รู้หรือไม่! ใช้ ยานอนหลับ บ่อย ใช้ผิดวิธีความเสี่ยงถึงขั้น สมองเสื่อม

รู้หรือไม่! คนที่ใช้ ยานอนหลับ บ่อย ใช้ผิดวิธีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้น สมองเสื่อม ความจำเสื่อม พร้อมผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีกมาก

ยานอนหลับ (Sleeping pills) คือ ยาที่ช่วยออกฤทธิ์ในการนอนหลับ บรรเทาความเครียด วิตก กังวล ทั้งนี้หากหาซื้อมาใช้เอง โดยปราศจากความดูแลของแพทย์นั้น จะส่งผลต่อสมองเสื่อมเร็วลงและระบบประสาทเสียหายได้ ถ้ารับประทานติดต่อกันหรือในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะยาชนิดนี้มีหลากหลายแบบ โครงสร้างทางเคมีและผลทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อมันไปกดประสาทส่วนกลางอาจทำให้การควบคุมในทางเดินหายใจรับผลกระทบด้วย

close-up-sick-woman-laying-bed 2-min-1

ยานอนหลับมีอะไรบ้าง

  • Benzodiazepines ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท GABA กระตุ้นให้สมองรู้สึกง่วงนอน ออกฤทธิ์แรง คลายกล้ามเนื้อ ใช้รักษาโรคลมชัก ได้แก่
    • Alprazolam
    • Clonazepam
    • Lorazepam
    • Diazepam
  • Nonbenzodiazepines ดูดซึมได้ดี ออกฤทธิ์เร็วหลังรับประทานประมาณ 30 นาที นาน 8 ชั่วโมง เป็นกลุ่มยาที่แพทย์มักจ่ายยาให้ผู้ป่วย เช่น
    • Zolpidem
    • Ambien
    • Zopiclone
  • Melatonin เป็นสารธรรมชาติที่ทำให้ง่วงนอน หลั่งตอนที่มีแสงสว่างน้อย สังเคราะห์ขึ้นมา เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นกะ นอนไม่เป็นเวลา
  • Antidepressant เป็นกลุ่มยาต้านเศร้า ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทส่วนกลาง มีทั้งรูปแบบชนิดเม็ด น้ำ สามารถรักษาไมเกรน ซึมเศร้าและลำไส้อักเสบได้ แต่เด็ก วัยรุ่น แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับ

เมื่อใช้ไปในปริมาณหนึ่ง ผ่านไปช่วงระยะเวลาสักพัก จะรู้สึกว่าประสิทธิภาพของยานอนหลับลดน้อยลงหรือเรียกว่าดื้อยา ต้องเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ เป็นประจำก่อนนอนทุกวันจนเสพติดขึ้น อาจได้รับพิษดังนี้

ระยะสั้น

  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสียหรือมีปัญหาด้านการขับถ่าย
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปากแห้ง
  • คิดอะไรไม่ค่อยออกหรือตัดสินใจเรื่องที่ง่ายอย่างอยากลำบาก

ระยะยาว

ความเสี่ยงต่อโรคหรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • อัลไซเมอร์
  • ซึมเศร้า
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • หยุดหายใจขณะหลับ
  • อุบัติเหตุทางจราจรหรือในขณะทำงาน

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงใช้ยานอนหลับ

  1. ผู้ป่วยโรคตับและไต
  2. วัยชราที่สูงอายุ
  3. สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  4. ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะหลับ
  5. พฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ใช้ยานอนหลับอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและการสูบบุหรี่
  2. ผ่อนคลายความเครียด
  3. ออกกำลังกาย
  4. กำหนดเวลาตื่นนอนให้เป็นเวลา
  5. จัดห้องนอน เตียง บรรยากาศให้เงียบ สงบ ไม่มีแสงไฟสว่างเกินไป
  6. ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานอนหลับ

ทั้งนี้ในการเลิกยานอนหลับสำหรับผู้ที่เสพติดเข้าไปแล้ว ควรค่อยปรับพฤติกรรมการนอนในหัวข้อข้างต้น เพราะอาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งหากมีอารมณ์แปรปรวน ลืมบ่อย นี่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางสมองได้ ดังนั้นควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

แหล่งที่มา petcharavejhospital

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กโจ๊ก” ยันปลดป้ายชื่อไม่ใช่ฝีมือลูกน้อง ลั่นใครทำก็รับกรรมไป!?

“บิ๊กโจ๊ก” ยันลูกน้องไม่ได้ปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงาน ยอมรับคิดเรื่องสมัคร สว.เพราะจะได้ทำงานเพื่อประชาชนระหว่างถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน

อ.น้องไนซ์มาแล้ว! เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี ​29 เม.ย.​นี้

เอาจริง! อ.น้องไนซ์ เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อนายกรัฐมนตรี เอาผิดสื่อมวลชล นำเสนอข่าวเท็จ เป็นการทำให้สังคมแตกแยก 29 เมษายนนี้?

ระทึก! รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว เสียหลักพลิกคว่ำ ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

รถทัวร์ 2 ชั้นนำเที่ยว คณะหนุ่มสาวโรงงานจากอยุธยา เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพุ่งข้ามแบริเออร์พลิกคว่ำทางลงเขา ทำผู้โดยสารดับ 1 เจ็บ 28 ราย

สลด! แท็กซี่เมาขับรถพุ่งชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่

รวบตัวคนแท็กซี่เมาแล้วขับ ชน รตต.รอง สว.จร.บางเขน เสียชีวิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ บมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 287 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อินฟลูฯ ดัง ฟาดช็อตเด็ด นุ่งบิกินีลายเสือ แซ่บซี๊ดปาก ถูกใจแฟนคลับ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ไม่ทิ้งลายความแซ่บ ออกมาฟาดช็อตเด็ดปาเซตบิกินีลายเสือ ความเผ็ดคูณร้อย เซ็กซี่ถูกใจแฟนคลับ

หนูรัตน์ เอาจริง! เข้าฟิตเนส ปั้นหุ่นแซ่บเซี๊ยะ ตั้งเป้าลดเอวเหลือ 20 นิ้ว

ชาวเน็ตแซว หนูรัตน์ เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย ปั้นหุ่นสวยแซ่บเชี๊ยะ พร้อมตั้งเป้าหมายอยากกลับไปมีเอว 19-20 นิ้ว แฟนๆ ให้เชียร์เต็มที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า