โควิด19 สำนักข่าว ซินหัวรายงานว่า มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์จัดอันดับ 10 ประเทศที่มีสัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโรค โควิด19 มากที่สุด ได้แก่ เบลเยียม, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, สเปน, อิหร่าน, สหรัฐอเมริกา, จีน และเยอรมนี โดยสัดส่วนในสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 5.7 และในประเทศจีนอยู่ที่ร้อยละ 5.5 นับวันที่ 24 เมษายน 2563
ขณะที่ อัตราเสียชีวิตจากการติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.9 นับ (วันที่ 22 เม.ย.63) โดยมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 175,694 ราย และผู้ป่วยที่ยืนยันผลมากกว่า 2.54 ล้านราย ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ที่ถูกพบว่าติดเชื้อไวรัสประมาณร้อยละ 6.9 ทั่วโลกเสียชีวิตลง ตอกย้ำถึงความร้ายแรงของไวรัสชนิดนี้
ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ถอดบทบทเรียนนอกเหนือจากตัวเลข ถึงอัตราการตายเหตุใดจึงแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ทำการวิเคราะห์และพบว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คนในสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 15.27 นับถึงวันที่ 24 เม.ย. ในขณะประเทศจีนอยู่ที่ร้อยละ 0.33
โดยอัตราการตายต่อประชากร 100,000 คนที่ลดลงและเพิ่มขึ้น จะเป็นตัวชี้วัดความรุนแรงของการระบาดที่มีผลต่อประชากรทั้งหมดของประเทศ หากทั้ง 2 ประเทศมียอดผู้เสียชีวิตเท่ากัน อัตราการเสียชีวิตต่อ 100,000 คนในประเทศที่มีประชากรมากกว่าก็จะลดลง นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตของจีนต่อประชากร 100,000 คนอยู่ที่แค่ 0.33 เนื่องจากจีนมีประชากรทั้งหมดราว 1.4 พันล้านคน
ก่อนหน้านี้ จีนเป็นประเทศแรกที่เผชิญกับการระบาดที่รุนแรง และการวิเคราะห์ลึกลงไปก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คนนั้นยังแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคด้วย
แม้ว่าประชากรของจีนจะมากกว่าสหรัฐฯ ถึง 4 เท่า แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในจีนนั้นน้อยกว่าสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 10 นับถึงวันที่ 24 เม.ย. จีนได้รายงานยอดเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อยู่ที่ 4,642 ราย ในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 49,954 ราย อ้างอิงจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) และมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ จีน มีผู้ป่วยลดลงรวดเร็วและแตกต่างจากประเทศอื่นๆมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการติดสินใจปิดเมือง อู่ฮั่น หนึ่งในศูนย์กลางแพร่ระบาดไวรัสโควิด10 ต้นๆ และการวางแผนรับมือมาตราการทั่วประเทศจีน อย่างเข้มงวดเช่นการปิดเมืองเสี่ยงต่างๆ และการรับผิดชอบสังคมด้วยการเก็บบตัว และกักตัวเองที่บ้าน หากสงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด.
เครดิตภาพ China Xinhua News