ไบเทค เสนอพื้นที่ให้บขส.จอดรถโดยสาร หลังมีแผนย้ายสถานีขนส่ง หมอชิต รังสิต เอกมัย สายใต้

บริษัท ขนส่ง จำกัด เผย แผนย้ายสถานีขนส่ง หมอชิต รังสิต เอกมัย สายใต้ หลัง ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 12ธ.ค.64 นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ภายในกลางปี 2565 บขส.ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯหรือสถานีหมอชิตใหม่ ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชรให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) พร้อมกับมีแผนจะทำเป็น “เซฟตี้โซน” และปรับปรุงพื้นที่ภายในสถานีใหม่ ให้โมเดิร์นและสอดรับกับพื้นที่ในปัจจุบัน หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนรถโดยสารมาใช้บริการน้อยลง ตอนนี้มีรถโดยสารขนาดใหญ่บางเส้นทางและรถตู้โดยสารบอกเลิกสัญญาไปประมาณ 30%

สำหรับแผนการย้ายสถานีไปยังสถานีหมอชิตเก่าอยู่ติดสถานีบีทีเอสหมอชิต จะย้ายการเดินรถโดยสารขนาดเล็กหรือมินิบัส ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV)  วิ่งระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร เข้าใช้บริการพื้นที่สถานีขนส่งอยู่ในโครงการคอมเพล็กซ์ของบริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด หรือ BKT ผู้รับสัมปทานพัฒนาโครงการ ส่วนจะย้ายไปเมื่อไหร่นั้นยังตอบไม่ได้

“เมื่อโครงการของBKTแล้วเสร็จ จะทำให้บขส.มีสถานีขนส่ง 2 แห่งในการปล่อยรถจากกรุงเทพฯคือที่หมอชิตใหม่ที่เราจะเช่าที่ดินรถไฟต่อไป เพราะจุดนี้มีความสะดวกในการเดินทางใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางของระบบราง ส่วนอีกแห่งจะอยู่ที่หมอชิตเก่าเป็นจุดปล่อยรถระยะสั้น ตอนนี้เรารอรูปแบบการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนจากBKT”

ส่วนสายใต้ใหม่ยังคงอยู่ที่เดิม สถานีขนส่งสายใต้เก่าที่ปิ่นเกล้า ปัจจุบันเหลือเฉพาะรถตู้ที่มาใช้บริการ อยู่ระหว่างพิจารณาจะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ในระยะยาวเพื่อชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไป

ขณะที่สถานีขนส่งเอกมัย เนื้อที่ 7 ไร่ ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส ในอนาคตจะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้เช่นกัน อยู่ระหว่างทำการศึกษา อาจจะต้องย้ายสถานีขนส่งเอกมัยไปอยู่ที่อื่นแทน ลดปัญหามลพิษจากฝุ่นPM2.5  และนำที่ดินมาประมูลให้เอกชนพัฒนาโครงการ

นอกจากนี้ ทางศูนย์แสดงสินค้าไบเทค จะให้พื้นที่เพื่อให้บขส.จอดรถโดยสารได้ จากการลงไปดูพื้นที่ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเหมาะสม ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส การเดินทางสะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2566

อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาสถานีขนส่งรังสิตเพิ่ม  เพื่อรองรับการเดินรถเส้นทางใหม่ โดยอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่ดูแลพื้นที่อีอีซี จะเปิดเส้นทางเดินรถไฟฟ้าจากสถานีขนส่งรังสิตไปยังพื้นที่อีอีซี กำลังทำประมาณการผู้โดยสาร คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2566

“ต้องคิดแผนสร้างรายได้ระยะยาว เพราะเรามีเงินสดเหลืออยู่ในมือประมาณ 1,000 ล้านบาท ใช้ได้อีก 1-2 ปี ตอนนี้จากสถานการณ์โควิดทำให้รายได้เราหายไป 80% และปี 2564 น่าจะเป็นปีแรกที่เราขาดทุนมากที่สุดตั้งแต่ตั้งบขส.มา 91 ปี คาดว่าจะขาดทุนร่วม 1,000 ล้านบาท “

ข้อมูลจาก : มติชน

ขอบคุณภาพ : Chokchai Nuchsunthorn

ข่าวที่น่าสนใจ

แค่ข่าวลือ!? นักโทษแหกคุก ใช้ใบเลื่อยราคา 1 แสนตัดลูกกรง จนท.ยอมรับไม่มีเครื่องตรวจโลหะ

ทำทุกอย่าง! พิมรี่พาย ดูแลลูกค้าเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้อนรับจัดคิวไปจนถึงจัดรองเท้า

ใส่สบงแล้วทรงโวยวาย!! พระ ยืนโต้เดือด ชาวบ้านถามเหมาะสมหรือไม่?

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อิงฟ้า วราหะ เคลียร์ชัด!! ดราม่าใช้ล่าม ที่งานพรมแดงคานส์ 2025

“อิงฟ้า วราหะ” ไม่สนดราม่า! เคลียร์ชัดทุกประเด็นพรมแดงคานส์ 2025 – ย้ำใช้ล่ามเป็นเรื่องปกติ คนไทยควรเปิดโลก กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชียล ห […]

ด่วน !! “ควีนเทียน” MGI 2021 ถูกจับกุม หลังมีเอี่ยวคดีโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง

ดราม่าสะเทือนวงการนางงาม! “ควีนเทียน” เจ้าของตำแหน่ง Miss Grand International 2021 ถูกจับกุม หลังมีเอี่ยวคดีโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง กลายเป็นข่าวใหญ่ใน […]

“จ่าลอด” ออกจาก ICU แล้ว! หลังประสบอุบัติเหตุรุนแรง ขาหักทั้งสองข้าง

“จ่าลอด” หรือ “ด้งเด้ง ณัฐวุฒิ” จากภาพยนตร์และซีรีส์ชื่อดัง ไทบ้านเดอะซีรีส์ ออกจาก ICU แล้ว! ขอบคุณทุกกำลังใจ หลังประสบอุบัติเหตุรุนแรง ข […]

คุก 2 ปี กฤษอนงค์ ตัวกลางเรียกรับผลประโยชน์ บอสพอล ไม่รอการลงโทษ

ศาลพิพากษาจำคุก กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ เป็นตัวกลางเรียกรับผลประโยชน์ บอสพอล ลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่รอการลงโทษ ยกฟ้องข้อหากรรโชกทรัพย์ 19 พ.ค.68 นายวิฑูรย์ เก […]

ชาวบ้านเล่านาทีผลักเสาเครน คนงานลื่นหลุมมรณะ 19 เมตร

ชาวบ้านเล่านาทีเห็นกับตา คนงานช่วยกันผลักเสาเครน นายดาวลื่นตกหลุมลึก 19 เมตรที่กำลังเจาะทำรถไฟใต้ดิน ย่านหลานหลวง

รฟม.สั่งสอบหาสาเหตุ ปมคนงานพลัดตกหลุมรื้อถอนเสาเข็ม

รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีคนงานพลัดตกหลุมระหว่างการรื้อถอนเสาเข็มสะพานลอยเดิม สั่งเร่งตรวจสอบหาสาเหตุและมาตรการป้องกัน
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า