เรือดำน้ำ พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ โพสต์ภาพและข้อความลงในเพจ กองทัพเรือ หัวข้อ “มีเรือดำน้ำไปทำไม….ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์” อ้างอิงจากบทความวิชาการ โดย พลเรือเอก ภาณุ บุณยะวิโรจ อดีตผู้บัญชาการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ โดยระบุว่า จากการที่ผมได้เคยศึกษาด้านความมั่นคงและการทหารระดับยุทธศาสตร์ จากสถาบันทั้งต่างประเทศและในประเทศมา ติดตามสถานการณ์โลกและภูมิภาค กับสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสถาบันการศึกษาระดับสูงของกองทัพมาอย่างต่อเนื่อง จึงอยากแชร์มุมมองเกี่ยวกับความมั่นคงทางทะเล เพื่อการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับทะเล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชน การกินดีอยู่ดีของคนในชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งนี้ขอนำเสนอตามข้อเท็จจริง ปราศจากการเมือง และการติดยึดกับทหาร โดยในภาคแรกนี้จะนำไปสู่การได้คำตอบว่า “มีเรือดำน้ำไปทำไม”

อันดับแรกจำเป็นต้องทำความเข้าใจด้านภูมิรัฐศาสตร์ก่อนว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ อ่าวไทยเป็นอ่าวปิดลึกเข้ามาในคาบสมุทร ในอดีตก็เคยถูกปิดอ่าวมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนารายณ์​มหาราช ที่ฮอร์ลันดาเอาเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามาปิดทางออกสู่ทะเลของไทย คงจำเรื่อง “บุพเพสันนิวาศ” ได้นะครับ ครั้งที่ 2 ก็เหตุการณ์ ร.ศ.112 สมัยรัชการที่ 5 ที่ฝรั่งเศสมาปิดปากอ่าวไทย จนเราต้องเสียดินแดนไปเกือบเท่ากับขนาดประเทศไทยในปัจจุบัน และครั้งที่ 3 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เรือดำน้ำสหรัฐฯมาจมเรือขนส่งน้ำมันชื่อร.ล.สมุยบริเวณปากอ่าวไทย ทหารเรือสละชีพไป 36 นาย มีผลทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันจากทางทะเลเข้าสู่ประเทศได้ 

กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแทบจะหยุดชะงัก ประชาชนก็เดือดร้อนกันทั่ว ทั้ง 3 เหตุการณ์ข้างต้นน่าจะทำให้ทุกท่านตระหนักแล้วนะครับว่า จุดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ของเรา ผู้รุกรานสามารถใช้ประโยชน์สร้างความเสียหายให้กับประเทศได้มากมายมหาศาลอย่างไร

แล้วเรามีทางแก้ไขไหม…เรื่องนี้คงต้องดูว่าต่างประเทศเขาทำกันอย่างไร ผมขอเปรียบเทียบกับประเทศเยอรมันจะทำให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ประเทศเยอรมันก็เหมือนกับประเทศไทยกลับหัว มีทะเล 2 ฝั่งแต่ถูกคั่นด้วยประเทศที่ 3 ท่าเรือหลักคือ Hamburg และWilhelmhaven อยู่ในทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ซึ่งเส้นทางการเดินเรือจะต้องผ่านหลายประเทศ แม้จะมีคลองคีล แต่ในยามสงครามก็ถูกปิดกั้นโดยง่ายจากทุ่นระเบิดวางโดยข้าศึก จึงจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปรามต่อประเทศที่จะมาคุกคามเส้นทางเดินเรือ และขนส่งพลังงานเข้าสู่ประเทศ ด้วยการคงประจำการเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดชั้น 212A จำนวน 6 ลำ แม้จะยกเลิก Warsaw Pack ไม่มีภัยคุกคามที่เด่นชัดแล้วก็ตาม 

และที่น่าสังเกตุคือ ทะเลบอลติกและทะเลเหนือมีความลึกน้ำเฉลี่ยใกล้เคียงกับอ่าวไทย แต่กองทัพเรือเยอรมันกลับสร้างเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สาเหตุหนึ่งคือเรือดำน้ำเป็นอาวุธทางรุก ยากต่อการตรวจพบ และให้ปฏิบัติการได้นานขึ้น สามารถเล็ดรอดเข้าไปทำลายกำลังหลักของฝ่ายตรงข้ามได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่อาณาเขตทางทะเลของตน พื้นที่ปฏิบัติการหลักจึงอยู่ภายนอก ซึ่งจะยิ่งสร้างอำนาจการป้องปรามให้สูงยิ่งขึ้น

ดังคำกล่าวที่ว่า “ Nowhere to be seen but present everywhere” แปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า “มองไม่เห็นตัว แต่สร้างความสะพรึงกลัวไปทั่ว” ด้วยเหตุนี้ความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำ อาจไม่ได้มาจากภัยคุกคามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปราม เพื่อลดข้อเสียเปรียบด้านภูมิศาสตร์ ทำให้ผู้รุกรานที่อาศัยเงื่อนไขความขัดแย้งที่มีอยู่ ต้องยับยั้งชั่งใจว่าอาจถูกกระทำก่อน หรือถูกโจมตีตลบหลังจากภายนอก ทำให้ผลที่ได้รับไม่คุ้มกับความสูญเสีย จึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะรุกรานในที่สุด

การที่จะตอบว่า “มีเรือดำน้ำไปทำไม” นอกจากการอุดช่องโหว่ด้านข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์แล้ว ดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องอีกมากที่จะแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่า เช่น ประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านภูมิรัฐศาสตร์ การรับประกันเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจทางทะเล และการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนกับระบบเศรษฐกิจทางทะเลของไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องตอบคำถามต่อสาธารณชนอีกจำนวนมาก อาทิ อะไรคือความเสี่ยงที่ต้องจัดหาเรือดำน้ำในสภาวะการณ์เช่นนี้ ทำไมไม่ลงทุนกับการปราบเรือดำน้ำจะดีกว่าหรือไม่ ความคิดจัดหาเรือดำน้ำถือว่าล้าสมัยหรือไม่เพราะในอนาคตจะมีโดรนใต้น้ำล่าทำลายเรือดำน้ำแล้ว อ่าวไทยตื้น เรือประมงและอุปกรณ์ก็เยอะไม่เป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการของเรือดำน้ำหรือ และเมื่อซื้อมาแล้วมีความสามารถจะดูแลรักษาให้พร้อมใช้ตลอดอายุการใช้งานหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น

ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ผมเห็นว่าจำเป็นต้องมีคำตอบให้ประชาชนผู้เสียภาษีอากรได้ทราบถึงความจำเป็น ความคุ้มค่าและความทันใช้งานเพื่อประกันความเสี่ยงอย่างครบถ้วน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

สิ่งที่ต้องรู้! หากนำ ‘แรงงานต่างด้าว’ เข้ามาทำงานในประเทศ

สิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนนำ แรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องหายังไง และต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จึงจะถูกกฎหมาย

ไม่ยอม! Source Music ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดในนาม LE SSERAFIM

ต้นสังกัด Source Music เตรียมดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดในนามของเกิร์ลกรุ๊ป LE SSERAFIM ที่ถูกข้อความเท็จโจมตีจาก “มินฮีจิน”

“ขนมจีน” ซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ที่จะส่งความเห็นใจให้ มือที่สาม

“ขนมจีน” ส่งซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ได้ “เติร์ด Tilly Birds” และ “bnz” โปรดิวซ์ส่งความเห็นใจ ‘มือที่สาม’ พร้อมได้ “มิว ศุภศิษฐ์” ร่วมแสดง MV

ทุ่มสุดตัว! “เจฟ ซาเตอร์” จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติให้แฟนๆ เซอร์ไพร์สครั้งใหญ่

“เจฟ ซาเตอร์” ทุ่มสุดตัว!! จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติ ขนเซอร์ไพร์ส!! โชว์จัดหนักเพื่อแฟนเพลงในคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้

“RIIZE” เตรียมปล่อยเพลง มินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้แฟนๆ ได้ฟังก่อนใคร!

RIIZE เตรียมปล่อยเพลงในมินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้ได้ฟังกันก่อนใครในวันที่ 29 เมษยน 2024 นี้ พร้อมสไตล์ที่อันโดดเด่น

ศาลตัดสิน! แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” ไม่ได้รับมรดกสักแดงเดียว

แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” แพ้คดีความเรื่องมรดก และศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้สมาชิกในครอบครัวที่ดูแลเธอได้รับมรดกแทน
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า