เตือนไว้ก่อน! ฟิลเตอร์ผี เสียงประตูหลอน ใน Tiktok เล่นบ่อยๆอาจสร้างปมให้เด็กได้ เด็กจะมีความรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผล
TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีจุดเด่นคือ การสร้างและแชร์วิดีโอสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น คลิปเต้นสั้นๆ ลิปซิงค์เพลง สร้างคอนเทนต์ตลก เฮฮา ซึ่งปัจจุบันต้องเรียกว่า Tiktok เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงสุดๆ ด้วยฟังชั่นของแอปพลิเคชันที่ทำให้ผู้ใช้งานนั้น ใช้งานได้ง่ายมีครบทั้งการ ตัดต่อ อัดวิดีโอ และเลือกใส่เพลงที่ชอบ ครบจบให้ที่เดียว
ถึงจะเล่นกันทุกเพศทุกวัย แต่บางฟิลเตอร์นั้นไม่ควรเล่นกับเด็ก เช่น ฟิลเตอร์ผี และเสียงประตูหลอนๆ ที่กำลังนิยมในขณะนี้ ที่ผู้ใหญ่ชอบทำเป็นแกล้งเด็กปิดประตูและวิ่งหนีออกจากห้อง รู้หรือไม่ว่าสิ่งนี้สามารถสร้างความหวานกลัวให้เด็กจนทำให้พัฒนาการบางส่วนช้าได้


เพจ Drama-addict ได้แชร์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการเล่นฟิลเตอร์นี้บ่อยๆ โดยระบุข้อความว่า “บ้านไหนทำงั้นกับเด็กๆ ขอให้ระวัง “การปลูกฝังความกลัวโดยไร้เหตุผล”ซึ่งแลกมาด้วยพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กที่ถดถอยอย่าเห็นแก่การทำคอนเท้นท์ลงโซเชี่ยล โดยเอาเด็กมาเสี่ยงแบบนั้นครับ”
ผลกระทบของการหลอกผีเด็กใน Tiktok
“ในบรรดาความรู้สึกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของเด็กคือความกลัว (FEAR) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในจิตใจ ว้าวุ่น หวาดกลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง และพาลเป็นผลเสียต่อสุขภาพ จึงต้องพยายามเลี้ยงลูกอย่าให้เป็นคนขลาด กลัวอะไรโดยไม่มีเหตุผล”

ดังนั้นการหลอกให้ลูกกลัวอย่างไร้เหตุผล หรือกลัวในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องกลัว จึงเป็นเสมือนการตอกย้ำให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจของลูกย่ำอยู่กับที่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนต้องการให้เป็นเช่นนั้น
- ผลจากการถูกหลอกให้กลัว…อย่างไร้เหตุผล แน่นอนว่า ความกลัวอย่างไร้เหตุผล ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของลูกโดยตรง โดยเฉพาะลูกวัยที่จินตนาการกำลังเบ่งบาน ทำให้เมื่อไรที่เขารู้สึกกลัว ความกลัวนั้นจะฝังแน่นในความรู้สึกมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า และด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ ทำให้การใช้เหตุผลของลูกยังไม่ดีพอ โอกาสที่ดีกรีความกลัวจะพลุ่งพล่านจึงมีมากขึ้น
หากเราหลอกให้ลูกกลัวอย่างไร้เหตุผล ความกลัวนี้จะติดไปจนกระทั่งเขาโต และกลายเป็นผู้ใหญ่ที่กลัวในสิ่งที่ไม่น่าจะกลัว เช่นเดียวกับที่ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“เป็นการสร้างนิสัยให้เด็กขาดการใช้ความคิดไตร่ตรอง ใคร่ครวญหาความจริงด้วยเหตุผล ทำให้เสียบุคลิกภาพ ยิ่งไปกว่านั้น หากลูกมีความกลัวอย่างรุนแรง เมื่อต้องอยู่ในภาวะเช่นนั้นนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ เช่น เด็กที่กลัวความมืด หากให้อยู่ในห้องมืดคนเดียว จะเกิดความเครียด นอนไม่หลับในเวลากลางคืน หัวใจจะเต้นเร็ว ในสมองจะจินตนาการไปต่าง ๆ นานา และสามารถหวีดร้องได้เมื่อใบไม้ใบหนึ่งปลิวมาปะทะหน้าต่าง ทั้ง ๆ ที่ในความมืดนั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้น การช่วยให้เด็กเลิกกลัวอย่างไม่มีเหตุผลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะช่วยพัฒนาการใช้เหตุผลของเด็ก ให้รู้จักคิดใคร่ครวญ พิสูจน์ความจริงก่อนตอบสนอง เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเป็นคนที่มีเหตุผล ไม่กลัวสิ่งใดง่าย ๆ ทั้งเป็นการช่วยทำให้เด็กไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่าย ๆ เพียงเพราะรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล”

ขอบคุณข้อมูล : https://www.babybbb.com/article_detail.php?nid=530
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY