จากไปอย่างสงบ จอน อึ๊งภากรณ์ เสียชีวิต สิ้น อดีต สว.จอน ผู้ก่อตั้ง iLaw และ ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักข่าวประชาไท จากไปในวัย 77 ปี ที่บ้านพัก
ข่าวด่วน กรณี อดีตสว. จอน อึ๊งภากรณ์ เสียชีวิต สืบเนื่องจาก วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเลขาธิการชมรมพิทักษ์ผู้ประกันตน ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ “นายจอน อึ๊งภากรณ์” ผู้ก่อตั้งโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ “iLaw” และ ผู้ร่วมก่อตั้ง “สำนักข่าวประชาไท” โดย นายนิมิตร์ ระบุว่า “หนึ่งชีวิต ตายจาก ทิ้งไว้เพียงเรื่องราวที่ได้ทำร่วมกัน ร่วมคิดงาน ถกเถียงกัน และช่วยกันดันจนงานนั้นสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง เป็นธรรมดา” พร้อมเสริมอีกว่า “แต่สิ่งที่แสนจะวิเศษและทำให้ผมเติบโตและกล้าที่จะผลักดันการงานต่าง ๆ ได้เพราะผม มี อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ เป็นเพื่อนร่วมทางตลอดมา…พวกเราจะช่วยกันจัดงานศพให้นะครับ ด้วยรักและเคารพครับ”

ประวัติก่อน จอน อึ๊งภากรณ์ เสียชีวิต
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) อดีตกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท จอน เป็นบุตรชายคนโตของศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และนางมากาเร็ต สมิธ เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ สหราชอาณาจักร จบการศึกษาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ ที่อังกฤษ แต่กลับมาใช้ชีวิตในเมืองไทย เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเวลา 5 ปี แต่จากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2516–19 ทำให้เขาหันมาสนใจประเด็นปัญหาทางสังคม
ประวัติงานสังคม
-ปี2523 ได้ก่อตั้งโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม (ภายหลังจัดตั้งเป็น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม) เพื่อสร้างบัณฑิตอาสาสมัคร ให้ช่วยเหลือคนยากจนในชนบท และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) จอนยังมีส่วนช่วยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งขึ้นใหม่ ให้มีการบริหารจัดการที่ดี และช่วยเหลือด้านเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ และมีส่วนในการประสานภาคประชาสังคมเข้าด้วยกัน
-ปี2534 จอนได้ก่อตั้ง มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ริเริ่มการให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และครอบครัวของผู้ป่วยเหล่านั้น เพื่อต่อสู้เรื่องปัญหาการรังเกียจและเข้าใจผู้ป่วยเหล่านี้ผิด และพยายามให้ความรู้ในเรื่องสิทธิผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
-ปี2543 “จอน”ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร แม้ว่าในขณะนั้นจอนยังเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปไม่มากนักก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสในการสร้างความเข้าใจกับสังคมและมีโอกาสในการทำงานเพื่อสังคมให้มากขึ้น ทั้งนี้จอนได้เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการหลักประกันทางสังคม ของวุฒิสภาด้วย ครั้นเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2547 ก็ได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนก่อตั้งหนังสือพิมพ์ออนไลน์อิสระ ชื่อ ประชาไท
ข่าวที่น่าสนใจ
- อุ๊ยแรง! กัน ฟาดกลับ นายกเบี้ยว มือที่ 3 ของจริงไม่พูดเยอะ
- สจ.กอล์ฟ มอบตัวยกพวกรุมตร.เลือกตั้ง เจอค้นบ้านหน้าซีด
- “เมย์ วาสนา” เปิดใจครั้งแรก! เหตุส่งพวงหรีดร่วมงานศพ “พ่อดิว อริสรา” – ค้างหนี้ 62 ล้าน
ทั้งนี้ จอน-อึ๊งภากรณ์ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) จากการประกาศเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และเข้ารับรางวัลที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 31 สิงหาคม ปีเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าจอนได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาเดียวกันกับศาสตราจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เป็นบิดา ซึ่งได้รับรางวัลนี้เมื่อ พ.ศ. 2508
ทางทีมข่าว BrightTV ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้ล่วงลับ มา ณ.ที่นี้ด้วย
