ลุ้นผล! ศาลสูงสุดชี้ขาดคดี “บิ๊กโจ๊ก” สั่นสะเทือนวงการตำรวจ ปมถูกให้ ออกจากราชการตำรวจ หรือ จะได้กลับมาทำงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สืบเนื่องจากกรณี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมา พลตำรวจเอกสุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนว่า เป็นคำสั่งที่ “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” หลังจากได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) แล้วคณะกรรมการ ก.พ.ค.ตร. มีมติยกคำร้องอุทธรณ์ โดยเป็นการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ตามสิทธิทางกฎหมาย
ล่าสุด วันที่ 13 พ.ย. 2567 คดีนี้ประธานศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเตรียมให้นำคดีเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยหลักเกณฑ์ที่จะนำเข้าที่ประชุมคดีใหญ่จะเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจมีผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีประเด็นข้อกฎหมายอันสำคัญ มีองค์คณะที่พิจารณาคดีนี้ประกอบด้วยตุลาการจากศาลปกครองสูงสุด จำนวน 5 คน เป็นองค์คณะ มีหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด เพื่ออภิปรายพิจารณาและมีมติเป็นคำพิพากษาคำสั่งต่อไป
สำหรับที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ในปัจจุบันมี ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ประมาณ 20 กว่าคน
- สลด! หนุ่มขี่รถ จยย. พุ่งชน 10 ล้อ ร่างติดคาท้ายรถบรรทุก ดับคาที่
- สลด! เพลิงไหม้บ้าน เผาลุงวัย 62 ปี ไฟคลอกทั้งร่าง ดับอนาถคาบ้าน
- อวสานมื้อแสนอร่อย! สาวเจอ ตูดแมลงสาบในก๋วยเตี๋ยว ทำกินต่อไม่ลงทันที
สำหรับคดีนี้ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ฟ้องว่า เดิมผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 178/2567 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2567 ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน
กรณีถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน กรณีมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับเว็บพนันออนไลน์ ชื่อ BNK Master จนถูกดำเนินคดีอาญาและถูกศาลอาญาออกหมายจับ ในความผิดฐานสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการทำผิดฐานฟอกเงิน เพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันและเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน
พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2ได้มีหนังสือ ที่ ตช 0083(อธ)/933 วันที่ 5 ส.ค. 2567 เรื่อง แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เรื่องดำที่ อธ. 100/2567 เรื่องแดงที่ อธ. 33/2567 โดยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์และยกคำขอวิธีการชั่วคราวฯ