สธ.เผย ฝีดาษลิง เหมือนจะน่ากลัว ความรุนแรงไม่มาก รักษาตามอาการ ขณะนี้ไม่มียาต้านโดยตรง ชี้ ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ทางด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า ได้รับรายงานจากทางโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยที่คาดว่าจะน่าติดเชื้อฝีดาศลิง ซึ่งได้ทำการส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ก่อนยืนยังว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวติดเชื้อฝีดาษลิง ซึ่งเป็ยรายแรกในประเทศไทย
ล่าสุดผู้ว่าฯ ภูเก็ตเตรียมแถลงด่วน 11 โมง หลังผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกของไทย หนีออกจากโรงพยาบาล ทั้งนี้ พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว 6-7 ราย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก
และเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ทางด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ไลฟ์สดผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกแล้วกว่า 12,608 ราย กระจายตัวอยู่ใน 66 ประเทศ พบมากในทวีปยุโรป และอเมริกา และเอเชีย มีสิงคโปร์ ไต้หวัน อินเดีย มากที่สุด คือ สเปน 2,835 ราย จากข้อมูลผู้ติดเชื้อส่วนมากเป็นเพศชาย ติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิด
ฝีดาษลิง จำเป็นต้องฉีดวัคซีน หรือไม่??
- โรคนี้รักษาตามอาการ
- เหมือนจะน่ากลัว แต่ความรุนแรงไม่มากนัก
- ตอนนนี้ยังไม่มียาด้านโดยตรง
- วัคซีนมีผลิตขึ้นในหลายบริษัท และทางกรมควบคุมโรค ได้ทำการสั่งจองไปแล้วในเบื้องต้น
- ส่วนวัคซีนที่เรามีอยู่แล้ว เป็นวัคซีนฝีดาษ (smallpox) อาจจำนำมาใช้ได้ ต้องดูตามข้อบ่งชี้ ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน ประเมินสถานการณ์ก่อนนำมาใช้
- ภาพรวมในตอนนี้ ยังไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนในประชาชนในวงกว้าง แต่อาจจะเริ่มจากในกลุ่มเฉพาะหรือกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ เช่น เจ้าหน้าที่ในห้องแลป เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ
- ทั้งนี้ยังต้องติดตามรายละเอียดต่อไป เนื่องจากหลังฉีดวัคซีนฝีดาษนั้น ยังมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง
ขอบคุณข้อมูล – กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY