เปิดตัวระบบ “ศสป.-Media Fun Facts” ทำหน้าที่เฝ้าระวัง พร้อมรับแจ้งเรื่องราวข่าวปลอม-สื่อร้าย-สื่อดีที่ประชาชนพบเจอในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย จากนั้นมีทีมงานประสานตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งสร้างสังคมออนไลน์คุณภาพ มีบริการทั้งในรูปแบบเว็บไซต์, เอ็กซ์เทนชั่นกูเกิลโครม-ไฟร์ฟ็อกซ์ รวมถึงเฟซบุ๊กเพจ ซึ่งมากับ “แชทบอต”

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ห้องประชุม Big co-working space ถนนพระราม 9 กทม. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวเปิดตัว โครงการเครือข่ายศูนย์รับแจ้งและติดตามผ่านช่องทางระบบสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เพื่อการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์และป้องปรามสื่อที่ไม่ปลอดภัย (ศสป.) ผ่านเครื่องมือ “Media Fun Facts ป้องปรามสื่อร้าย ขยายสื่อดี” โดยมี นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวเปิดงาน นอกจากนั้น ยังมีตัวแทนภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ทางกองทุนรู้สึกยินดีที่มีส่วนในการสนับสนุนโครงการ ศสป.-Media Fun Facts เนื่องจากจะเข้ามาช่วยลดสื่อร้ายและเพิ่มปริมาณของสื่อดี สามารถสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้ประชาชนสามารถใช้สื่อโดยเฉพาะสื่อดิจิทัลให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ชุมชน และสังคมโดยรวม นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อที่ไม่ดี ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสนับสนุนให้สื่อดี ๆ ได้รับการเผยแพร่มากขึ้น

นายวสันต์ ระบุว่า ที่ผ่านมากองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ก็ได้มีการร่วมมือกับโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาแล้ว เช่น รายการชัวร์ก่อนแชร์ ของทาง อสมท. เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมทำให้เกิดสื่อดี ๆ สื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ เพิ่มพื้นที่สื่อที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชน

“เป้าหมายหลังจากนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะเพิ่มความสำคัญในเรื่องของงานส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันดิจิทัล และการรู้เท่าทันสารสนเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในเรื่องของการเฝ้าระวังภัยจากข้อมูลร้ายหรือไม่จริง ซึ่งในยุคนี้ประชาชนทุกคนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทั้งนี้ ผมเชื่อว่าโครงการ Media Fun Facts จะสามารถคัดกรองข้อมูลข่าวสารให้คนใช้สื่อรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริง สร้างทักษะในส่วนของการใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูลต่อไป” ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯ กล่าว

นายวันเสาร์ แสงมณี หัวหน้าโครงการ ศสป.-Media Fun Facts

“ประชาชนทั่วไป รวมทั้งภาคีเครือข่ายสามารถแจ้งคอนเทนต์ ลิงก์ของเพจเฟซบุ๊ก และลิงก์ของเว็บต่าง ๆ ที่พบบนโลกออนไลน์เข้ามาที่ระบบ จากนั้นข้อมูลจะส่งมาที่ทีมงาน โดยทางทีมงานจะประสานกับทีมเครือข่ายและกลุ่มผู้สื่อข่าวออกไปตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วนำมาเสนอในรูปแบบข้อมูลบทความ วิดีโอ และอินโฟกราฟิก เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้แพร่กระจายออกไปสู่สังคมในวงกว้างต่อไป รวมถึงมีระบบหลังบ้านจัดทำสถิติ บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ใช้เป็นแนวทางวางยุทธศาสตร์เฝ้าระวังสื่อร้าย-ขยายผลสื่อดีในออนไลน์ต่อไป” นายวันเสาร์​ กล่าว

โครงการ Media Fun Facts มีแผนดำเนินการไปถึงปลายปี 2561 ในขั้นตอนต่อไปจะจัดกิจกรรมห้องเรียนออนไลน์ เพื่ออบรมสมาชิกภาคีเครือข่ายอีก 3 ครั้ง ส่วนระบบฟังก์ชั่นต่าง ๆ จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้รับคำแนะนำติชมจากประชาชนและภาคีที่เข้าร่วมอบรม ผู้ที่สนใจต้องการร่วมเป็นภาคีเครือข่าย เปิดกว้างทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ www.mediafunfacts.in.th สุดท้ายนี้ ทางโครงการอยากให้ประชาชนเข้ามาทดลองใช้บริการ Media Fun Facts มาร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีเข้าสู่โลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างสังคมคุณภาพ ปราศจากข่าวเท็จหรือข่าวลวงต่าง ๆ

นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตและพิธีกรรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ ทางช่อง MCOT

ด้าน นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตและพิธีกรรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ ทางช่อง MCOT ซึ่งมาร่วมงานได้ขึ้นเวทีเล่าถึงประสบการณ์การตรวจสอบข้อมูลเท็จที่ถูกส่งต่อจำนวนมากในโลกออนไลน์ว่า จุดเริ่มต้นของรายการชัวร์ก่อนแชร์ มาจากความต้องการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาข่าวไม่จริงที่ถูกแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาจำนวนมากในหลากหลายมิติ ซึ่งบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสื่อบางคนไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เองจากอินเทอร์เน็ต ดังนั้น หากมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวที่ไม่เป็นจริงเก็บเอาไว้ในฐานข้อมูล ก็จะสามารถนำกลับมาใช้อ้างอิงหรือตรวจสอบข่าวในลักษณะเดียวกันที่อาจจะวนกลับมานำเสนอใหม่อีกครั้งได้ นอกจากนี้ การเพิ่มความรู้เท่าทันสื่อก็สามารถแก้ปัญหาการถูกหลอกโดยใช้ข่าวไม่จริง เพื่อผลประโยชน์อะไรบางอย่าง รวมถึงลักษณะการขายสินค้าออนไลน์ โดยการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ซึ่งหากมีเครื่องมือ Media Fun Facts ก็จะสามารถเป็นช่องทางใหม่ให้ประชาชนใช้ตรวจสอบข้อมูลหรือข่าวเท็จได้ง่ายขึ้น

ขณะที่ น.ส.ฐิตาภรณ์ ตั้งทรัพย์ดวงโต นักศึกษาสาขาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันข่าวบนโลกออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ และหลายคนตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อในข้อมูลต่าง ๆ เวลาเสพข่าวเราจึงควรมีวิจารณญาณ และหาต้นตอของข่าวนั้นด้วย บางเรื่องก็สามารถทำได้เอง บางเรื่องก็ยากที่จะหาข้อมูล ซึ่งระบบ Media Fun Facts จะช่วยให้เรากรองข่าวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีระบบการใช้งานง่าย มีการแจ้งผลการติดตาม และที่สำคัญมีการแจ้งร้องเรียนไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการตรวจสอบข้อมูลนั้นด้วย ทำให้เรามั่นใจว่าเรื่องดังกล่าวกำลังได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งหากทุกคนช่วยกันเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตา เชื่อว่าความร่วมมือนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมได้

นายวุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล นักศึกษาคณะไอซีที มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ตนเองอยู่กับสื่อออนไลน์ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนก็ว่าได้ ดังนั้น ก่อนจะเชื่อข่าวนั้นจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลาย ๆ องค์ประกอบ เช่น เป็นข่าวลือหรือไม่ มาจากสำนักข่าวใด หรือมาจากคนที่มีชื่อเสียงในสังคมหรือไม่ เป็นต้น เพราะการแชร์ต่ออาจส่งผลกระทบต่อบุคคลและสังคมในวงกว้าง ส่วนตัวมองว่าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพนั้น จะต้องมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน ไม่ได้กล่าวอ้างลอย ๆ และมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว โดยเครื่องมือ Media Fun Facts ถือเป็นตัวช่วยในการเฝ้าระวังข่าวอีกช่องทางหนึ่ง เพราะหลายคนไม่รู้ว่าจะไปแจ้งร้องเรียนที่หน่วยงานใด เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางในการกระจายตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง ผ่านความร่วมมือจากหลากหลายภาคีทั้งภาครัฐและภาคประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม คนเสพข่าวก็ต้องมีภูมิคุ้มกันตัวเองก่อนด้วย

“MediaFunFacts” คือระบบรับแจ้งเนื้อหาและคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมในโลกออนไลน์ รวมถึงโซเชียลมีเดีย นอกจากนั้น ก็ยังช่วยส่งเสริม “คอนเทนต์น้ำดี” ให้มีพื้นที่เผยแพร่ไปถึงประชาชนมากยิ่งขึ้นผ่านเครื่องมือสำคัญยุคดิจิทัล 3 ชนิด อันได้แก่

1. เว็บไซต์ https://www.mediafunfacts.in.th/ รับแจ้งลิงก์คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมและที่เหมาะสมในโลกออนไลน์ เช่น ข่าวปลอม เว็บปลอม เพจรุนแรง ภาพบิดเบือนตัดต่อ การละเมิดลิขสิทธิ์ ล่วงละเมิดเด็ก อนาจาร การพนันออนไลน์ คลิปลวงในโซเชียล ฯลฯ โดยเมื่อแจ้งแล้วจะมีทีมงานแอดมินคอยรับเรื่องตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามา พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับภาคีเครือข่าย ก่อนนำข้อมูลที่ถูกต้องที่ได้มาเผยแพร่สู่สาธารณะ

2. ระบบเอ็กซ์เทนชั่น mediafunfacts สำหรับติดตั้งบนเบราเซอร์ กูเกิ้ลโครม และ ไฟร์ฟ็อกซ์ ซึ่งใช้งานสะดวกมาก เพียงแค่ติดตั้งเอ็กซ์เทนชั่นเสริมตัวนี้ เมื่อท่านท่องเว็บ เพจเฟซบุ๊ก ไอจี หรือเนื้อหาในไซเบอร์ที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ก็แค่ “คลิก” ไปที่ไอค่อนโลโก้ “MediaFunFacts” ระบบจะทำการ “ดูด” เอาลิงก์เพจ หรือเว็บนั้นๆ เข้ามาสู่ระบบการตรวจสอบกลั่นกรองข้อเท็จจริง เมื่อได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วก็นำข้อมูลมาผลิตเป็นดิจิทัลคอนเทนต์ บทความ ข่าว อินโฟกราฟฟิก วิดีโอคลิป ภาพชุด ฯลฯ

3. เพจเฟซบุ๊กโครงการ ศสป. สื่อสร้างสรรค์ mediafunfacts : https://www.facebook.com/mediafunfacts/ โดยมีความพิเศษตรงการพัฒนาระบบ “แชทบอต” ขึ้นมาเป็นพิเศษ ทำให้ไม่ต้องใช้ทรัพยากรคนจำนวนมาก มานั่งเฝ้าคอยรับแจ้งและตอบกลับด้วยตัวเอง ทั้งนี้ เมื่อแชตบอตได้ข้อมูลรับแจ้งสื่อดี-สื่อร้ายออนไลน์จากประชาชน รวมทั้งภาคีเครือข่ายแล้วก็จะส่งข้อมูลเข้าไปในฐานดาตาเบสและหน้าแดชบอร์ดของเว็บโดยอัตโนมัติ

4. ระบบ Socal Listening : เครื่องมือตรวจสอบกระแสร้อนในโลกไซเบอร์

คุณพัลลภ สามสี ผอ.โซเชียลมีเดีย สำนักข่าว CRI

คุณอาร์ท ไกรวิน ผู้ก่อตั้งเว็บ Ahead Asia ร่วมงานแถลงข่าว

สำหรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว มีบางส่วนดังต่อไปนี้

– คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

– คุณเอกชัย เอื้อธารพิสิฐ หัวหน้างานวิทยุ ไทยพีบีเอส

– คุณอาภาพร วินิจกุลชัย จากมูลนิธิเอเชีย

– คุณณัชวลัย สุวรรณทัต และทีมงานมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

– พล.ท.เจิดวุธ คราประยูร รองผู้บังคับบัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

– คุณศิรธันย์ กิตติ์ธนานิธิกุล จากศูนย์ประสานงานการเสวนาเพื่อมนุษยธรรม

– คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้สื่อข่าว MCOT และพิธีกรรายการชัวร์ก่อนแชร์

– คุณนภาภรณ์ กิตติทวีสิน ผู้สื่อข่าวจากเว็บ Marketing Opps

– คุณพรเทพ เฮง จากโพสต์ทูเดย์

– คุณไกรวิน วัฒนะรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บ Ahead Asia และเมนเทอร์แห่ง Rise Academy

– คุณพัลลภ สามสี ผอ.โซเชียลมีเดีย พร้อมทีมข่าวจากสำนักข่าว CRI สื่อใหญ่ของจีนประจำประเทศไทย

– อาจารย์ฐาปนวิชญ์ ชัยชนะ และนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์

– อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ และนักศึกษาจากคณะไอซีที มหาวิทยาลัยศิลปากร

– คุณวิชดา นฤวรพัฒน์ จากศูนย์คุณธรรม

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ปราง กัญญ์ณรัณ ตอบสัมพันธ์ โอบ นิธิ ล่าสุดอนุญาตใช้คำว่าแฟนได้แล้ว ?!

ปราง กัญญ์ณรัณ ตอบเขินความสัมพันธ์ โอบ นิธิ ล่าสุดล่าสุดอนุญาตใช้คำว่าแฟนได้หรือยัง ?! งานนี้ทำเอาแฟนๆ แห่กรี๊ดกร๊าดกันรัวๆ 

กูเกิล ประเทศไทย แจงผู้บริหารสาวเมากร่างถีบตร. ลาออกไปตั้งแต่ ม.ค.67

ไม่ใช่พนักงาน บ.! กูเกิล ประเทศไทย แจง ผู้บริหารสาว เมาแล้วขับ หัวร้อนถีบหน้า รอง ผกก. ขณะตั้งด่านเป่าแอลกอฮอล์ ลาออกไปตั้งแต่ ม.ค. 67

“อาจารย์กิติคุณ” ชี้ 6 ปีนักษัตร ชีวิตขาขึ้น ส่งท้ายเดือนเมษายน

อาจารย์กิติคุณ พลวัน เผย ดวงเมษายน 2567 : 6 ปีนักษัตร ชีวิตขาขึ้น พร้อมแจกเลขมงคล และวิธีเสริมดวงสุดปัง!

เตรียมโบกมือลา “Kep1er” สิ้นสุดสัญญากับทางต้นสังกัด WAKEONE

เกิร์ลกรุ๊ป Kep1er เตรียมสิ้นสุดสัญญาปรเจกต์ของเซอร์ไววัลชื่อดัง ‘Girls Planet 999’ ช่อง Mnet พร้อมปล่อยเพลงใหม่อำลาแฟน ๆ

ดวงรายเดือน พฤษภาคม 2567 เปิดดวง 12 ราศี – “อ.ไวท์”

อาจารย์ไวท์ เปิดดวง เผย ดวงพฤษภาคม 2567 : 12 ราศี ต้นเดือนนี้มีข่าวดีเรื่องเงิน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กเลย!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า