โควิดเดลต้า – สธ.เผยผลทดสอบฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” 2 เข็ม ใน 3 จังหวัด ป้องกันเชื้อ โควิดเดลต้า ได้ถึง 75% ร่วมถึงข้อมูลจากกรมควบคุมโรค
โควิดเดลต้า – สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยนั้น ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นคือ เชื้อโควิดเดลต้า หรือ โควิดสายพันธุ์อินเดีย ที่มีความรุนแรง และแพร่กระจายได้เร็วกว่าเชื่อตัวอื่น อีกทั้งหลายแหล่งข้อมูลยังออกมาเผยว่า เชื้อตัววนี้ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงอีกด้วย
ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ทางเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค ที่สามารถป้องกันเชื้อโควิดเดลต้า และ เชื้อโควิดอัลฟา จากการผลทดสอบทั้ง 3 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต สมุทรสาคร และ เชียงราย อีกทั้งยังมีข้อมูลจากกรมควบคุมโรคอีกด้วย

สธ. เผยผลการศึกษาประสิทธิภาพการฉีด “ซิโนแวค” 4 แหล่ง กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยรายงานการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวคที่ได้นำมาฉีดให้กับคนไทยใน 4 แหล่ง มีดังนี้
1. จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 64 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%
2. จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือน เม.ย. 64 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%
3. จ.เชียงราย ได้ติดตามกรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 64 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 รายนอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9% สำหรับ บุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%
4. กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีนช่วงเดือน พ.ค. 64 ที่การระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟา พบว่าประสิทธิผลซิโนแวค 2 เข็ม อยู่ที่ 71%
ส่วนเดือน มิ.ย. 64 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาทั้งประเทศราว 20 – 40% พบประสิทธิผลอยู่ที่ 75%ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อจากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณ 90% และป้องกันปอดอักเสบได้ 85% ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น

ข่าวที่น่าสนใจ