กลุ่มครูสอนดำน้ำ เกาะเต่า พบ ฉลามวาฬมีเชือกพันหาง และได้พยายามเข้าช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถตัดเชือกออกให้หมดได้ ล่าสุดประสาน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งติดตาม และให้การช่วยเหลือโดยด่วน
กลุ่มครูสอนดำน้ำ อ.พรรณี พบฉลามวาฬตัวใหญ่ ความยาว 3 เมตร ถูกเชือกป่านล่ามมัดติดที่โคนหางยาวประมาณ 1 เมตรกว่า จนโคนหางมีบาดแผลรอยเชือก และคาดว่าน่าจะติดมาหลายวันแล้ว เพราะจากเชือกมีตะไคร่เขียวและมีเพรียงทะเลเกาะติดที่บริเวณเชือก
โดนจุดที่พบฉลามวาฬตัวใหญ่ อยู่ที่อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณจุดดำน้ำหินใบ โดยฉลามวาฬว่ายน้ำเข้าหากลุ่มครูสอนดำน้ำ แสดงท่าทางเหมือนให้ช่วยเหลือ ทำให้ครูสอนดำน้ำคนหนึ่ง จึงใช้มีดประจำตัวนักดำน้ำ เข้าช่วยเหลือโดยใช้มีดตัดเชือกที่รัดโคนหาง อย่างระมัดระวังเป็นเวลานาน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากมีดมีขนาดเล็กไม่สามารถตัดเชือกได้
จึงต้องรีบขึ้นจากใต้น้ำ ทำให้ฉลามวาฬว่ายน้ำจากไป จากนั้นกลุ่มครูสอนดำน้ำได้เร่งประสานไปยังกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้เข้าช่วยเหลือต่อไป

ด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ตนทราบข่าวคุณครูพรรณี ได้ดำน้ำบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบฉลามวาฬมีเชือกพันหาง คาดว่าจะถูก พันมานานแล้ว เนื่องจาก มีบาดแผลลึกบริเวณที่เชือกรัด ทั้งนี้ คุณครูพรรณี ได้พยายามว่ายเข้าใกล้อย่าง ระมัดระวัง และใช้อุปกรณ์ตัดเชือก แต่ยังไม่สามารถตัดเชือกออกได้ ซึ่งตนได้เห็นภาพที่คุณครูพรรณีเข้า ช่วยเหลือแล้ว ตนรู้สึกขอบคุณคุณครูพรรณีที่พยายามช่วยเหลือฉลามวาฬตัวดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่ง การให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามและส้ารวจหาฉลามวาฬตัวดังกล่าว เพื่อช่วยตัดเชือกออก จากหางและรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น พร้อมให้รายงานให้ตนทราบเป็นระยะ จากเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้ เห็นถึงผลทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบ ในเชิงบวก ก็คือ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติใต้ท้องทะเลเพิ่มมากขึ้น สัตว์ทะเลหายากพบเห็นได้บ่อยครั้งขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็ยังสะท้อนถึงปัญหาขยะทะเลที่ยังคงวนเวียนสร้าง ความเสียหายและความสูญเสียต่อสัตว์ทะเลในท้องมหาสมุทรทั่วโลก สิ่งนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำเราทุกคนถึงผล จากการกระทำอย่างขาดจิตสำนึก สัตว์ทะเลป้องกันตัวเองจากขยะทะเลไม่ได้ สัตว์ทะเลไม่สามารถบอกหรือ ขอร้องให้เราหยุดการกระท้าที่ท้าร้ายพวกเขาเหล่านั้น แต่เราทุกคนสามารถคิดใหม่เพื่อลดปัญหาขยะล้นทะเล และช่วยชีวิตสัตว์ทะเลให้รอดพ้นจากวิกฤติปัญหาดังกล่าว
นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงาน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 พร้อมด้วยทีมดำน้ำนักวิชาการ และสัตวแพทย์ ลงพื้นที่สำรวจและติดตาม ฉลามวาฬดังกล่าว พร้อมทั้งให้ประสานนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนธิกำลังใน การติดตามและให้การช่วยเหลือ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นช่วงที่เราปล่อยให้ ธรรมชาติได้พักฟื้น ท้าให้มีการพบสัตว์ทะเลหายากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝูงพะยูนกว่า 20 ตัว
สามารถแจ้งกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือหน่วยงานในพื้นที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางกรมจะเร่งจัดส่งเจ้าหน้าที่และ ทีมนักวิชาการผู้ช้านาญลงตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ ซึ่งกรมมีความพร้อมทั้งบุคลากรและศูนย์ช่วยชีวิต สัตว์ทะเลหายากที่พร้อมให้การดูแลและรักษาเป็นอย่างดี นายโสภณ ทองดี กล่าวทิ้งท้าย