บทความตอนที่ 2 การควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา : สารต้องห้าม สารต้องรู้

การควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เรามาทำความรู้จักกับเหล่าบรรดาสารต้องห้าม และวิธีการต้องห้ามต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในช่วงการแข่งขัน และนอกช่วงการแข่งขันกัน เพราะเรื่องราวเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเหล่านักกีฬาทุกคน ปัจจุบัน WADA มีการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา โดยกำหนดไว้ 3 กลุ่ม
.
มาเริ่มกันที่ กลุ่มที่ 1 สารต้องห้าม ที่ห้ามใช้ตลอดเวลา
S0 สารที่ยังไม่ผ่านการรับรอง (Non-Approved Substance) สารหรือยาใดๆที่ไม่ได้ระบุไว้ในรายชื่อสารต้องห้าม ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศ
S1 สารอนาบอลิก (Anabolic Agents) เป็นสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง สารประเภทนี้จะส่งผลต่อการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ โดยมีการสะสมโปรตีน น้ำ และเกลือในเซลล์ของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดโตขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น มักจะใช้ในกีฬาที่ต้องการพลังกล้ามเนื้อมาก เช่น ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ เพาะกาย กรีฑา เป็นต้น แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ผลดี เพราะในทางกลับกัน ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นของการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น มะเร็งตับ ตับแข็ง โรคหัวใจ และที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อเรื่องสมรรถภาพทางเพศด้วย
S2  สารฮอร์โมนเปปไทด์ (Peptide Hormones) และฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต สารเหล่านี้ ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ ได้แก่ EPO (Erythropoietin) เป็นสารที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง แต่การใช้ EPO อาจทำให้เลือดเข้มข้นและเหนียวขึ้น การพยายามที่จะสูบฉีดเลือดที่ข้นและเหนียวในเส้นเลือด อาจทำให้เกิดการทำงานหนักของโรคหัวใจ และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่นกัน คือ สภาพการเจริญเติบโตไม่สมส่วน เช่น หน้าผาก คิ้ว กะโหลก และกราม ในส่วนของตับ ต่อมไทรอยด์ และการมองเห็นถูกทำลาย หัวใจโต และนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลว
S3 สารเบต้า-ทู อโกนิสท์ (Beta-2 Agonists) เป็นสารต้องห้ามประเภทกระตุ้น จะอยู่ในรูปแบบยารักษาโรคหอบหืดหรือระบบทางเดินหายใจ เป็นสารที่ใช้พ่นเข้าไปในลำคอ นักกีฬาที่มีประวัติป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ก็จะต้องผ่านการอนุญาตใช้สารต้องห้ามเพื่อการรักษาและให้ใช้ยาได้ แต่ก็จะอนุญาตในชนิดฉีดพ่นเข้าลำคอเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกำหนด
S4 สารปรับเปลี่ยนฮอร์โมนและเมตาบอลิสมของร่างกาย (Hormone And Metabolic Modulators) การใช้สารต้องห้ามกลุ่มนี้ จะทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
S5 ยาขับปัสสาวะและสารปกปิดอื่น ๆ (Diuretics And Masking Agent) เป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ด้วยการลดปริมาณน้ำในร่างกายลง มักใช้ในกีฬาที่มีการแบ่งน้ำหนักตัวลง ผลข้างเคียงทำให้ร่างกายขับเกลือแร่ออกมากขึ้น ร่างกายขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดภาวะเพลียแดด และหมดสติเนื่องจากร่างกายระบายความร้อนออกไม่ทัน
.
สำหรับกลุ่มที่ 2 สารต้องห้าม ที่ห้ามใช้เฉพาะในช่วงการแข่งขัน
S6 สารกระตุ้น (Stimulants) จะอยู่ในรูปแบบยาต่าง ๆ อย่างเช่น ยาแก้หวัด ยากระตุ้นประสาท ซึ่งจะมีผลต่ออัตราการทำงานของระบบในร่างกาย ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ มีผลต่อการเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือด แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ก็แบ่งออกเป็นหลายระดับ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ปวดกล้ามเนื้อ สภาวะช็อค ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว เบื่ออาหาร จนถึงขั้นประสาทหลอน
S7 สารเสพติด (Narcotics) หมายถึง สารที่เสพเข้าไปแล้ว จะเกิดความต้องการทั้งร่างกายและจิตใจ โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และที่แย่ไปกว่านั้นยังต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ อีก เหตุผลที่นักกีฬาบางส่วนเลือกใช้สารตัวนี้ เพราะใช้บรรเทาอาการปวดของร่างกาย แต่ด้วยผลข้างเคียงจะทำให้ผู้ใช้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา ระบบหายใจถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลวได้
S8 สารประเภทกัญชา เมื่อเสพไปแล้วจะบรรเทาภาวะเครียดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกีฬา แต่ผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว อาจเกิดภาวะความจำเสื่อม คิดช้า สมาธิสั้น ประสาทหลอน และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ถุงลมโปร่งพองอีกด้วย
S9 สารกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบยาหยอดตา ยาหยอดหู ครีมทาผิวหนัง และยาพ่นกล้ามเนื้อ เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้มีการยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ตับอักเสบกระดูกเปราะหรือกระดูกพรุน
.
กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 3 สารต้องห้ามที่กำหนดในบางชนิดกีฬา (SUBSTANCES PROHIBITED IN PARTICULAR SPORTS)
P1 สารเบต้า-บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) เป็นสารที่ชะลอการเต้นของหัวใจ จะพบในประเภทกีฬาที่ต้องการทำสมาธิ อาทิ ยิงปืน , ยิงธนู , แข่งรถยนต์ , กอล์ฟ เป็นต้น
.
ในส่วนวิธีการต้องห้ามทางการกีฬา ก็แบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภท ดังนี้
– M1 การโด๊ปเลือด (Blood Doping) เป็นการนำเม็ดเลือดแดงที่เตรียมไว้ เข้าสู่ร่างกาย เพื่อเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
– M2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมี คือการใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อให้ปัสสาวะเจือจางลง อาจทำโดยการเติมน้ำหรือสารเคมีบางอย่าง เพื่อปกปิดไม่ให้ตรวจพบสารตัวนั้นๆ
– M3 การโด๊ปยีน (Gene Doping) สารดังต่อไปนี้เป็นสารต้องห้าม เนื่องจากเป็นสารซึ่งอาจช่วยเสริมสมรรถภาพด้านการกีฬา อาทิ การใช้โพลิเมอร์ของกรดนิวคลิอิก หรือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึง / การใช้ยีนเดิมหรือปรับเปลี่ยนลักษณะของยีน / การใช้วิธีการทั่วไป หรือวิธีทางพันธุศาสตร์เพื่อปรับแต่งเซลล์ ซึ่งวิธีการต้องห้ามทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นวิธีการที่ห้ามปฏิบัติตลอดเวลา
.
ในส่วนการตรวจสอบสารต้องห้ามเบื้องต้นด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านเว็บไวต์ Global Drug online (Global DRO) ซึ่งเว็บไวต์นี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของการต้องห้ามสำหรับสารนั้น ๆ ภายใต้แต่ละประเภทกีฬา โดยมีการตรวจสอบเทียบรายการที่เป็นปัจจุบันที่ประกาศโดย WADA เดี๋ยวเราไปดูการสาธิตการใช้เว็บดีๆ และขั้นตอนง่าย ๆ กัน
1. อันดับแรกเลือก “ประเทศ” โดยคุณวิเชียรแนะนำว่าให้เลือกสหราชอาณาจักร หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากว่าเป็นประเทศหลักที่มีการนำเข้ายาในประเทศไทย


2. ต้องอ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขโดยละเอียด เลือก “ยอมรับเงื่อนไข” เพื่อดำเนินการต่อ แต่ถ้าเราเลือกกดปุ่ม “ไม่ยอมรับ” ท่านก็ไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอค้นหาได้


3. เลือกประเภทผู้ใช้งาน และเลือกประเภทกีฬา


4. ใส่ตัวอักษรอย่างน้อย 4 ตัวของชื่อผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ แล้วเลือกค้นหา


5. เลือก “ดูสถานะ” บนชื่อผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบที่แสดงในหน้าจอว่าชื่อที่ปรากฏบนระบบฐานข้อมูล Global DRO ตรงกับชื่อบนฉลากผลิตภัณฑ์


6. หน้าจอที่แสดงรายการทั้งหมด ท่านจะเลือกสั่งพิมพ์ จะบันทึกเก็บไว้ หรือให้ส่งมาทางอีเมลล์ เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง

และหากในกรณีที่นักกีฬามีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสารต้องห้ามเพื่อการรักษา ก็สามารถทำเรื่องขออนุญาตใช้สารต้องห้ามเพื่อการรักษา (TUE)  โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. แพทย์กรอกข้อมูลการรักษาในแบบฟอร์ม เพื่อให้นักกีฬานำแบบฟอร์ม TUE พร้อมแนบใบรับรองแพทย์แก่ DCAT ภายในเวลาที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนการแข่งขันจริง โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม TUE ได้ที่ www.dcat.in.th หรือเพียงสแกน QR Code
2. เมื่อ DCAT ได้รับเรื่องแล้ว ก็จะทำการส่งต่อให้คณะกรรมการการแพทย์ตรวจพิจารณา และเมื่อผลพิจารณาออกแล้ว ก็แจ้งผลนั้นต่อนักกีฬาทันที นักกีฬาจะได้รับอนุญาตให้ใช้สารต้องห้ามเพื่อการรักษา ก็ต่อเมื่อ…

  1. สุขภาพของนักกีฬาจะได้รับผลกระทบหากไม่ได้รับการรักษาด้วยสารนั้น

สารต้องห้ามนั้น ต้องไม่ได้ส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬามากไปกว่าการทำให้ร่างกายของนักกีฬากลับสู่สภาวะปกติ หรือไม่มีทางเลือกในการรักษาอื่นที่สามารถใช้ทดแทนได้

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ผิดแค่ไหน! พ่อค้าร้านขาหมูประกาศหยุดขาย หลังถูกร้องเรียนเสียงดัง

พ่อค้าร้านข้าวประกาศ หยุดขายขาหมู หลังเพื่อนบ้านร้องเรียน สับหมูรบกวนเสียงดัง ล่าสุดเทศบาลนัด 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยพรุ่งนี้

สพฐ. แจงปม ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ ที่ร้อยเอ็ด ชี้! ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยผลสรุป ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ พบผิดวินัยไม่ร้ายแรง เตรียมลงดาบทางวินัย แต่ให้โอกาสปรับปรุงตัว

ณเดชน์ ใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง พร้อมขอโทษ ญาญ่า

ณเดชน์ คูกิมิยะ ถึงกับใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง บานปลายสร้างความเข้าใจผิด พร้อมขอโทษ ญาญ่า อุรัสยา

แชร์สนั่น! “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่เด็กสมบูรณ์ พกง่าย ละลายเร็ว

ชาวเน็ตอึ้ง! เด็กสมบูรณ์เปิดตัว “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่ ของซีอิ๊วขาว มาพร้อมกับสโลแกน พกสะดวก ละลายไวใน 5 วินาที

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ยินดี สมรสเท่าเทียมผ่าน เผยเป็นวันที่รอคอยมานาน

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ข้อความร่วมยินดี เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่านครม. พร้อมเผยเป็นวันที่รอคอยมานานมาก โลกเปิดกว้าง ไม่จำกัดเพศ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า