หมอธีระวัฒน์ ชี้แยงจมูกเสี่ยงเชื้อ โควิด19 แนะทำยาชุดตรวจโรค วัคซีนใบพืช

โควิด19 — หมอธีระวัฒน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์คณะแพทยศาสตร์สภากาชาดไทย ผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เผยข้อมูลเกี่ยวข้องกับการทำยา ชุดตรวจโรค และวัคซีนจากใบพืช โดยระบุว่า

“การเจาะเลือด ว่องไว ปลายนิ้ว rapid test น่าจะเป็นวิธีตอบโจทย์การตรวจคัดกรองคนหมู่มาก ตั้งแต่ ชายแดน การประกอบกิจกรรมคนหมู่มาก และถ้า “เลือดบวก” แสดงว่า มี “ติดเชื้อ” ก็ตามต่อด้วยการแยงจมูกเป็นระยะๆที่ทำตามปกติ ว่า
“ปล่อยเชื้อ” หรือไม่?

ข้อดีก็คือ ไม่ต้องแยงจมูก “ทุกคน” คนละหลายครั้ง ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัว

ซึ่งการต้องแยงจมูก ลำคอ มีความเสี่ยง โดยเวลาแยงต้องหมุน เพื่อจะได้ไวรัสออกมามากๆ มาตรวจ และคนแยงแน่นอนมีความเสี่ยงเพราะมีละอองฝอยเชื้อ หลุดกระจายออกมาได้

เทคโนโลยีนี้มีมามากกว่า 15 ปีแล้ว และ ทำสำเร็จในการผลิตยาในการรักษาอีโบล่า ยกตัวอย่างเช่นรักษาคนอเมริกันที่ติดเชื้อจากแอฟริกา และกลับมาที่สหรัฐใช้เทคนิคเดียวกันและใช้ในแอฟริกาด้วย

สิ่งที่ได้จากใบยา ไม่ใช่ใช้ทำเป็นยา monoclonal antibody สำหรับรักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆเท่านั้น ยังทำป็นยารักษามะเร็งต่างๆ และสามารถ ทำเป็นโปรตีน ที่พัฒนาเป็นชุดตรวจหาเชื้อโรคต่าง ๆ และรวมทั้งวัคซีน

ในปี 2011 และ 2012 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทยได้ทุนสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐในการเตรียมแผนรับมือโรคอุบัติใหม่ ศ นพ Michael Callahan Harvard และ DARPA ได้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมการทำยาและวัคซีน จากใบยาพืช ซึ่งกระบวนการในการสกัดให้บริสุทธิ์ไม่ได้ยุ่งยากและไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีนใด ๆ โดยที่ในปัจจุบันประเทศไทยก็สามารถทำได้ และถูก เร็ว ไม่ยุ่งยาก ทุกขั้นตอนจนเป็นโปรตีนบริสุทธ์ขึ้นที่จะนำมาใช้ในมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ของไทยสองท่านผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และ ดร.วรัญญู พูลเจริญ กับทีมวิจัยที่ได้ทำการพัฒนาการผลิตยา และวัคซีน และโปรตีนจาก ใบยาพืช มีประสบการณ์มามากกว่า 12 ปี และรายงานในวารสารระดับโลก เกี่ยวช้องกับการผลิตเซรุ่ม ที่ฉีดแผลเมื่อถูกหมาบ้ากัด รวมยาที่ต่อต้านเชื้อไวรัส มือเท้าปาก EV 71

และใบยาพืชดังกล่าว ได้สามารถผลิตยา monoclonal antibodies ต่อ โควิด 19 ได้แล้ว ลักษณะเหมือนกับที่พยายามจะใช้พลาสมาจากคนที่หายจากการเป็นโรคและเอามารักษาคนติดเชื้อ รวมทั้งชุดตรวจ rapid test จากการตรวจเลือดปลายนิ้ว ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรตรวจ

โควิด-19 เร็ว ถูก รู้ว่าติด ทั้งนี้ประกอบไปด้วยการตรวจแบบรวดเร็วrapid test ก่อน ถ้าบวกยืนยันด้วย การตรวจมาตรฐานในเลือด

โดยที่ขั้นตอนประกอบไปด้วย

1 ตรวจในเลือด ถ้าบวก รู้ว่าติดไป แล้วหาต่อว่าปล่อยเชื้อได้หรือไม่ คือแยงจมูก พีซีอาร์

2 ผู้สัมผัสโรค ต้องทราบว่าแยงจมูกครั้งเดียวสรุปไม่ได้ ต้องแยงไป แยงมา แยงหลายครั้ง จนจบ 14 วัน และยังหลุดตรวจไม่เจอได้
ราคา 2000-7000 บาทต่อครั้ง แม้จะมีรัฐจ่าย แต่ เพียงผู้ต้องขังรายเดียว ระยองรายเดียว ผู้ต้องขังรายเดียว ต้องแยงกี่ร้อยคน คนละหลายครั้ง

3 อยากรู้ว่า ผู้สัมผัสกับผู้ต้องขัง ติดหรือไม่ เจาะเลือดด้วยวิธืมาตรฐาน เลือดบวกเริ่มตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป หลังติดเชื้อและจะซ้ำอีก ในวันที่ 7 ก็ได้ แต่การเจาะเลือดมาตรฐานต้องนำเลือดมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายตัวอย่างแม้การตรวจจะได้ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมงก็ตาม

4 ดังนั้นที่เจาะเลือดคัดกรองเบื้องต้นปลายนิ้ว rapid test เห็นผล 2 นาที และถ้า บวกยืนยันด้วยการตรวจเลือดมาตรฐาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทย รพ จุฬา คณะแพทยศาสตร์ รู้ผล ใน 3 ชั่วโมง

การเจาะเลือด ด้วยวิธีมาตรฐานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่มีมาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ด้วยการตรวจ ไม่หลุด ถ้าติดเชื้อตั้งแต่ 4-5 วันไปแล้ว

ในเมื่องบประเทศร่อยหรอ เราต้องกันประหยัด แต่มั่นใจด้วยวิธีตรงที่สุด

คงต้องเริ่มแล้วครับ ให้ความมั่นใจคนไทย ด้วยความรู้ และการนำมาปฏิบัติ อย่างถูกต้อง

หมอไม่ได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นกับบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือเป็นหน้าที่ของศูนย์โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทยและจุฬาที่ ต้องทำการประเมินกระบวนการที่จะสามารถป้องกันคนไทยจากโรคระบาดต่าง ๆ ได้ และถูก

โดยที่คนไทย “ต้อง” ได้ประโยชน์ที่สุด จากการพัฒนา ตั้งแต่ ต้นน้ำกลางน้ำถึง ปลายน้ำ ในประเทศไทย ไม่ติดสิทธิบัตรใด ๆ
นำเรียนทุกท่าน เพื่อคนไทยทุกคน “

นักพัฒนาส่งต่อแอปฯ หมอชนะ ให้รัฐบาลเต็มตัว มั่นใจรัฐดูแลดีโปร่งใส

หมอยง ชี้ วัคซีนโควิด ส่วนใหญ่ ป้องกันการเกิดโรค อาจติดเชื้อได้หลังฉีด

หมอธีระ แนะชั่งผลดีผลเสียฉีด วัคซีนโควิด อาจไม่ใช่แค่เรื่องผลข้างเคียง

เครดิตภาพ xinhuathai

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ครั้งนี้ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินครึ่งล้าน

ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินในบ้านจำนวนครึ่งล้าน ลั่น ถ้ายังไม่คืนรู้เรื่องแน่

ป่วยนับสิบ! คนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หลังร่วมปาร์ตี้โฟมสงกรานต์

ปาร์ตี้โฟมสงกรานต์ เป็นเหตุ! ทำคนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หามตัวส่ง รพ. กว่า 50 ชีวิต พบมีอาการ มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

เซอร์ไพร์ส! Thailand Music Countdown บุกวงการ T-POP พบกันเร็วๆ นี้

เซอร์ไพร์สกันสุด ๆ เมื่อตอนนี้ทาง True CJ Creations ได้กำลังเตรียมรายการ Thailand Music Countdown มาให้ศิลปิน T-POP โชว์ของกันตอนนี้แล้ว!

หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

เหตุระทึก! หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมกว่า 2 ชั่วโมง อาศัยจังหวะเจ้าหน้าที่เผลอ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

หลานม่า ต้องรู้! 9 ข้อ จัดฮวงจุ้ยแบบไหน ให้อาม่าอายุยืน

อ.นภัสวรรณ จิรเจริญเวศน์ เจ้าของเพจ มาดามฮวงจุ้ย ชี้ชัดทุกปัญหาพลิกชะตาด้วยฮวงจุ้ย เผยเคล็ดลับที่หลานม่าต้องรู้ จัดฮวงจุ้ยแบบไหน ให้อาม่าอายุยืน อยู่กับเราไปนานๆ

หลักฐานครบ! ตร.ไซเบอร์ บุกทลาย เว็บพนัน “taxas 147”

เมื่อก่อนเคยดีกว่านี้!? เจ้าของเว็บพนัน “taxas 147” สารภาพสิ้น หลัง ตำรวจไซเบอร์ (CIB) บุกจับคาบ้านพัก ทลายรังสร้างเว็บ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า