการวิจัย “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033) โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ฯ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) ระบุว่า

ตัวเลขผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2564 และ 1 ใน 14 ของเด็กอายุ 5-9 ปี /1 ใน 7 ของวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี มีความผิดปกติด้านจิตประสาทและอารมณ์  ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายเป็นเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย โดยทุกๆ 10 นาที จะมีคน 1 คนพยายามฆ่าตัวตาย และ ทุกๆ 2 ชั่วโมงประเทศไทยจะสูญเสียประชากร 1 คน จากการจบชีวิตตัวเอง ขณะที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิต-ซึมเศร้า เพิ่มขึ้น 1-2 % พบการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อปีกว่า 4,625 คน (ปี พ.ศ. 2564-2565)

วันสุขภาพจิต

5 ปัญหาสุขภาพจิต ที่ควรระวัง

1. เครียดสะสม

การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสม ไม่ว่าจะคนทำงาน หรือเด็กนักเรียนก็ตาม หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้ 

            จัดการความเครียด (ก่อน) สะสม ด้วยการวิเคราะห์ถึงต้นตอของปัญหาและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้นๆ หากเครียดมากจนไม่ไหวแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักบำบัด พูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไขวิธีอื่นๆ แทน หรือรับประทานยาที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น

2. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)

อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังมาแรงในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันมีที่มาจากความเครียดสะสม ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลรุนแรงและคุกคามการดำเนินชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหว บั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุด ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้         

3. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ (Low self esteem)

ปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญภาวะนี้อยู่ นั่นคือ ความรู้สึกเศร้าใจ ไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจทำลงไปแล้วมากเสียจนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า สูญเสียความรู้สึกให้เกียรติตัวเอง แบกรับปัญหาและกล่าวโทษว่ามีต้นเหตุมาจากตัวเองไม่ดีพอ ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคมเพราะกลัวที่ต้องถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอของผู้อื่นเนื่องจากกลัวไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองที่สะสมมาเป็นเวลานาน

4. โรคซึมเศร้า (Depression)

เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับโรคทางกายชนิดอื่นๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้มีความหมายว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีผลกระทบโดยรวมต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงสุขภาพกาย นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่มาพร้อมความเครียด ความกดดันที่สะสางได้ยาก สภาพสังคม พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย เราสามารถสำรวจตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยอาการเศร้าซึม หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข ซึ่งอาจรุนแรงไปจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง หรือทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินสุขภาพจิตของตัวเองเบื้องต้น

5. กลุ่มโรควิตกกังวลและแพนิค (Panic Disorder)

เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงมีความเครียดและความกดดันเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น มักแสดงอาการได้หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อออกมาก หายใจหอบ อาเจียน วิงเวียนแบบฉับพลัน ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงการหวาดกลัวสิ่งรอบตัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่คุกคามชีวิตของคนวัยทำงานไม่มากก็น้อย

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กโจ๊ก” ยันปลดป้ายชื่อไม่ใช่ฝีมือลูกน้อง ลั่นใครทำก็รับกรรมไป!?

“บิ๊กโจ๊ก” ยันลูกน้องไม่ได้ปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงาน ยอมรับคิดเรื่องสมัคร สว.เพราะจะได้ทำงานเพื่อประชาชนระหว่างถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน

อ.น้องไนซ์มาแล้ว! เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี ​29 เม.ย.​นี้

เอาจริง! อ.น้องไนซ์ เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี เอาผิดสื่อมวลชล นำเสนอข่าวเท็จ เป็นการทำให้สังคมแตกแยก 29 เมษายนนี้?

ระทึก! รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว เสียหลักพลิกคว่ำ ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว คณะหนุ่มสาวโรงงานจากอยุธยา เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพุ่งข้ามแบริเออร์พลิกคว่ำทางลงเขา ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

สลด! แท็กซี่เมาขับรถพุ่งชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่

รวบตัวคนแท็กซี่เมาแล้วขับ ชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ บมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 287 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อินฟลูฯ ดัง ฟาดช็อตเด็ด นุ่งบิกินีลายเสือ แซ่บซี๊ดปาก ถูกใจแฟนคลับ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ไม่ทิ้งลายความแซ่บ ออกมาฟาดช็อตเด็ดปาเซตบิกินีลายเสือ ความเผ็ดคูณร้อย เซ็กซี่ถูกใจแฟนคลับ

หนูรัตน์ เอาจริง! เข้าฟิตเนส ปั้นหุ่นแซ่บเซี๊ยะ ตั้งเป้าลดเอวเหลือ 20 นิ้ว

ชาวเน็ตแซว หนูรัตน์ เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย ปั้นหุ่นสวยแซ่บเชี๊ยะ พร้อมตั้งเป้าหมายอยากกลับไปมีเอว 19-20 นิ้ว แฟนๆ ให้เชียร์เต็มที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า