โมเลกุลในพิษงูยับยั้งเชื้อโควิด — เว็บไซต์เมโทรของอังกฤษรายงานว่า ผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลของบราซิล ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Molecules ระบุว่าโมเลกุล ที่พบในพิษของงูจาราราคัสซู สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ได้ โดยงูจาราราคัสซูเป็นงูที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบราซิล มีความยาวมากกว่า 2 เมตร มักอาศัยอยู่ในป่าบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก และพบในป่าของโบลิเวีย ปารักวัยและอาร์เจนตินา
ด้านทีมนักวิจัยเปิดเผยว่า ได้ทำการเพราะเชื้อโควิด19 ในลิง และพบว่าโมเลกุลของพิษงูจาราราคัสซูสามารถลดการแพร่พันธุ์เชื้อโควิด19 ภายในเซลล์ของลิงที่ติดเชื้อถึง 75 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ โมเลกุลภายในพิษของงูจาราราคัสซูเป็นโปรตีนเปปไทด์ ซึ่งสายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่มาเชื่อมต่อกัน โดยโปรตีนเปปไทด์ดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับเอนไซม์ของเชื้อโควิด19 ที่มีชื่อว่า PLPro ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวถือว่าความสำคัญในการสร้างเชื้อไวรัส
กุยเซปเป้ เปอร์โต นักสัตววิทยาจากสถาบันด้านชีววิทยาในเมืองเซาเปาโลเปิดเผยว่า ตอนนี้ทีมนักวิจัยกำลังเป็นห่วงจะมีผู้คนในบราซิลออกตามล่างูจาราราคัสซู และคิดว่าพิษของงูดังกล่าวสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด19 ได้ แต่จริงๆแล้วยังไม่ถึงขั้นนั้น พร้อมกับบอกว่าพิษของงูจาราราคัสซูไม่สามารถรักษาโควิด19 ได้
ในขั้นตอนต่อไป ทีมนักวิจัยจะประเมินประสิทธิภาพของโมเลกุลในพิษงูว่าสามารถป้องกันเชื้อโควิดจากการเข้าไปอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต ซึ่งทีมนักวิจัยก็เตรียมศึกษากับเซลล์ของมนุษย์ด้วย แต่ไม่ได้มีการระบุถึงกรอบเวลาแน่ชัด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก วัคซีนชนิด DNA ตัวแรกของโลก ที่อินเดียอนุมัติให้ใช้ฉีดป้องกันโควิด19
WHO จับตาโควิดน้องใหม่ โควิดโคลัมเบีย สายพันธุ์มิว ชี้ เชื้อดื้อวัคซีน แพร่กระจายได้ง่ายกว่า
เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเชื้อ C.1.2 โควิด19 สายพันธุ์ใหม่ ที่พบในแอฟริกาใต้