โรคแปลก! อาการทางจิตเวช “โรคศพเดินได้” คิดว่าตัวเองเคยตาย

เคยได้ยินไหม โรคแปลก! และหาได้ยาก อาการทางจิตเวช “โรคศพเดินได้” คิดว่าตัวเองเคยตาย ความรู้สึกคิดว่าตัวเองเป็นศพ

ใครเคยได้ยินมาก่อนบ้าง! โรคแปลกสุดๆ หาได้ยาก อาการทางจิตเวช “โรคศพเดินได้” คิดว่าตัวเองเคยตาย ความรู้สึกคิดว่าตัวเองเป็นศพ พี่มองเห็นหนูด้วยเหรอ? หนูตายไปแล้วไม่ใช่เหรอ? คำพูดเหล่านี้ฟังดูแล้วอาจจะเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่เรื่องนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง!! อาการเป็นอย่างไรมาดูเลย!!

portrait-brain-eating-zombie-stu

โรคศพเดินได้คืออะไร?

โรคศพเดินได้ (Cotard Delusion หรือ Walking Corpse Syndrome) เป็นสภาวะทางจิตที่หายากสภาวะหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีความเข้าใจว่า ตัวเองได้ตายไปแล้ว หรืออาจจะคิดว่าส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง เช่น แขน ขา หรือแม้กระทั่งวิญญาณของตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือไม่มีอยู่จริง

อาการโรคศพเดินได้

หนึ่งในอาการหลักของโรคศพเดินได้ ก็คืออาการหลงผิด อาการหลงผิดที่เชื่อว่าโลกใบนี้ไม่มีสิ่งใดที่มีค่าหรือมีความหมาย และอาจรวมไปจนถึงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่มีอยู่จริง ผู้ที่เป็นโรคศพเดินได้นั้นจะมีความรู้สึกเหมือนว่าตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือเน่าสลายไปแล้ว หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นเชื่อว่าตัวเองไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ

โรคนี้มีความใกล้เคียงอย่างมากกับโรคซึมเศร้า งานวิจัยได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคศพเดินได้กว่า 89% จะมีอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น

  • วิตกกังวล
  • เกิดภาพหลอน
  • คิดไปเองว่าป่วย
  • รู้สึกผิด
  • หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือความตาย

ใครบ้างจะมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคศพเดินได้

ในปัจจุบันนั้นนักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคศพเดินได้ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้อื่น แม้ว่าโรคศพเดินได้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่พบได้มากที่สุด คือ ประมาณ 50 ปี นอกจากนี้โรคนี้ก็มักจะเกิดกับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอีกด้วย เช่น

  • โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
  • โรคบุคลิกวิปลาส (Depersonalization disorder)
  • โรคหลายบุคลิก หรือโรคหลายอัตลักษณ์ (Dissociative disorder)
  • โรคซึมเศร้าโรคจิต (Psychotic depression)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)

นอกจากนี้ โรคศพเดินได้ยังอาจจะพบได้ในกลุ่มคนที่มีสภาวะทางประสาทบางประเภท เช่น

  • การติดเชื้อในสมอง
  • เนื้องอกในสมอง
  • สมองเสื่อม
  • ลมชัก
  • ไมเกรน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • วิตกกังวล
  • ซึมเศร้า
  • ใช้ยาเสพติด

วิธีการรักษา

แม้ว่าโรคนี้อาจจะเป็นโรคแปลกๆ ที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่ก็สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ แพทย์มักจะเลือกใช้วิธีการรักษาโรคหรือสภาวะที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคศพเดินได้โดยตรง โดยแพทย์อาจจะให้ใช้ยาดังต่อไปนี้

  • ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants)
  • ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotics)
  • ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)

แพทย์มักจะให้ใช้ยาดังกล่าว ร่วมกับการบำบัดทางจิต เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ จิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและสบายใจมากขึ้น รวมถึงสามารถช่วยให้ผู้ป่วยค้นหาวิธีในการคิดและการกระทำที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

แหล่งที่มา hellokhunmor

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ก้าวไกลลั่น หลังบุ้ง ทะลุวังเสียชีวิต ไม่ควรมีใครต้องติดคุก เพราะเห็นต่าง

ย้ำจุดยืน! ก้าวไกลแถลง ไม่มีใครสมควรติดคุก-ไร้สิทธิประกันตัว เพียงเห็นต่างทางการเมือง หลัง บุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิต

คาถาขออโหสิกรรม ช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรค ปัญหาชีวิตได้ดี

ทำอะไรก็ติดขัด ไม่สำเร็จผล ไปไม่สุดทาง แนะนำให้สวด คาถาขออโหสิกรรม ทุกวัน จะช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ดี

คนร่วมงาน ชมสปิริต พิมพ์ กรกนก หลังปมดรามา ยิ้ว วาริ ถูกจับตาปล่อยคลิปหลุด

คนร่วมงานโพสต์ชื่นชมสปิริต พิมพ์ กรกนก ร่ำไห้เข้าแจ้งความคนปล่อยคลิปหลุด แต่ยังทำทำงานอย่างเต็มที่ เป็นมืออาชีพมากๆ

Pick a card “ตัวเราในอนาคตมีอะไรอยากบอกเราในตอนนี้บ้าง..?”

DiSaur Decks – ดิซอเดค เผย Pick a card “ตัวเราในอนาคตมีอะไรอยากบอกเราในตอนนี้บ้าง..?” อธิฐานแล้วเลือก 1 ใบที่ดึงดูดคุณมากที่สุด อ่านคำทำนายได้เลย!

แตะไม่ได้! สำนักพุทธ ไร้อำนาจ ไม่สามรถตรวจสอบ น้องไนซ์เชื่อมจิตได้

สำนักพุทธอ้าง ไม่มีอำนาจตรวจสอบ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลั่น หน่วยงานเอกชนเคยโดนร้องทุกข์ หลังเข้าตรวจสอบ ครอบครัวน้องไนซ์ไม่พอใจหนัก

‘อุ๊งอิ๊ง’ ออกรับแทน ‘ทักษิณ’ หลังพูดคุยกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมา

‘อุ๊งอิ๊ง’ ชี้ ‘ทักษิณ’ ห่วงใยบ้านเมือง อยากช่วยชาติ ใช้สัมพันธ์ส่วนตัว แม้ไม่มีสถานะอะไร หลังพูดคุยกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมา
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า