คนละครึ่ง —- ธนาคารโลกเปิดเผยว่าเศรษฐกิจของไทยจะในปีนี้จะหดตัวอย่างน้อย 8.3 เปอร์เซ็นต์ และอาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ก่อนที่เศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวเหมือนช่วงก่อนที่โควิด19 จะแพร่ระบาด อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกได้เตือนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเจอกับปัญหาเรื่องภัยแล้ง น้ำท่วม และการแพร่ระบาดของโควิด19 ระลอก 2
ธนาคารโลก เผย GDP ไทย ติดลบร้อยละ 5.0 เกือบรั้งท้ายในภูมิภาค
ด้านนายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย ระบุว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ในทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมากในช่วงไตรมาส 2 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ปีนี้ ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้จากผลของมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงผลกระทบด้านการส่งออกจากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศด้วยเช่นกัน ขณะที่มีความล่าช้าในเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 63
ธนาคารโลกชี้เด็กไทยเรียน 12.4 ปี แต่คุณภาพแค่ 8.6 ปี
ขณะที่เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าวถึงกรณีที่ประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดว่า การจะมองว่าเหมาะสมหรือไม่นั้นคงเป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องพิจารณาว่าอะไรคือความสมดุลระหว่างมาตรการดูแลด้านสาธารณสุขให้ประชาชน กับการดูแลเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และในระยะยาวประชาชนจะสามารถอยู่กับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อีกนานแค่ไหน
ส่วนสำหรับมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศนั้น มองว่า เม็ดเงินสำหรับใช้ในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมามีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่การเข้าถึงประชาชน ควรจะทำได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการเข้าถึงภาคครัวเรือน
ขณะที่มาตรการ “คนละครึ่ง” ที่ให้เงินแก่ประชาชน 3,000 บาทได้ใช้ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยนั้น มองว่าอาจจะยังไม่ตรงเป้าหมายเท่าที่ควร ซึ่งรัฐบาลควรต้องมีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุนเพิ่มเติมด้วย