ข่าวดี! ทีมวิจัยจากาตาร์ เผย อีกไม่กี่ปีข้างหน้า โควิด 19 และคนอาจอยู่ด้วยกันได้

อาจมีข่าวดี! ทีมวิจัยจากาตาร์ เผย อีกไม่กี่ปีข้างหน้า โควิด 19 และมนุษย์อาจวิวัฒนาการร่วมกันและเปลี่ยนเชื้อไวรัสเป็นเพียง ไข้หวัดใหญ่

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด 19 ในประเทศไทยในขณะนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ในหลักพันต่อวัน และผู้เสียชีวิตหลักสิบต่อวัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข หารือเตรียมความพร้อมการเดินหน้า “โควิด” สู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย ด้วยแนวคิด Health for Wealth

และวานนี้ 10 ก.ค. 65 เพจ Center for Medical Genomics ได้โพสต์ข่าวดีเกี่ยวกับ โควิด 19 ที่อาจจะพัฒนาเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันกับมนุษย์ได้ โดยระบุข้อความ

ข่าวดี! ทีมวิจัยจากกาตาร์ สรุปมีความเป็นไปได้อย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่ ไวรัสโคโรนา 2019 และมนุษย์จะมีการวิวัฒนาการร่วมกันออกมาในรูปแบบ (pattern) ของการติดเชื้อคล้ายกับไวรัสไข้หวัดธรรมดา (common cold virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus)

Crowd of people wearing mask walking in the new normal
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

การพัฒนาระหว่างมนุษย์และโควิด 19

งานวิจัยล่าสุดจากทีมวิจัยจากประเทศกาตาร์ ศึกษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนกว่า 1 ล้านคน เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาดจากไวรัสอู่ฮั่น ตามมาด้วยการระบาดของสายพันธุ์ อัลฟา เบตา เดลตา มาเป็นลำดับจนมาถึง โอไมครอน BA.1, BA.2, BA.4 และ BA.5 ในปัจจุบัน บ่งชี้ว่า

  • 1) ภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันการติดเชื้อซ้ำที่ได้จากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือจากการฉีดวัคซีน (แอนติบอดี จากบีเซลล์:B-cell ที่เข้าจับและทำลายไวรัสอย่างจำเพาะ) มีคุณสมบัติทางชีวภาพ (Biological property) ที่จะลดประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อซ้ำอย่างรวดเร็วและหมดลงในเวลาไม่กี่ปี ประกอบกับคุณสมบัติของไวรัสเอง (Virological property) ที่เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอ ซึ่งมีกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้แอนติบอดีจำไวรัสที่กลายพันธุ์ไปไม่ได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการจับและทำลาย (neutralization) ไวรัสลดลงเช่นกัน
  • 2) ตรงกันข้าม ภูมิคุ้มกันที่ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต (จากทีเซลล์:T-cell ที่กระตุ้นเซลลืเม็ดเลือดขาวเข้าทำลายบรรดาเซลล์ติดเชื้อไวรัสแบบไม่จำเพาะ) ยังคงมีประสิทธิภาพดีเต็ม 100 ไม่ลดลง ตลอด 14 เดือนที่ทีมวิจัยเก็บข้อมูล ไม่ว่าผู้ติดเชื้อรายนั้นจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์หลักหรือสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปเท่าใดก็ตาม
  • 3) ภูมิคุ้มกันประเภทแอนติบอดีที่ป้องกันการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งได้จากการติดเชื้อจากธรรมชาติจะยืนยาวกว่าภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากการฉีดวัคซีน

ทีมวิจัยยังพบว่าในยุคก่อนการมีการระบาดของโอไมครอนภูมิคุ้มกันจากแอนติบอดี ที่ได้จากการฉีดวัคซีนจะคงอยู่ได้ประมาณ 1 ปี ในขณะที่ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติที่ป้องกันการติดเชื้อซ้ำจะคงอยู่ได้ประมาณ 3 ปี

แต่ในยุคการระบาดของโอไมครอนภูมิคุ้มกันจากแอนติบอดี ที่ได้จากการฉีดวัคซีนจะคงอยู่ได้ <6 เดือน ในขณะที่ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติที่ป้องกันการติดเชื้อซ้ำจะคงอยู่ได้ประมาณ 1 ปี

Medium shot doctor holding glove
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

ทีมวิจัยจากกาตาร์ สรุปว่ามีความเป็นไปได้อย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่ไวรัสโคโรนา 2019 และมนุษย์จะมีการพัฒนาตนเองออกมาในรูปแบบ (pattern) ของการติดเชื้อคล้ายกับไวรัสไข้หวัดธรรมดา (common cold) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza) กล่าวคือ

การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดธรรมดาจากไวรัสโคโรนา และไวรัสไข้หวัดใหญ่จากไวรัส Influenza จะก่อเกิดภูมิคุ้มกันระยะสั้น(จากแอนติบอดี) ป้องกันการติดเชื้อซ้ำอย่างจำเพาะต่อแต่ละสายพันธุ์ได้เพียงประมาณหนึ่งปีหรือตามฤดูกาล แต่จะเกิดภูมิคุ้มกันที่ป้องกันอาการติดเชื้อรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต(จากทีเซลล์) ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อรุนแรงที่ไม่จำเพาะต่อสายพันธุ์ได้ตลอดชีวิต

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ขอบคุณรูปภาพ : Center for Medical Genomics

อนึ่ง เนื่องจากไวรัสโคโรนา 2019 มีความสามารถในการกลายพันธุ์หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ส่งผลให้เกิดการระบาดเป็นระลอก (wave) ต่อเนื่องไป (อาจเป็นการระบาดรายปี) ในอนาคต อย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน (memory T และ B cells) จะช่วยป้องกันมิให้เกิดการติดเชื้อซ้ำที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจะมีผลให้รูปแบบของการติดเชื้อของไวรัสโคโรนา 2019 ลดความรุนแรงลงจน สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ในลักษณะของโรคประจำถิ่นในที่สุด

Duration of immune protection of SARS-CoV-2 natural infection against reinfection in Qatar | medRxivhttps://www.medrxiv.org/…/10.1101/2022.07.06.22277306v1…

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "B 100.0 90.0 Effectiveness of primary infection with 80.0 Original virus 70.0 pre-Omicron variant against reinfection with Omicron 60.0 Alpha-dominated Beta-dominated 50.0 51.9 40.0 Delta-dominated 48.4 30.0 20.0 38.1 10.0 57.1 57.1 0.0 Mar 31.7 2020- 2020 17.0 31, June 2020-Aug Sep 1,2020 Dec 2020-Nov 2020 Month 28, Mar 2020-F 2021 primary infection 2021 2021 31, June 1,2021-Aug Sep 31, 2021 30, 2021 Vaccine immunity against subvariantslasts for <6 months, but pre-Omicron natural immunity assuming Gompertz decay, may last for just over year."
ขอบคุณรูปภาพ : Center for Medical Genomics
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ขอบคุณรูปภาพ : Center for Medical Genomics

ข่าวอื่น ๆ Bright Today

Website : https://www.brighttv.co.th/

Facebook : https://www.facebook.com/BrightTodayOfficial

Line Today : https://today.line.me/th/v2/publisher/101753

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กโจ๊ก” ยันปลดป้ายชื่อไม่ใช่ฝีมือลูกน้อง ลั่นใครทำก็รับกรรมไป!?

“บิ๊กโจ๊ก” ยันลูกน้องไม่ได้ปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงาน ยอมรับคิดเรื่องสมัคร สว.เพราะจะได้ทำงานเพื่อประชาชนระหว่างถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน

อ.น้องไนซ์มาแล้ว! เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี ​29 เม.ย.​นี้

เอาจริง! อ.น้องไนซ์ เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี เอาผิดสื่อมวลชล นำเสนอข่าวเท็จ เป็นการทำให้สังคมแตกแยก 29 เมษายนนี้?

ระทึก! รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว เสียหลักพลิกคว่ำ ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว คณะหนุ่มสาวโรงงานจากอยุธยา เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพุ่งข้ามแบริเออร์พลิกคว่ำทางลงเขา ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

สลด! แท็กซี่เมาขับรถพุ่งชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่

รวบตัวคนแท็กซี่เมาแล้วขับ ชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ บมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 287 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อินฟลูฯ ดัง ฟาดช็อตเด็ด นุ่งบิกินีลายเสือ แซ่บซี๊ดปาก ถูกใจแฟนคลับ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ไม่ทิ้งลายความแซ่บ ออกมาฟาดช็อตเด็ดปาเซตบิกินีลายเสือ ความเผ็ดคูณร้อย เซ็กซี่ถูกใจแฟนคลับ

หนูรัตน์ เอาจริง! เข้าฟิตเนส ปั้นหุ่นแซ่บเซี๊ยะ ตั้งเป้าลดเอวเหลือ 20 นิ้ว

ชาวเน็ตแซว หนูรัตน์ เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย ปั้นหุ่นสวยแซ่บเชี๊ยะ พร้อมตั้งเป้าหมายอยากกลับไปมีเอว 19-20 นิ้ว แฟนๆ ให้เชียร์เต็มที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า