COVID Rebound คืออะไร? เชื้อดื้อยาต้านไวรัส ปรากฎการณ์ที่เกิดกับ “โจ ไบเดน”

COVID Rebound คืออะไร? เชื้อดื้อยาต้านไวรัส เหมือนจะหาย แต่ไม่หาย ปรากฎการณ์ที่เกิดกับ “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า รายงานว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยเริ่มคงตัว คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจะเริ่มลดลงใน 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้นจะช่วยลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 3 – 4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

ขณะนี้เจอปรากฏการณ์ใหม่ คือ การรีบาวนด์ (Rebound) ดื้อยาและทำให้พบเชื้อซ้ำ เช่น กรณีนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รับยาต้านไวรัสแต่กลับมาพบเชื้อใหม่ สมมติฐาน คือ อาจเกิดจากรับยาต้านไวรัสเข้าไป และยาไม่สามารถกำจัดเชื้อในร่างกายคนบางคนให้หมดไป เมื่อหยุดยา เชื้อที่ซ่อนอยู่กลับมาแบ่งตัวขึ้นใหม่ จึงมีผลบวกซ้ำ

โดยทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID Rebound ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Thira Woratanarat ระบุว่า

ทบทวนเรื่อง COVID Rebound

1. ความหมายของ ReboundRebound ในที่นี้แปลว่า “การเป็นกลับซ้ำ หรือปะทุกลับขึ้นมา” ไม่ใช่ “ติดเชื้อซ้ำ (Reinfection)”ดังนั้นต้องไม่สับสน ระหว่าง Rebound กับ ReinfectionRebound หรือการเป็นกลับซ้ำนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งในคนที่ติดเชื้อแล้วกินยาต้านไวรัส หรือไม่ได้กินยาต้านไวรัส

2. ลักษณะของการเป็นกลับซ้ำการเป็นกลับซ้ำ เกิดได้ 2 รูปแบบ จะเกิดพร้อมกันหรือเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ได้แก่

  • 1. ปริมาณไวรัสในร่างกายปะทุสูงขึ้นมา หลังจากที่ติดเชื้อแล้วได้ยาต้านไวรัสจนปริมาณไวรัสลดลง หรือเวลาผ่านไปแล้วดีขึ้นจนไวรัสลดลง จนตรวจได้ผลเป็นลบ แต่กลับมีปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จนตรวจพบผลบวกกลับมาใหม่ เรียกว่า “Viral rebound”
  • 2. อาการกลับเป็นซ้ำ กล่าวคือ ติดเชื้อแล้วมีอาการป่วย ต่อมาได้รับยาจนดีขึ้นหรือหายป่วย หรือเวลาผ่านไปแล้วอาการดีขึ้นหรืออาการหมดไป แต่ผ่านไปไม่กี่วันก็กลับมีอาการกำเริบขึ้นมาใหม่หรือแย่ลง เรียกว่า “Symptom rebound”
  • โอกาสเกิด Rebound นั้นมีประมาณ 5-10% ในคนที่ติดเชื้อแล้วได้รับยาต้านไวรัส ในขณะที่คนที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสนั้น งานวิจัยของทีม Harvard Medical School พบว่ามีโอกาสเกิด Viral rebound 12%, (ราว 1 ใน 8 ) และ Symptom rebound ได้มากถึง 27% (ราว 1 ใน 4)

3. ช่วงเวลาที่พบการเป็นกลับซ้ำโดยเฉลี่ยแล้ว การเป็นกลับซ้ำเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วง 2-8 วัน หลังจากตรวจได้ผลลบ หรือหลังจากอาการทุเลาหรือหมดไป

4. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็นกลับซ้ำจากข้อมูลที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะตรวจแล้วพบว่าผลบวกกลับมาซ้ำ (ขึ้น 2 ขีด) หรือมีอาการกลับซ้ำขึ้นมา ก็มักสะท้อนว่าคนคนนั้นยังมีภาวะติดเชื้ออยู่และมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

ดังนั้นเราจึงเห็นกรณีผู้ป่วยที่เกิด Rebound ในต่างประเทศ ที่ต้องเริ่มแยกตัวใหม่อีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

5. การปฏิบัติตัวกรณีเกิดเป็นกลับซ้ำแม้จะยังไม่มีงงานวิจัยจำเพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ระยะเวลาที่ควรแยกตัวนั้น ควรเป็นไปดังความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ว่า ดีที่สุดคือการแยกตัวจากคนอื่น 2 สัปดาห์ แต่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน การแยกตัวควรทำอย่างน้อย 10 วัน และต้องแน่ใจว่าไม่มีอาการป่วยและตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ

แต่หากแยกตัวเพียง 5 วัน หรือ 7 วัน โอกาสที่ผู้ป่วยจะยังมีเชื้อและแพร่ต่อผู้อื่น อาจมีได้ถึง 50% และ 25% ตามลำดับ จึงไม่แนะนำให้แยกตัวช่วงเวลาสั้นเช่นนี้ เพราะจะมีความเสี่ยงสูงในการแพร่เชื้อในชุมชน

6. ความรุนแรงจากการเป็นกลับซ้ำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่ Rebound มีแนวโน้มที่จะไม่รุนแรงจนต้องทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

7. การรักษาหากพบว่าเกิด Rebound ให้รักษาตามอาการ ประคับประคองจนผ่านพ้นระยะเวลาแยกตัว ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสซ้ำแต่หากมีปัญหาเจ็บป่วยรุนแรง การให้ยาต้านไวรัสและอืนๆ ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษา

…เหล่านี้คือความรู้ที่พยายามสรุปมาให้อ่าน ทำความเข้าใจ จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ สำคัญที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หากไม่ติดเชื้อ ก็ไม่เสี่ยงที่จะป่วยและเสียชีวิต ไม่เสี่ยงต่อการเกิดเป็นกลับซ้ำ และไม่เสี่ยงต่อ Long COVID

“ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ…คือหัวใจสำคัญ”

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

นอล์ รี่ ควงฝ่ายชายแจงปม บุกตบคู่กรณี ยืนยันไม่ได้เป็นมือที่สาม

นอล์ รี่ มิสแกรนด์ ตรัง ควงฝ่ายชาย ไลฟ์ชี้แจงขอความเป็นธรรม หลังเกิดเหตุการณ์บุกตบคู่กรณีกลางงานสงกรานต์ ยืนยันไม่ใช่มือที่ 3

ชาวบ้านผงะ! เดินหาผัก แต่เจอซากทารก ถูกฝังกลบดิน ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว

ชาวบ้านช็อก! เจอซากทารก อายุครรภ์ 5 เดือน ถูกฝั่งในหลุม ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งทั่ว ตร.เร่งหาตามตัวพ่อแม่ คาดเด็กเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

น้องไนซ์ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธจ่อสอบ ลั่น พร้อมคุยทุกข้อเท็จจริง

อาจารย์น้องไนซ์ นิรมิตเทวาจุติ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธ จ่อตรวจสอบ ลั่น วันนั้นจะไม่อยู่บ้าน แต่ขึ้นมา กทม. ให้ติดต่อมาได้เลยพร้อมคุย

ออกหมายจับ! ‘แก๊งยากูซ่า’ ฆ่าหั่นศพ ทางการญี่ปุ่น เผย มีประวัติอาญชากร

แก๊งยากุซ่า ถูกออกหมายจับแล้ว! หลังปิดโกดัง “ฆ่าหั่นศพ” เพื่อนร่วมชาติ นำไปทิ้งน้ำ ก่อนหลบหนี คาดไม่พอใจกันเรื่องส่วนตัว

ส่องความเคลื่อนไหว เบลล่า ราณี หลังมีข่าวลือ เดตหวาน หนุ่มไฮโซ CP

เบลล่า ราณี ออกมาเคลื่อนไหว ในสตอรี่อินสตาแกรมส่วนตัว หลังมีข่าวลือแพร่สะพัด ออกมาเดตหวานกับหนุ่มโฮโซทายาทซีพี
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า