อย่าคิดว่าไม่มีอยู่จริง พาทุกคนส่องปัจจัยเสี่ยง อาจจะเป็นเหตุให้ “ใหลตาย” หลับแบบไม่มีวันตื่น สาเหตุใกล้ตัวกว่าที่คิด ไม่ใช่คำแซวเล่นของคนชอบนอน
ทุกคนเคยได้ยินว่าคำ “ใหลตาย” หรือไม่??? เชื่อว่าบางคนอาจจะเคยโดนแซว หรือแซวเพื่อนที่นอนเยอะ นอนมาก นอนข้ามวันข้ามคืนว่าพฤติกรรมการนอนแบบนี้เหมือนไหลตาย” แต่เอาจริงๆแล้ว ภาวะไหลตาย มีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงคำแซวเล่นๆอีกต่อไป ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว เอาหากหาข้อมูลจริงๆแล้วนั้น สาเหตุที่เป็นปัจจับกระตุ้นของภาวะนี้ไม่ได้ไกลจากตัวเราเลย อีกทั้งเราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่หากเกิดขึ้นแล้ว เราอาจไม่มีทางกลับมารักษาได้ อาจจะเป็นการหลับแบบไม่มีวันตื่น
ดังนั้นวันนี้ BRIGHT TODAT จะมาทุกคนทำความรู้จักกับ ภาวะใหลตาย และปัจจับเสี่ยงที่สามารถกระตุ้นการเกิดภาวะนี้ได้ เพื่อให้ทุกคนหันมาดูแล เอาสังเกตอาการและลักษณะของตัวเองมากยิ่งขั้น กันไว้ดีกว่าแก้ หากแก้ไม่ได้จะเป็นเรื่องใหญ่

- การเสียชีวิตจากโรคที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเป็น “โรคใหลตาย” หรือ sudden unexpected death syndrome ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนเลย
หากให้อธิบายง่ายๆได้ว่า โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น ซึ่งต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้นพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์ คนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาหารการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคใหลตาย
สาเหตุสำคัญ
- ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด
- การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
- การขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด
- ใช้ยานอนหลับ
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เป็นไขสูง
การรักษา – การใช้ยาและการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคใหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคใหลตายในวันปกติจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น แต่ในวันร้ายคืนร้าย กล่าวคือ ในวันพักผ่อนน้อย ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด รวมถึงยาบางอย่างหรือในวันที่ไม่สบาย อาจทำให้อาการใหลตายเกิดขึ้นและเสียชีวิตกระทันหันในวันเหล่านั้น
ขอบคุณข้อมูล – www.rama.mahidol.ac.th