การลดน้ำหนักด้วยการ ทำ IF เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลมากยิ่งขึ้น แต่ถ้า ทำ IF แล้วไม่เข้าใจระบบทำงานของร่างกายอาจจะส่งผลเสียกับร่างกายได้เนื่องจากร่างกายเกิดสภาวะ “ขาดสารอาหาร ไม่มีพลัง ภูมิต้านทานต่ำลงและสุดท้าย กล้ามเนื้อถูกสลายนั้นเอง” ดังนั้น Bright TV จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเผาผลาญของร่างกายเมื่อเรา ทำ IF เพราะเมื่อเราเข้าใจระบบการทำงานของร่างกายมากเท่าไหร่ เราก็จะดูแลร่ายกายเราได้ดีขึ้นมากเท่านั้น
ก่อนอื่นสิ่งที่เราควรรู้ก่อน ทำ IF คือ เซลล์และร่างกายของเรานั้นดำรงอยู่ได้ด้วยพลังงานจากระบบเผาผลาญ หรือที่เรียกว่า “เมตาบอลิซึม” ช่วยทำให้ร่างกายควบคุมการทำงานส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างปกติ ซึ่งวัตถุประสงค์หนึ่งของเมตาบอลิซึมคือ การเปลี่ยนแปลงอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงาน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปร่างกายจะเกิดการเผาผลาญ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการทำงาน 2 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 (ช่วงที่กินอาหาร) : Anabolic เป็นการซ่อมแซมและผลัดเซลล์ใหม่ในช่วงที่มีการกินอาหาร” (แต่เกิดของเสียสะสม)
ในระบบ Anabolic เมื่ออาหารที่เรากินเข้าไปได้ย่อยสลายเพื่อดูดซึมแล้ว “อินซูลิน” จะนำพลังงานและสารอาหารไปสร้างพลังงานเพื่อเพิ่มจำนวนทดแทนและซ่อมแซมเซลล์และเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ในรูปแบบไกลโคเจนและไขมันสะสม โดยจะมีของเสียระหว่างกระบวนการเกิดขึ้นในรูปของอนุมูลอิสระหรือโปรตีนที่เสียสภาพ เมื่อกินบ่อยกระบวนการ Anabolic ก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา พลังงานที่ถูกเก็บสะสมก็จะมากเกินไป รวมทั้งมีของเสียสะสมมากขึ้น

ช่วงที่ 2 (ช่วงที่อดอาหาร): Catabolic เป็นช่วงที่ร่างกายเก็บของเสียมารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ “ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารจากภายนอก โดยร่างกายจะสร้างน้ำตาลได้เอง”
ในระบบ Catabolic เมื่อเราอดอาหาร อินซูลินลดระดับลง ร่างกายจะดึงไกลโคเจนและไขมันที่สะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ร่างกายอยู่ได้ “ร่างกายจะชะลอหรือหยุดการแบ่งเซลล์” พลังงานและสารอาหารที่สะสมไว้จากช่วง Anabolic จะถูกนำมาใช้งานเพื่อยือชีวิต โดยเก็บซากโปรตีนที่เป็นขยะของเสียจากช่วง Anabolic มารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ กระบวนการนี้เรียกว่า “Autophagy” โดยเซลล์จะใช้พลังงานจากไขมัน ซึ่งสร้างของเสียน้อยกว่ากลูโคส ไปซ่อมแซมระบบการทำงานภายในเซลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและโครงสร้างต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างเซลล์และปรับปรุงโครงสร้างของร่างกายเมื่อเรากินอาหารใหม่อีกครั้ง

สรุปง่ายๆคือ “การกินอาหารในชีวิตประจำวันก็จะไปกระตุ้น Anabolic ถึงจะเป็นการซ่อมแซมและผลัดเซลล์ใหม่ แต่ก็จะเกิดการสะสมของเสียในร่างกายเป็นไขมันสะสมนั้นเอง ส่วนการอดอาหาร (ช่วงที่ไม่ได้กิน) ก็จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ระบบ Catabolic (ช่วงของการเก็บของเสียในร่างกายมารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่) ซึ่งหากเราอดอาหารหรืออยู่ในช่วงของ Catabolic มากเกินไป ก็จะเกิดสภาวะ Starvation หรือสภาวะขาดสารอาหารนั้นเอง”
ดังนั้นใครที่กำลังทำการลดน้ำหนักด้วยวิธีการทำ IF ควรทำความเข้าใจกับกระบวนการเผาผลาญของ “เมตาบอลิซึม” ที่มีระบบทำงาน 2 ช่วงดังกล่าว เพราะการทำ IF จะมีช่วงที่อดอาหารและช่วงที่กินอาหาร ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงระบบของร่างกายเมื่อทำ IF แล้ว เราจะได้บาลานซ์ชีวิตและตารางโภชนาการในช่วงที่เราทำ IF ได้อย่างถูกต้อง
วิธีการทำ IF (เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น) 8/16 คือ การกินอาหารในช่วงเวลา 8 ชั่วโมง และอดอาหารในช่วงเวลา 16 ชั่วโมง

อาหารที่เหมาะสำหรับการทำ IF คือ
- อาหารประเภทโปรตีน เช่น โปรตีนพืชจำพวก ถั่ว และเมล็ดพืช ซึ่งอาหารประเภทนี้มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญ และอิ่มท้องได้นานสิ่งสำคัญคือ โปรตีนพืช ไม่สะสมไขมัน ไม่มีคอเลสเตอรอล ไม่ก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมานั้นเอง อีกทั้งการกินโปรตีนช่วงที่ทำ IF โปรตีนจะเข้าไปช่วยพยุงกล้ามเนื้อและซ่อมแซมกล้ามเนื้อไม่ให้เหี่ยวหรือกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพนั้นเอง
- อาหารที่มี OPTI BIOME เพราะร่างกายจะได้รับโพรไบโอติกส์จากการทานนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ซึ่งสารอาหารชนิดนี้มีส่วนช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียภายในลำไส้ จึงช่วยให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีอีกด้วย
- รับประทานไฟเบอร์ หรือเลือกผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา และผักใบเขียวหลากชนิดเพราะจะช่วยให้ร่างกายได้ขับถ่ายคล่องระช่วยเสริมสร้างให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขณะทำ IF ไม่ท้องอืดนั้นเอง
- น้ำเปล่า คือสิ่งสำคัญที่จะปรับสมดุลในร่างกายเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในระบบของร่างกายและยังหล่อเลี้ยงระบบเผาผลาญรวมถึงระบบการทำงานของสมองอีกด้วย

สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม
- Line: @benefitprotein (มี@)
- LineMyShop
- IG: Benefitprotein
- Facebook: Benefit Protein