ก้าวไกล เปรียบ ที่ดิน หัวใจสำคัญความเท่าเทียม แค่ตั้งหน่วยงานใหม่ ไม่ตอบโจทย์

พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ที่ดิน คือ หัวใจสำคัญของการปฏิรูปความเสมอภาคและเท่าเทียม – แค่ตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ไม่ตอบโจทย์ จึงไม่สามารถรับหลักการได้

ไทยเท่าเทียม! ก้าวไกล ขานรับภาคประชาชน ร่วมผลักดัน บำนาญแห่งชาติ

การแก้ไขปัญหาที่ดินถือเป็นวาระสำคัญของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและกระจายออกไปให้ถึงมือประชาชนอย่างเร่งด่วน แต่ปัญหานี้ยังคงคาราคาซังมานาน ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ …) พ.ศ. … เพื่อจัดตั้งการตั้งสำนักงานคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช. ขึ้น มีฐานะเทียบเท่าระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบนโยบายการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ดินและบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศ จากนั้นจึงได้เสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องด่วน เนื่องจากมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ตามกระบวนการนี้จะต้องผ่านการจัดให้รับฟังความคิดเห็น และหากพิจารณาว่าร่างกฎหมายนั้นเกี่ยวของกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศจะต้องเป็นการประชุมร่วมกันของ ส.ส. และ ส.ว.

ในญัตตินี้ พรรคก้าวไกลมองว่า เรื่องที่ดินมีความสำคัญจริง แต่มีข้อสังเกตว่าการตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ยิ่งเป็นการตอกย้ำวิธีคิดปัญหา ‘รัฐราชการรวมศูนย์’ ยิ่งสร้างเงื่อนไขให้ปัญหาไม่สามารถจบได้ด้วยกลไกท้องถิ่นหรือจังหวัด อีกทั้งยังบว่ามีความซ้ำซ้อนเรื่องการทำงานที่แทบจะไม่แตกต่างจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. โดยไม่ได้กล่าวถึงกระบวนการยุบหรือควบรวมกัน ดังนั้น แม้เห็นด้วยในทางหลักการเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดิน แต่ไม่สามารถเห็นชอบต่อวิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีเพียงตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ได้

ณัฐวุฒิ บัวประทุม อภิปรายในประเด็นนี้ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นตาม มาตรา 18 ของ พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องการให้มี คทช. ขึ้น แต่เดิมทีเข้าใจว่าการจัดตั้งหน่วยงานใหม่จะมาดำเนินการเรื่อง One map หรือการใช้แผนที่เดียวกันในการบริหารจัดการที่ดิน เพราะปัญหาที่ผ่านมามาจากการถือแผนที่คนละฉบับและใช้อำนาจแตกต่างกันไป แต่ข้อสังเกตคือ มีการยุบรวมกองการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐเข้ามา

ซึ่งคำว่า ‘บุกรุก’ นี้เป็นโจทย์ผิดมาแต่แรก เพราะเป็นการตีตราว่าประชาชนบุกรุกที่ดินของรัฐ ถ้ากฎหมายนี้ผ่าน คทช. จะต้องไม่มีหน่วยงานที่มีชื่อในลักษณะพูดถึงการบุรุกที่ดินของรัฐเพราะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และต้องยอมรับว่าความจริงได้แล้วว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือรัฐต่างหากที่ไปบุกรุกที่ดินประชาชนซึ่งอยู่มาก่อนแล้วประกาศกฎหมายต่างๆ ทับลงไป นอกจากนี้ เขายังมีข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้บอกว่า เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ แต่เมื่อเข้าไปดูกระบวนการรับฟังความเห็นประชาชน พบว่าทำผ่านเว็บไซต์เท่านั้นซึ่งมีคนเข้าชมเพียง 200 และไม่มีผู้แสดงความเห็นแม้แต่คนเดียว การบอกว่าเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ชาติแต่ไม่มีคนแสดงความเห็นเลย จะพูดว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปได้อย่างไร

สุดอั้น! ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต เปรียบชีวิตคนไทยไม่สำคัญ หวั่นทหารสหรัฐฯซ้อมรบทำโควิดระบาด

“การกระจายการถือครองที่ดินเป็นหัวใจหนึ่งของการปฏิรูปความเสมอภาคและความเท่าเทียม เป็นหัวใจของความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน แต่ถ้ายังไม่ตอบโจทย์การปฏิรูปความเป็นอยู่ของประชาชนที่แท้จริง พวกเราก็ต้องทบทวนว่าจะรับหลักการกฎหมายนี้ได้หรือไม่”

อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐพยายามแก้ปัญหาโดยใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่เดิมตั้งขึ้นโดยมติ ครม. แต่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ประชาชนไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้แนวคิดถูกรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง เมื่อออกมาเป็น พ.ร.บ. คทช. ก็ยังใช้แนวคิดแบบเดิมที่อาศัยแต่กลไกในระบบราชการ ยังคงอยู่บนความคิดที่ไม่เข้าใจชาวบ้าน คิดแค่ว่าที่ดินเป็นของรัฐ ซึ่งไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ร่าง พ.ร.บ. ที่เสนอเข้ามาจึงไม่ได้ตอบโจทย์ เพราะยังอยู่บนแนวคิดเดิมที่อาศัยรัฐราชการรวมศูนย์

“การตั้งสำนักงาน คทช. ยกระดับเทียบเท่าระดับกรม ใช้งบประมาณในการบริหารงานประจำมากขึ้น แต่จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องควรเป็นการกลับไปแก้ไข พ.ร.บ. คทช. ให้คนพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมภายใต้หลักการการกระจายอำนาจ มีอำนาจอนุมัติตลอดจนวางแผนการใช้ที่ดินในท้องถิ่นของตัวเอง อำนาจ งบประมาณ ประชาธิปไตย และการแก้ไขปัญหาที่ดินเป็นเรื่องเดียวกัน หากตั้งโจทย์อยู่ใต้รัฐราชการรวมศูนย์แบบเดิมร้อยปีก็ไม่สำเร็จ”

เช่นเดียวกับ คารม พลพรกลาง ที่มีความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำมายาวนานและมีความเหลื่อมล้ำทางที่ดินเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ปัญหาใหญ่ใจความคือการจัดสรรที่ดินที่นอกจากของเอกชนแล้วยังมีที่ดินของรัฐที่ครอบครองภายใต้หลายหน่วยงาน มีทั้งความทับซ้อนและมีปัญหาข้อกฎหมายมากมาย เช่น ป่าทับที่ชาวบ้านหรือชาวบ้านถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำเข้าไปในป่า ดังนั้น ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้คือการจัดระบบที่สาธารณะใหม่ เช่น ที่ดินของธนารักษ์ ป่าสงวนที่เสื่อมโทรม หรืออื่นๆ หากอยู่ในสภาพที่ยกเลิกได้ก็ควรจัดสรรให้ชาวบ้านเป็นที่ดินทำกินเพื่อแก้ปัญหาลดความเลื่อมล้ำลง

คำพอง เทพาคำ อภิปรายในเรื่องนี้ว่า การแก้ไขปัญหาที่ดินที่ผ่านมามีคณะทำงานเครือข่ายการแก้ไขปัญหาที่ดินขับเคลื่อนมาก่อนที่จะมีการร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เมื่อมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ส่วนตัวมีความคาดหวังว่าจะสามารถบริหารจัดการที่ดินทั้งปัญหาที่ดินเก่าและปัญหาที่ดินใหม่ แต่สิ่งที่เป็นจริงคือในหลายพื้นที่กำลังจะมีการออกโฉนด มีการลงสำรวจที่ดิน ไปจนถึงมีการรางวัดที่ดินแล้ว แต่พอเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ที่ดิน ปรากฏว่าต้องไปเริ่มต้นของกระบวนการใหม่และจะเป็นแบบนี้วนไปอีกหลายรอบ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่าน โจทย์ของ คทช. คือต้องกลับไปแยกแยะให้ออกว่า ที่ดินแปลงใดอยู่ในขั้นตอนกระบวนการไหน ไม่ใช่ต้องไปเริ่มใหม่กันหมด ถ้าเป็นแบบนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

“ก็หวังว่าจะไม่ใช่เสือกระดาษ นอกจากนี้ ผมยังมีข้อเสนอว่า หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับ ก็ควรจะกระจายอำนาจลงไปในระดับพื้นที่ อย่ารวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และยังมีกฎหมายอีกอย่างน้อย 9 ฉบับที่ต้องแก้ไข เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ดิน ไม่เช่นนั้นจะถูกล็อคไว้ด้วยบทบัญญัติของกฎหมายที่ยังไม่ได้แก้ไข อาจทำให้ คทช. เป็นเสือกระดาษอย่างหลายๆหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมา เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น”

สำหรับตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ มานพ คีรีภูวดล อภิปรายว่า ประชาชนส่วนหนึ่งกำลังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเขาอยู่อาศัยมาก่อนเป็นร้อยๆปี ซึ่งในหลักการของ คทช. คือ ถ้าเป็นที่ดินของปู่ย่าตายายจะต้องคืนให้หลวงก่อน หลังจากนั้นหลวงจะมาอนุญาตให้เช่า ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยินยอมรับในหลักการแบบนี้

“ทำไมที่ดินบรรพบุรุษของตัวเองจึงต้องเช่า การที่กฎหมายเข้าไปบุกรุกเขา เข้าไปประกาศทับที่แล้วเขากลับกลายเป็นคนผิดกฏหมาย แล้ววันหนึ่งก็ต้องทำเรื่องคืนกลับมาให้หลวง แล้วจึงได้เช่าที่ดิน ผมคิดว่าเรื่องเป็นเป็นหลักการที่ใหญ่มาก จึงอยากตั้งคำถามว่า คทช. ที่กำลังจะปรับปรุงแก้ไขนี้ มีความขัดแย้งต่อหลักการของยุทธศาสตร์ชาติในข้อที่ 4.1.3 หรือไม่ เพราะในยุทธศาสตร์ชาติข้อนี้มีการระบุเอาไว้ว่า เป็นการให้สิทธิชุมชน ให้กรรมสิทธิ์ต่างๆ ที่ยั่งยืน เป็นการให้โอกาสประชาชนให้ได้เข้าถึงสิทธิในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อที่จะต่อยอดในแง่ของการพัฒนาที่ดิน ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของ คทช. อย่างชัดเจน เพราะหลักการของ คทช. เป็นเพียงสิทธิในการให้เช่าเท่านั้นเอง”

ธนกร สวน อนุสรณ์ ป้องรัฐบาลไม่เคยคุกคามนักศึกษา ขอหยุดใส่ร้าย

ในช่วงท้าย มานพกล่าวว่า ที่ดินคือปัจจัยการผลิตที่สำคัญมาก ทุกวันนี้ที่เดินไปต่อกันไม่ได้เพราะติดข้อกฎหมายทั้งสิ้น หากแก้ปัญหาเรื่องที่ดินในประเทศไทยได้ ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะมีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศต่างๆในโลก กระบวนการของ คทช. มีการแยกหมวดหมู่มากมายและมาในเวลาที่ไม่พร้อมกัน วันนี้เรื่องหนึ่ง พรุ่งนี้อีกเรื่องหนึ่ง เป็นการสร้างความยากลำบากให้กับประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ต้องบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานต่างถืองบประมาณ อำนาจ และข้อกฎหมายเข้ามาหาประชาชนจึงเกิดเป็นความขัดแย้ง

“สิ่งที่ผมอยากเห็นคือการบูรณาการแผนของหน่วยงานต่างๆ ในหนึ่งหมู่บ้าน ในหนึ่งพื้นที่ มีหลายหน่วยงาน ตั้งแต่หน่วยจัดการต้นน้ำ หน่วยงานพัฒนาปกครองท้องที่ท้องถิ่น กรมป่าไม้ กรมอุทยาน และความมั่นคง อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทำงานร่วมกัน นี่คืออุปสรรคและปัญหาในการแก้ไขปัญหาที่ดินให้สำเร็จ ขอถามว่า การสร้างหน่วยงานขึ้นในวันนี้ จะแก้ปัญหาข้างต้นได้อย่างไร หากมีการบูรณาการและให้อำนาจท้องถิ่นในการบริหารจัดการ ผมเชื่อว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ดินให้แก่ประชาชนทั่วประเทศได้อย่างแน่นอน”

สำหรับญัตตินี้ พรรคก้าวไกลมีมติร่วมกัน ‘งดออกเสียง’ โดยผลการลงมีผู้ลงมติ 617 คน เห็นชอบ 564 คน ไม่มีผู้ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง 51 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 2 คน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

พี่กะเทย สุขุมวิท11 ใช้มีดไล่แทง บาดเจ็บสาหัส

กะเทยไทยใช้มีดไล่แทงกัน กลางซอย ย่านสุขุมวิท11 ได้บาดเจ็บสาหัส เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาด ทะเลาะกันมาจากในผับ

สลดกลางตลาด! คนร้ายแฝงตัว ประกบยิงพรานทหารหญิงดับคาที่

อุกอาจ พรานทหารหญิง ถูกคนร้ายประกบยิงกลางตลาดนัด จ.นราธิวาส เสียชีวิตคาที่ ตร.คาดปมเหตุจากปัญหาส่วนตัว หลังน้องชายเพิ่งถูกลอบยิง

เช็กดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม 2567

ดูดวงรายวัน ดวงวันนี้ 29 มีนาคม 2567 ดวงประจำวันเกิด ฤกษ์ดี สีมงคล โดย อาจารย์ อรุณวิชญ์ วงศ์จตุพัฒน์ ผ่านแฟนเพจ มหามงคล.คอม

ผิดแค่ไหน! พ่อค้าร้านขาหมูประกาศหยุดขาย หลังถูกร้องเรียนเสียงดัง

พ่อค้าร้านข้าวประกาศ หยุดขายขาหมู หลังเพื่อนบ้านร้องเรียน สับหมูรบกวนเสียงดัง ล่าสุดเทศบาลนัด 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยพรุ่งนี้

สพฐ. แจงปม ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ ที่ร้อยเอ็ด ชี้! ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยผลสรุป ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ พบผิดวินัยไม่ร้ายแรง เตรียมลงดาบทางวินัย แต่ให้โอกาสปรับปรุงตัว

ณเดชน์ ใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง พร้อมขอโทษ ญาญ่า

ณเดชน์ คูกิมิยะ ถึงกับใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง บานปลายสร้างความเข้าใจผิด พร้อมขอโทษ ญาญ่า อุรัสยา
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า