เปิดไทม์ไลน์สำคัญ จาก บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ สู่ 6 ตุลา สังหารหมู่ธรรมศาสตร์

ย่ำรุ่ง 6 ตุลา 2519 เกิดอะไรขึ้น? ไบรท์ ทูเดย์ พาย้อนไทม์ไลน์ ร้อยเรียงต้นสายปลายเหตุของเหตุการณ์สังหารอันเลือดเย็นครั้งนี้

เหตุการณ์ 6 ตุลา (พ.ศ. 2519) หรือ สังหารหมู่ธรรมศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ขมขื่นที่ติดตรึงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย กลุ่มฝ่ายขวาลบไม่ได้และกลุ่มฝ่ายซ้ายลืมไม่ลง ในวันนั้นรัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาเข้าปราบการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันร์) อย่างทารุณ โหมกระหน่ำกระสุนปืนจริงเข้าหานักศึกษาและประชาชนไม่ยั้ง มีผู้ชุมนุมถูกทำร้ายร่างกาย ปล้นชิงทรัพย์สิน ล่วงละเมิดทางเพศ เผาทั้งเป็น และทุบตีจนตาย มีผู้ชุมนุมถูกจับกุมมากถึง 3,904 คน

ย้อนดู สังหารหมู่ธรรมศาสตร์ 6 ตุลา ประวัติศาสตร์ที่ จำไม่ได้ลืมไม่ลง

จุดเริ่มต้น “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”

ย้อนกลับไปเมื่อพ.ศ. 2516 ชนวนของเหตุการณ์ทั้งหมดดูเหมือนว่าจะเริ่มมาจาก “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐมเมื่อบ่ายวันที่ 29 เมษายน ที่เผยให้เห็นหลักฐานถึงการใช้งบประมาณราชการในการล่าสัตว์อย่างเปิดเผย แต่ขณะเดียวกัน จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกลับให้สัมภาษณ์ว่า

“คณะบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้นตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันเป็นราชการลับที่เปิดเผยไม่ได้ เนื้อสัตว์ที่อยู่ในเครื่องบินอาจเป็นของที่คนอื่นฝากมาก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปกป้องคนกระทำผิดของรัฐบาล เพราะผู้นำในขบวนนักล่าสัตว์ซึ่งทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 นั้นเป็นบุคคลใกล้ชิดกับรัฐบาล ซึ่งก็คือ พ.ท.สุภัทร สารสิน ลูกชายนายพจน์ สารสิน ที่เป็นนายทหารคนสนิทของพลเอกประภาส จารุเสถียร และหลายคนในคณะก็เป็นทหารตำรวจและพ่อค้าที่สนิทสนมกับคนในรัฐบาล”

ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลออกหนังสือชี้แจงกรณีดังกล่าวและหาผู้กระทำผิด เพื่อยืนยันว่ารัฐบาลทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จากนั้นจึงออกหนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์อันเข้มข้ม เป็นเหตุให้นักศึกษาผู้จัดพิมพ์หนังสือ 9 คนถูกลบชื่ออกจากมหาวิทยาลัย และสร้างความไม่พอใจให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ จนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงเพื่อทวงความเป็นธรรมให้นักศึกษาทั้ง 9 คน รวมถึงกดดันให้รัฐบาลของพลเอกถนอมประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลก็เพิกเฉย จึงเป็นชนวนไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญของประเทศไทยหรือที่รู้จักกันในชื่อ เหตุการณ์ 14 ตุลา “วันมหาวิปโยค”

ต่อเนื่องสู่ เหตุการณ์ 14 ตุลา “วันมหาวิปโยค”

เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น

เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

แต่เหตุการณ์คลี่คลายลงได้เมื่อ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า “3 ทรราช”

เหตุการณ์ 14 ตุลา นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย ผลพวงของเหตุการณ์ครั้งนี้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ร่าง เรียกกันว่า “สภาสนามม้า” นำไปสู่การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518 ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค “ฟ้าทองผ่องอำไพ” ประชาธิปไตยเบ่งบาน มีการชุมนุมของกลุ่มชนชั้นต่างๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก

6 ตุลา สังหารหมู่ธรรมศาสตร์

ผ่านไปเพียง 3 ปี มีข่าวว่าจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี หนึ่งใน “สามทรราช” จะเดินทางกลับจากต่างประเทศในสถานะภิกษุ หลังเดินทางออกจากประเทศไทยไปเนื่องจากการปราบปรามเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา ผนวกกับปัญหาเศรษฐกิจที่ชงักงันของประเทศขณะนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) จัดการชุมนุมหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงาน (Federation of Trade Unions) เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม

4 ตุลาคม ชมรมศิลปการแสดงของธรรมศาสตร์จัดแสดงละครรำลึกถึงเหตุการฆ่าคนดังกล่าวที่ลานโพ แล้วในช่วงบ่ายเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ก่อนย้ายเข้าสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ในช่วงค่ำ

5 ตุลาคม มีการชุมนุมประท้วงในอีกหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น วันเดียวกันมีหนังสือพิมพ์กรุงเทพมหานครสองฉบับ ได้แก่ บางกอกโพสต์ และ ดาวสยาม ลงภาพการแสดงล้อการแขวนคอ สำหรับ ดาวสยาม ลงข่าวว่านักศึกษาที่แสดงเป็นเหยื่อ (วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์และอภินันท์ บัวหภักดี) มีใบหน้าคล้ายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้ประท้วงจึงถูกกล่าวหาว่าแขวนคอรูปจำลองพระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้น สถานีวิทยุยานเกราะของกองทัพบก นำโดย พันโท อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุทธยา กล่าวหาว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และประกาศให้ “ฆ่ามัน” และ “ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์”

6 ตุลาคม 2519 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง นักศึกษารวมตัวกันเดินขบวนและยึดพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประท้วงต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2519 ในวันนั้นมีนักศึกษาอยู่ในรั้วมหาลัยกว่า 4,000 คน

ตำรวจปิดทางเข้าออกมหาวิทยาลัยไว้ทุกด้านตั้งแต่เวลาดึก ระหว่างเวลา 5.30–11.00 น. ตำรวจเปิดฉากใช้อาวุธสงครามหลายชนิดทั้งปืน เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนต่อสู้รถถังและระเบิดมือเข้าปราบปรามผู้ประท้วง พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ อนุญาตให้ยิงเสรี เกิดการยิงปะทะระหว่างสองฝ่ายช่วงสั้น ๆ ก่อนผู้ประท้วงเป็นฝ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว เป็นการใช้กำลังเกิดกว่าเหตุและขาดความชอบธรรม

ในเหตุการณ์ที่นิตยสาร ไทม์ เรียกว่า “ฝันร้ายของการลงประชาทัณฑ์และการเผา” นักศึกษาที่ยอมจำนนแล้วและที่กำลังหลบหนีกระสุนถูกทำร้ายร่างกาย ปล้นชิงทรัพย์สิน ล่วงละเมิดทางเพศ ถูกยิง เผาทั้งเป็น และทุบตีจนตาย ส่วนศพถูกทำลายและเผา ผู้ประท้วง 3,094 คนถูกจับ ส่วนผู้ลงมือคือ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองที่มีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้าคณะ และยึดอำนาจในเวลา 18.00 น. โดยอ้างเหตุนักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีอาวุธหนัก

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ด.ต.ปิยนันท์ อาการยังวิกฤติ! เร่งผ่าตัดรอบ 2 หลังพบเลือดออกในสมองอีก

คนไทยส่งกำลังใจช่วย! หลังอาการ ด.ต.ปิยนันท์ ยังโคม่า แพทย์เร่งส่งตัว ผ่าตัดรอบที่ 2 หลังพบเลือดออกในสมองเพิ่มอีก

สิ้นสุดการรอคอย “ยุกซองแจ BTOB” ยืนยันคัมแบ็คด้วยอัลบั้มเดี่ยวชุดใหม่!

ในที่สุด! “ยุกซองแจ BTOB” ยืนยันสำหรับการคัมแบ็คด้วยอัลบั้มเดี่ยวชุดใหม่! ที่กำลังจะถึงเร็ว ๆ นี้ ทำเอาแฟนคลับตั้งตารอตื่นเต้นสุด ๆ

ตร.แจ้งข้อหาหนัก หลัง “เสี่ยเจษ” รับสารภาพ กากแคดเมียมเป็นของตัวเอง

“เสี่ยเจษ เจแอนด์บี” เข้าให้ปากคำกับตำรวจแล้ว รับสารภาพ ทำสัญญาซื้อกากแคดเมียม เตรียมส่งไปกำจัดที่ประเทศลาว ตำรวจเตรียมแจ้ง 4 ข้อหา

โหรดังเตือน! 4 ลัคนาราศี 18 – 20 เมษยน 2567 ระวังเกิดอุบัติเหตุรุนแรง!

โหรรัตนโกสินทร์ – The rattanakosin เตือน! 4 ลัคนาราศี วันที่ 18 – 20 เมษยน 2567 ระวังเกิดอุบัติเหตุรุนแรง!

ส่องสีหน้า หนุ่ม กรรชัย หลังเข้าซีนคู่ อแมนด้า บอกเลยเก็บทรงแทบไม่อยู่!

หนุ่ม กรรชัย เก็บทรงแทบไม่อยู่! หลังเข้าซีนบทบาทสมมติกับ อแมนด้า ในรายการ 3แซ่บ บอกเลยงานนี้ถูกแซวสนั่น

“คิมแซรอน” ถอนตัวจากละคร ‘Dongchimi’ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ

นักแสดงสาว “คิมแซรอน” ถอดตัวจากละครเวที ‘Dongchimi’ เป็นทีเรียบร้อยแล้ว หลังมีผลตอบรับเชิงลบมากกว่าเชิงบวกมากกว่าหลายเท่า
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า