ไบร์ททูเดย์ เปิดย้อนรอย 10 ปี เหตุการณ์ ‘พฤษภาอำมหิต’ เผาเมือง แยกราชประสงค์ ในช่วงวันที่ 7-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
รัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่
หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า ‘สมรภูมิกรุงเทพมหานคร’ สื่อไทยบางแห่ง ขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ‘พฤษภาอำมหิต’

ลำดับเหตุการณ์ ‘พฤษภาอำมหิต’
- วันที่ 7 พฤษภาคม : เกิดเหตุการณ์ยิงและระเบิด ส่งผลให้ ส.ต.อ.กาณนุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ เสียชีวิตจากอาวุธปืน เสียชีวิตจากเหตุการณ์คนร้ายยิงเอ็ม 16 เข้าใส่ที่หน้า ธ.กรุงไทยถนนสีลม
- วันที่ 8 พฤษภาคม : เกิดเหตุระเบิดบริเวณหน้าสวนลุมพินี รพ.จุฬาลงกรณ์ ส่งผลให้ จ.ส.ต.วิทยา พรหมสำลี สังกัดสถานีตำรวจภูธรหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่ชุดควบคุมฝูงชน
- วันที่ 13 พฤษภาคม : เสธ.แดง ถูกกระสุนปืนความเร็วสูงยิงเข้าที่กะโหลกศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส
- วันที่ 13 พฤษภาคม : เจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนเข้าไปปิดล้อมที่แยกราชประสงค์
- วันที่ 15 พฤษภาคม : เกิดเหตุรถตู้ขับมาบนถนนราชปรารภทหารประจำด่านตรวจส่งสัญญาณให้หยุดรถ แต่รถตู้คันดังกล่าวไม่ยอมหยุด เจ้าหน้าที่ใช้ปืนยิงยางรถและตัดสินใจระดมยิงด้วยกระสุนจนรถพรุนไปทั้งคัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสามราย รวมทั้งคนขับและเด็กชายวัย 10 ปี
- วันที่ 16 พฤษภาคม : พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งถูกยิงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิต และในเวลา 23.00 น. ศูนย์เอราวัณ ได้รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต มีผู้เสียชีวิต 31 ศพ บาดเจ็บ 230 คน รวม 261 คน
- วันที่ 17 พฤษภาคม : ได้มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด และเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้นระหว่างผู้ที่อยู่ในรถกับทหารซึ่งคุมพื้นที่อยู่ริมถนน จนรถกระบะเสียหลักพุ่งชนรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จอดอยู่บริเวณข้างทาง ส่งผลให้จ่าอากาศเอก พงศ์ชลิต ทิพยานนทการ ถูกยิงที่ศีรษะและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
- วันที่ 19 พฤษภาคม : สลายการชุมนุม โดยกองทัพทำยุทธการปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมก่อนเริ่มโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ อมามีทหารถูกยิงด้วยลูกระเบิด ซึ่งเชื่อว่ายิงจากเครื่องชนิดเอ็ม-79 จนบาดเจ็บสาหัส 2 นาย และ มีการเผารถดับเพลิงที่จังหวัดเชียงใหม่เผารถดับเพลิงและกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเผาบ้านพักปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กองกำลังจังหวัดเชียงใหม่ประเมินความเสียหาย 13 ล้านบาท ในที่สุด แกนนำ นปช.ส่วนหนึ่งยอมมอบตัวต่อตำรวจ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ส่งเสียงโห่ร้อง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของแกนนำ การปะทะยังดำเนินต่อไป ส่วนบริเวณใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ก็มีเหตุการณ์เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมทุบกระจกที่ชั้น 1 ของอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วลอบเข้าไปวางเพลิงภายในจนทำให้มีกลุ่มควัน และเปลวไฟพวยพุ่งออกมานอกจากนี้ ในภายหลังยังมีรูปกลุ่มผู้ชุมนุมบางคนลับลอบขโมยขนสินค้าราคาสูงออกมาจากตัวห้างด้วย
ต่อมา มีการลอบวางเพลิงโรงภาพยนตร์สยามอีกแห่งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าสกัดเพลิงได้ เนื่องจากถูกกลุ่มคนในชุดดำ ยิงต่อสู้ เพลิงได้ลุกไหม้เป็นเวลาหลายชั่วโมง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปภายในอาคารมาลีนนท์จากนั้นเกิดเพลิงลุกไหม้ป้ายชื่ออาคาร และชั้นล่างของอาคาร

โดยสถานที่ที่ถูกลอบวางเพลิง มีทั้งหมด 12 จุด คือ
- สยามพารากอน และสยามสแควร์
- โรงแรมเซ็นทารา
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- อาคารแห่งหนึ่งย่านบ่อนไก่
- ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก
- ป.ป.ส.และร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น
- ธนาคารกรุงเทพ และสาขาธนาคารออมสิน สาขาดินแดง
- อาคารมาลีนนท์
- ธนาคารกรุงเทพ และห้างโลตัส พระราม
- การไฟฟ้านครหลวง สาขาคลองเตย
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย เป็นบันทึกถึงการขัดแย้งที่เกิดจากการเมือง ที่ไม่เคยจางหาย