เปิดศึกชิงเก้าอี้ “ประธานสภาฯ” เวทีเดิมพันอำนาจ “คสช.”

รายงานพิเศษ : ส่องยกแรกชิงเก้าอี้ “ปธ.สภา” วัดขุมกำลัง “พลังประชารัฐ-ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย” เดิมพันท่ออำนาจ “คสช.”

กางปฏิทิน 24 พ.ค. นับหนึ่งสู่การเลือกประธานวุฒิสภา(ส.ว.) และรองประธาน ส.ว.อีก 2 คน จาก 250 รายชื่อที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ โดยชื่อ “พรเพชร วิชิตชลชัย” อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะหนึ่งในบุคคลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. ให้ความไว้ใจมากที่สุดคนหนึ่งในแม่น้ำทั้ง 5 สาย จะได้รับตำแหน่งประธาน ส.ว. ส่วนเก้าอี้รองประธาน ส.ว.ยังแข่งขันระหว่างชื่อ “สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย” อดีตรองประธาน สนช. “พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร” เพื่อนสนิทนายกฯ “พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์” และ “ศุภชัย สมเจริญ” อดีต กกต.

แต่ไฮไลท์สำคัญทางการเมืองยังโฟกัสไปที่การคัดเลือก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในวันที่ 25 พ.ค. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในสถานการณ์ฝุ่นตลบ จากการเจรจาไม่ลงตัวจาก 3 ขั้วเพื่อตั้งรัฐบาล สะเทือนมาถึงการเลือกประธานสภาฯ ในฐานะประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง เพราะชื่ออย่าง “สุชาติ ตันเจริญ” ส.ส.ฉะเชิงเทรา หรือ “วิรัช รัตนเศรษฐ” ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพลังประชารัฐ จนถึงนาทีนี้ยังไม่นิ่งมากพอจะสยบความเคลื่อนไหวทุกอย่างได้

“สุชาติ ตันเจริญ” ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ

เมื่อการแก้เกมของฝั่ง “เพื่อไทย-อนาคตใหม่” ได้เปิดดีลพิเศษเพื่อดึง “ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย” มาร่วมตั้งรัฐบาล โดยเปิดทางเก้าอี้ประธานรัฐสภา ท่ามกลางกระแสว่า บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในแคนดิเดทประธานรัฐสภา

เพราะ “เพื่อไทย” มองข้ามช็อตไปว่าเกมในสภาที่จะระอุเต็มพิกัดไม่ว่าขั้วอำนาจใดจะมาเป็นรัฐบาล สภาพการณ์ในรัฐสภาจะเป็นอีกหนึ่งเวที “ปะทะ” ทางการเมือง ดังนั้นหากขั้วอำนาจได้คว้าเก้าอี้ประธานสภาฯ ได้สำเร็จ ย่อมถือความได้เปรียบต่อการ “คุมเกม” สภาให้พรรคการเมือง จึงเป็นที่มาของกระแสที่ชัดเจนว่า “พลังประชารัฐ” ไม่อยากปล่อยให้ตำแหน่งประธานสภาฯ ตกเป็นของพรรคการเมืองอื่น

“บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

หาก “พล.อ.ประยุทธ์” มีโอกาสกลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง เวทีในสภาต้องมีประธานสภาฯ เป็นคนของพลังประชารัฐ เพื่อคอย “ประคอง-ตัดเกม” โดยเฉพาะเวที “อภิรายไม่ไว้วางใจ” ที่ฝ่ายค้านจะดาหน้าตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์อย่างดุเดือด ในบริบทที่หัวโขนหัวหน้า คสช.หายไป โดยไม่มี “ม.44” เหลือไว้คุ้มครอง

เชื่อได้ว่าการเลือกประธานสภาฯ วันที่ 25 พ.ค.จะเป็นสัญญาณแรกที่เห็นถึงสถานการณ์ “เสียงโหวต” ก่อนถึงเวทีเลือกนายกฯ เพราะการเลือกประธาน-รองประธานสภาฯ ยังอยู่ในอำนาจ ส.ส.ทั้ง 500 คน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเสียง ส.ว.ทั้ง 250 คน ดังนั้นเสียงจาก ส.ส.โดยตรงตั้งแต่ ขั้ว “พลังประชารัฐ-รวมพลังประชาชาติไทย-ประชาชนปฏิรูป–รักษ์ผืนป่าประเทศไทย-พลังท้องถิ่นไท และ 11 พรรคเล็ก” ที่ยังยืนอยู่ที่ 137 เสียง ยังไม่มากพอจะมั่นใจได้ว่า พลังประชารัฐจะส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นประธานสภาฯได้สำเร็จ

พรรคพลังประชารัฐ รวมเสียง 11 ส.ส.จาก 11 พรรคการเมือง

เพราะ “ตัวแปร” 116 เสียงในมือ “ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนา” ยังดึงเกมเพื่อใช้ “ต่อรอง” ทางการเมืองในกระทรวงสำคัญ จนถึงโควต้าประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ แต่อย่าลืมว่า “245 เสียง” จาก 7 พรรคพันธมิตร ตั้งแต่ “เพื่อไทย-อนาคตใหม่-เสรีรวมไทย-ประชาชาติ-เศรษฐกิจใหม่-เพื่อชาติ-พลังปวงชนไทย” ยังมีน้ำหนักที่สุดจะเลือกโหวตให้พรรคใดได้เก้าอี้ประธานสภาฯ ไปด้วย

แน่นอนว่า “กำลังรบ” 245 เสียงไม่น่าจะเล็ดลอดไปถึง “พลังประชารัฐ” หากยัง “กุมสภาพ” กลุ่มงูเห่าไม่ให้ออกมาอาละวาดในสภาได้ ทำให้เห็น “ดีลเฉพาะกิจ” จาก “เพื่อไทย-อนาคตใหม่” ยอมแลกไปสนับสนุนตัวแทนจาก “ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์” เพื่อมาคุมเกมในสภา มากกว่าจะเห็นชื่อตัวแทนจากพลังประชารัฐ เพื่อหยุดอำนาจ “คสช.” ผ่านระบบรัฐสภา

ที่สำคัญสเป็ค “ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ” ในชั่วโมงนี้ ต้องเป็น “กำแพงด่านแรก” ให้นายกฯ และส.ส.ภายในพรรคของตัวเอง เพื่อสกัดฝ่ายตรข้ามที่เตรียมทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารอย่างเข้มข้น

พรรคเพื่อไทย ลงนามสัตยาบันรวมเสียง 6 พรรคการเมือง

แต่ในสถานการณ์ยุคนี้ “ประธานรัฐสภา” คนใหม่ ต้องแบกรับหน้าที่มากกว่าการปกป้องประโยชน์จากพรรค จากกระแสที่สังคมคาดหวังเห็นบทบาท ส.ส.แต่ละพรรคทำหน้าที่ตรงไปตรงมา เพื่อให้เวทีสภาฯ เป็นทางออกให้บ้านเมือง มากกว่าความขัดแย้งบนถนน จากเดิมที่เวที “รัฐสภา” ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์พวกพ้องจนนำประเทศกลับไปสู่ทางตันมาแล้ว

ยิ่งอีกช่วงใกล้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ซึ่งปกติจะเข้าสู่วาระแรกในช่วงต้นเดือน มิ.ย.ของทุกปี แต่ขณะนี้คาดว่ากระบวนการจะล่าช้าไปจากเดิม จนกว่า “สภาชุดใหม่” จะนัดประชุมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะได้เห็นบทบาทรัฐสภาทำหน้าที่เพื่อเป็นทางออกให้ประเทศ หรือกลับไปสู่วังวนความขัดแย้งที่ไม่รู้จักจบสิ้น

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ผญบ.ฟินแลนด์ แจงปมปรึกษาทนาย ต้องการความชัดเจน เรื่องลูก-ทรัพย์สิน!!

ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ ชี้แจงปมเข้าปรึกษาทนายพัฒน์ เหตุเพราะต้องการความชัดเจน เรื่องของสิทธิ์ในการดูแลบุตร และสิทธิ์ในทรัพสมบัติ

แค่เศษปูนหล่น! ผอ.เขตบางพลัด ลั่น มาจากการรื้อถอน จนเกิดความวุ่นวาย

ผอ.เขตบางพลัด ยืนยัน อาคารพาณิชย์ไม่ได้ถล่ม แต่การรื้อถอนรุงแรง ทำให้เศษปูนตกเกลื้อนถนน พร้อมช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ

สยอง! ใบหินเจียรหลุดมือ กระเด็นบาดคอนอนจมกองเลือด ดับคาที่

เตือนภัย! เครื่องมือช่างสุดอันตราย ใบหินเจียรหลุดสบัดปาดคอหญิง เสียเลือดมาก เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ที่สระบุรี

นายกฯ สั่ง สธ. แก้กฎกระทรวง ย้ำยาบ้า 1 เม็ดต้องผิดกฎหมาย!

นายกฯ สั่ง กระทรวงสาธารณสุข เร่งแก้กฎกระทรวง ยาบ้า 1 เม็ด ต้องผิดกฎหมาย ย้ำชัด ขอให้มีความชัดเจน ภายใน 90 วัน

รวบตัว! 2 ลูกสมุนเงินกู้โหด หลังบุทำร้าย-พังข้าวของ ยายสุข

ตำรวจรวบตัว 2 หนุ่มสมุนเงินกู้ หลังรุมทำร้าย-พังร้าน ยายสุข แม่ค้าขายข้าวไข่เจียว ปม กู้เงินนอกระบบ หลังตกลงกับเจ้าหนี้ไม่ได้

สลด! ผู้หมวดวัย 54 ปี ดับคาสนามฝึก หลังตากแดดรอทดสอบยุทธวิธี คาดเป็นฮีทสโตรก

อากาศร้อนเป็นเหตุ! ทำ “ผู้หมวดวัย 54 ปี” เป็นฮีทสโตรก ระหว่างรอทดสอบยุทธวิธี เพื่อนร่วมงานเร่งยื้อชีวิต แต่ไม่เป็นผล สุดท้ายเสียชีวิต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า