วันตำรวจแห่งชาติ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 โดยเป็นวันประกาศรวม “กรมพลตระเวน” กับ “กรมตำรวจภูธร” เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า “กรมตำรวจ” ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” กรมตำรวจจึงได้ยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันตำรวจ และได้มีการประกอบพิธี วันตำรวจ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2492 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจและ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

กระทั่งเมื่อปี 2560 พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทย ให้เป็นวันที่ 17 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2541) เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพเทิดทูนพระองค์

ประวัติวันตำรวจ

กิจการตำรวจได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นาและพร้อมกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา

ทั้งนี้ กิจการตำรวจในขณะนั้น แบ่งออกเป็น ตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการ ระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น

โดยในปี พ.ศ. 2405 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดย จ้างชาวมลายูและชาวอินเดียเป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล โดยให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล

ถัดมาในปี พ.ศ. 2420 กองทหารโปลิศได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมกองตระเวนหัวเมือง และได้มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง ในปี พ.ศ. 2440 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ตั้งให้ พลตรี พระยาวาสุเทพ (G. Schau) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร และได้มีการขยายกิจการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ

โดยกิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวง คือ กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระนครบาล ส่วนกรมตำรวจภูธรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวบรวมกิจการตำรวจมาเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน และในปลายปีได้เปลี่ยนเป็นกรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล และยกฐานะของเจ้ากรมขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงพระนครบาลเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล จึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า ตำรวจนครบาล ส่วนตำรวจที่ทำการจับกุมผู้ร้ายได้แล้ว ส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้น ๆ เรียกว่า ตำรวจภูธร

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก กรมตำรวจภูธร มาเป็น กรมตำรวจ และในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2542

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

จัดอันดับ! ชื่อเสียงของเหล่าซุปตาร์เกาหลี ประจำเดือนเมษายน

ไม่ต้องรอกันนานตอนนี้ได้ประกาศอันดับชื่อเสียงสำหรับโมเดลโฆษณาประจำเดือนเมษายน ใครที่จะคว้าใจของคนทั้งประเทศต้องรอดูเลย!

“ไอรีน Red Velvet” ปล่อยคลิปโปรโมตงานนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรก!

นักร้องสาว “ไอรีน Red Velvet” จัดนิทรรศการภาพถ่ายของตัวเองเป็นครั้งแรก พร้อมมีเซอร์ไพร์สของขวัญสุดพิเศษให้แฟน ๆ ได้ตาลุกวาว

ปารีณา น้ำตาซึม! คู่กัดในสภา เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ ร่วมอาลัยคุณพ่อทวี

ปารีณา ไกรคุปต์ น้ำตาซึมไม่คาดคิดว่าคู่กัดในรัฐสภา อย่าง เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ จะมางานศพ ร่วมอาลัย คุณพ่อทวี ไกรคุปต์

โคตรโหด! พ่อโมโห ลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ เตะอัดหน้าลูกจนสลบ

พ่อหัวร้อน โมโหลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ งานศพยาย เพราะใกล้เป็นเทอม เตะอัดหน้าลูกจนสลบคาเท้า ก่อนต่อยญาติเจ็บอีก 2 ราย

OMG! เน็ตไอดอล จัดซีทรูแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อน แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ดไม่ไหว

โอ้โห! เน็ตไอดอลชื่อดัง จัดซีทรูสุดแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อนกลางชายหาด แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ด จนทำใจระทวย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า