วันตรุษจีน แจกอั่งเปามั่วซั่วไม่ได้นะ! ตำรวจไซเบอร์ โพสต์เตือนประชาชน ระวังโดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน มาในรูปแบบคลิ๊กลิ้งก์แจกอั่งเปา
เทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลแห่งความสุข ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ วันเริ่มต้นปีของชาวจีน มอบสิ่งดีๆให้กัน ซึ่งในช่วงวันตรุษจีนนี้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะซื้อของช้อปปิ้ง หรือหยุดทำงานเพื่อการเที่ยวพักผ่อน และที่ขาดไม่ได้เลยในวันตรุษจีนนี้ก็คือการ แจกอั่งเปา ให้กับลูกๆ หลานๆ ถือเป็นการมอบของขวัญและมอบเงินขวัญถุงให้แก่กัน โดยวันนี้ ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. ได้โพสต์ข้อความเตือนประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพหลอกในโลกออนไลน์ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยระบุข้อความว่า “ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ตรุษจีนปีนี้ ระวัง!! หลอกแจกอั่งเปาออนไลน์
รูปแบบการหลอกลวง
- มิจฉาชีพจะส่งข้อความผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น SMS, Line, Facebook โดยพาดหัวว่า ” คุณคือผู้โชคดี ได้รับอั่งเปาฟรี กดลิงก์ได้เลย” เพื่อดึงดูดความสนใจของเหยื่อ
- ข้อความนั้นจะแนบลิงก์ปลอมของมิจฉาชีพมาด้วย
- มิจฉาชีพจะหลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปใช้ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น
- หลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปฯดูดเงิน เพื่อขโมยเงินจากบัญชี ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนท่านใดตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรีบติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งเหตุ และสามารถแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ (เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ที่เว็บไซต์นี้เท่านั้น www.thaipoliceonline.go.th โดยเก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้กระบวนการติดตามคนร้ายง่ายขึ้น หากมีข้อสงสัย สามารถโทรปรึกษาสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธีรับมือจากกลโกงโจรไซเบอร์
วิธีการป้องกันตัวจากกลลวงหลอก
- มีสติ ตรวจสอบข้อความและ URL อย่างละเอียด ทุกตัวอักษร
- ห้ามกดลิงก์แปลกปลอมที่แนบมากับ SMS หรือข้อความต่างๆ
- กรณีบัตรเดบิต/เครดิต ให้หมั่นดู SMS แจ้งเตือนจากธนาคาร เมื่อพบความผิดปกติให้รีบติดต่อธนาคารเพื่อระงับธุรกรรมนั้นทันที
- กรณีได้รับลิงก์ผ่าน SMS ให้พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือทั้งตัวผู้ส่งและเนื้อหาที่ส่ง
- กรณีแก๊งคอลเซนเตอร์ส่วนใหญ่ติดต่อมาจากต่างประเทศ ไม่ควรรับสายที่มีเครื่องหมายบวกขึ้นมา เช่น +697 +698
- กรณีแอปฯ เงินกู้ ให้สังเกตดูว่าเป็นแอปพลิเคชันของบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท.
- กรณีแอปฯ ดูดเงิน หากอยู่นอก official store เช่น Play Store หรือ App Store ไม่ควรดาวน์โหลด

ที่มา ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท.