วิโรจน์ ชี้ AOT – King Power นายทุนใหญ่ต้องมาก่อน ประชาชนรออาจจะตายก่อน

นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล แสดงความคิดเห็น กรณี AOT – King Power นายทุนใหญ่ต้องมาก่อน ประชาชนรอไปก่อน(และอาจจะตายก่อน) โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) ได้ปรับตัวลดลงลึกกว่าตลาด

นายกฯเป็นห่วง เยาวชนชุมนุม ย้ำพร้อมรับฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่ เดือนนี้

โดยราคาหุ้น AOT ปรับตัวลง 4.13% จาก 54.50 บาท มาอยู่ที่ 52.50 บาท และในวันที่ 31 กรกฎาคมยังลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 51.50 บาท หรือปรับตัวลดลงจากราคาปิดในวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 5.50% ในขณะที่ SET Index ปิดที่ระดับ 1,315.74 จุด ลดลง 22.61 จุด (จาก 1,338.35 จุด) หรือลดลง 1.69% ในวันที่ 31 กรกฎาคม ปิดที่ระดับ 1,328.53 จุด ลดลงจากราคาปิดในวันที่ 29 กรกฎาคม เพียง 9.82 จุด หรือลดลงจากราคาปิดในวันที่ 29 กรกฎาคม เพียง 0.73% เท่านั้น

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นของ AOT ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง โดยที่ บล.กสิกรไทย ได้ปรับลดราคาเป้าหมายให้เหลือเพียง 45.50 บาท เท่านั้น นั่นเกิดจากการที่ AOT ปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนการันตีขั้นต่ำในปี 2565 (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 จนกว่าจำนวนผู้โดยสารจริงจะมากกว่าหรือเท่ากับที่นายทุนสนามบินประมาณการเอาไว้ในปี 2564) ให้กับนายทุนสนามบิน โดยให้เอาเงื่อนไขการจ่ายขั้นต่ำในปี 2564 มาคิด และปรับลดลงโดยเทียบบัญญัติไตรยางศ์กับจำนวนผู้โดยสารจริง โดยไม่มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น โดยอ้างเหตุผลว่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่เสนอประมูลมาก่อนหน้านี้ คำนวณจากประมาณการจำนวนผู้โดยสารก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ในปีถัดๆ ไป ก็ยังจะเอาผลประโยชน์ตอบแทนการันตีขั้นต่ำในปี 2565 ที่เอื้อให้กับนายทุนสนามบิน มาใช้เป็นฐานในคำนวณต่ออีก ซึ่งมีการประเมินกันว่า การช่วยเหลือนายทุนสนามบินในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ AOT สูงถึง 133,800 ล้านบาท เลยทีเดียว

นอกจากนี้ AOT ยังได้ขยายเวลาช่วยเหลือผู้ประกอบการในสนามบิน โดยการเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนในการประกอบกิจการ สำหรับงวดกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2563 และเลื่อนค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวก สำหรับงวดเมษายนถึงกรกฎาคม 2563 ในกับผู้ประกอบการและสายการบิน ณ ท่าอากาศยานภายใต้ความรับผิดชอบของ AOT ทั้ง 6 แห่ง อีกด้วย

คำถามที่เกิดขึ้นในใจประชาชนทันทีก็คือ ถ้า AOT จะเข้าไปแบกรับความเสี่ยงทั้งหมดให้กับนายทุนสนามบิน แล้วจะมีการประมูลในปี 2562 ไปทำไม เพราะเมื่อประมูลไปแล้ว นายทุนสนามบินกลับไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงใดๆ เลย โดย AOT ออกหน้าแบกรับความเสี่ยงไว้เองอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งการกระทำการในลักษณะนี้ อาจเข้าข่ายการกระทำผิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Corporate Governance) และไม่เป็นธรรมกับผู้ที่เข้าร่วมการประมูลรายอื่นๆ เลย (บล.กสิกรไทย ได้ปรับลดคะแนนธรรมาภิบาลของ AOT ลง 20% เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อกรณีนี้ด้วย)

ถ้า AOT เป็นบริษัท ที่มีเจ้าของเป็นเอกชนเพียงรายเดียว การจะไปช่วยเหลือนายทุนรายใด ก็คงจะไม่มีใครว่า แต่นี่ AOT อยู่ในสถานะรัฐวิสาหกิจ ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงถึง 70% ดังนั้น สิ่งที่รัฐ(ซึ่งก็คือประชาชน) ต้องได้รับเคราะห์กรรม จากการที่ AOT ไปช่วยเหลือนายทุนสนามบินในครั้งนี้ มีอยู่มากมายมหาศาล ซึ่งสามารประเมินได้จากหลากหลายมิติ อาทิ

1) รับรู้ความเสียหายจากรายได้ที่ลดลง = 70% x 133,800 = 93,660 ล้านบาท หากนำเอาอัตรากำไรสุทธิในปี 2562 ที่อยู่ที่ 38.51% ก็เท่ากับว่าการช่วยเหลือนายทุนสนามบินในครั้งนี้ของ AOT กระทบต่อกำไรในสัดส่วนที่รัฐ และประชาชน ต้องร่วมรับเคราะห์ไปด้วยถึง 36,068 ล้านบาท เลยทีเดียว

2) หากราคาหุ้นของ AOT ปรับลดลงจาก 54.50 บาท มาอยู่ที่ 45.50 บาท ตาม บล.กสิกร คาดการณ์เอาไว้ ก็เท่ากับว่า กระทรวงการคลังที่ถือหุ้นเอาไว้มากถึง 10,000 ล้านหุ้น จะได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 90,000 ล้านบาท โดยวันที่ 30 กรกฎาคมเพียงวันเดียว ที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมา 4.13% นั้นสร้างความเสียหายแก่กระทรวงการคลัง เป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 20,000 ล้านบาท เลยทีเดียว

นอกจากกระทรวงการคลังแล้ว ยังมีสำนักงานประกันสังคมที่ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 1.15% ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยอาจได้รับผลกระทบเป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 1,480.89 ล้านบาท เลยทีเดียว (ในวันที่ 30 กรกฎาคมเพียงวันเดียวได้รับผลกระทบ = 329.09 ล้านบาท) ซึ่งทำให้ผู้ประกันตน ต้องร่วมรับเคราะห์กรรมในครั้งนี้ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่มีอยู่กว่า 70,000 ราย ที่ต้องร่วมรับเคราะห์กับการตัดสินใจของบอร์ดบริหาร AOT โดยไม่มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ซึ่งหากผู้ถือหุ้นรายย่อยเหล่านั้น จะรวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก AOT ก็ถือว่ามีความชอบธรรมที่จะกระทำได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สะท้อนว่า การตัดสินใจช่วยเหลือนายทุนสนามบินของบอร์ด AOT ในครั้งนี้ ส่งผลประทต่อต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนอย่างใหญ่หลวง และสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมเป็นอย่างมาก

ที่สำคัญการตัดสินใจช่วยเหลือนายทุนสนามบินที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ของ AOT นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งเดียว ถ้านับจริงๆ นี่ต้องถือว่าเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้านี้ AOT มีการช่วยเหลือนายทุนสนามบินมาแล้ว 2 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 : เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ก่อนการระบาดใหญ่ที่สนามมวยลุมพินี (6 มีนาคม 2563) ก่อนการยกเลิก VISA on Arrival (11 มีนาคม 2563) ก่อนการปิดสถานบันเทิง (18 มีนาคม 2563) ก่อนการปิดห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ (22 มีนาคม 2563) ก่อนการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (26 มีนาคม 2563) ที่สำคัญคือ ก่อนประกาศมาตรการเยียวยาระยะที่ 1 (10 มีนาคม 2563) และก่อนประกาศมาตรการเยียวยาระยะที่ 2 “เราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท 3 เดือน” (24 มีนาคม 2563)

โดยในครั้งนั้นมีรายละเอียดการปรับลดค่าเช่า โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

  • ค่าเช่าแบบคงที่ ปรับลดให้ 20% มีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 31 มีนาคม 2564
  • ค่าเช่าแบบเปอร์เซ็นต์ ให้งดเงื่อนไขการันตีขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 31 มีนาคม 2565
  • เลื่อนจ่ายค่าเช่าให้ 6 เดือน

มีการประเมินกันว่า จะทำให้กำไรของ AOT ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ลดลงถึง 22,536 ล้านบาท ทำให้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ราคาหุ้นของ AOT ปรับลดลงจาก 67.75 บาท มาอยู่ที่ 64.50 บาท โดยกระทรวงการคลัง ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 32,500 บาท ภายในวันเดียว

ครั้งที่ 2 : เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ก่อนการอนุมัติการช่วยเหลือเกษตรกร (28 เมษายน 2563) โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

  • ปรับลดค่าเช่าพื้นทีให้แก่ผู้เช่าทุกราย 50% มีกำหนดระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่วันที่
    1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2563
  • โปรโมชั่นที่หนักที่สุด ก็คือการให้นำอัตราค่าผลประโยชน์ตอบแทนคงที่ และ/หรืออัตราค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำของปีก่อนหน้ามีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการฯ คือให้เอาเงื่อนไขเดิมในปี 2562 มาใช้แทน อัตราที่มีการประมูลไปนั่นเอง (คือเท่ากับว่าประมูลไปไม่มีความหมาย ในปี 2563 ให้จ่ายด้วยเงื่อนไขเดิม)

การช่วยเหลือในครั้งที่ 2 นี้ ก็ถือว่าช่วยเหลือมากแล้ว แต่ไม่นึกไม่ฝันว่า การเข้าไปช่วยนายทุนสนามบินครั้งที่ 3 ของ AOT จะถึงขั้นให้ใช้เงื่อนไขเดิมก่อนประมูล ในปี 2564 ด้วย หนำซ้ำยังมีผลสืบเนื่องไปยังการคำนวณในปีถัดๆ ไปอีกด้วย โดยอิงกับจำนวนผู้โดยสารจริง ซึ่งเท่ากับว่านายทุนสนามบิน ไม่ต้องรับกับความเสี่ยงอะไรเลย การประมูลที่เกิดขึ้นไปเมื่อปี 2562 ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้รัฐ และประชาชน สูญเสียผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงมาก

สิ่งที่ประชาชนตั้งคำถาม ก็คือทำไมการช่วยนายทุน กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ถึงร้อยละ 70 ถึงได้ช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ปานสายฟ้าฟาด ราวกับว่าพยายามที่จะปกป้องผลประโยชน์ของนายทุนสนามบิน ให้ไม่ต้องรับกับความเสี่ยงอะไรเลย โดยไม่สนใจเลยว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน จะต้องสูญเสียไปมากมายมหาศาลเท่าใด

แต่ตัดภาพกลับมาที่ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการ SMEs นี่ไม่ได้มีน้อยๆ นะครับ จากข้อมูลปี 2561 ระบุว่า ประเทศไทยมี SMEs อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 3.1 ล้านราย และมีการจ้างงานถึง 16.3 ล้านคน คิดเป็น 44% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งประเทศ และมีมูลค่า GDP สูงถึง 7 ล้านล้านบาท คิดเป็น 43% ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศของไทย

มีการประเมินกันว่า มี SMEs ถึง 1.33 ล้านราย (ประมาณ 44% ของ SMEs ทั้งหมด) กำลังเดือดร้อนอย่างมาก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งหากปล่อยให้ยืดเยื้อจนถึงสิ้นปี จะทำให้ SMEs สูญรายได้ไปกว่า 3.5 แสนล้านบาท และอาจจะมีการเลิกจ้างแรงงานถึง 4.09 ล้านคน

ความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยของ SMEs มีมากขนาดนี้ และกำลังอยู่ในสภาพวิกฤตถึงขนาดนี้ แต่กลับไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างที่ควรจะเป็นจากรัฐบาลเลย

เรามาดูความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ คนตัวเล็กตัวน้อยกัน ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และอุตตม สาวนายน ได้พูดถึงแนวทางการช่วยเหลือ SMEs ที่กำลังเดือดร้อน เพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้ เนื่องจากไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน มาก่อน ซึ่งมีอยู่ราวๆ 765,000 ราย โดย ณ ตอนนั้นสมคิดและอุตตม ได้วางแนวทางช่วยเหลือโดยกำหนดวงเงินเอาไว้ที่ 50,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า เป็นวงเงินที่น้อยมาก เพราะเท่ากับว่าผู้ประกอบการรายหนึ่ง สามารถกู้เงินได้เพียง 65,359 บาท เท่านั้น ซึ่งไม่มีทางพอที่จะใช้ประคับประคองธุรกิจไปได้เลย แต่ก็ยังมีบางเสียงว่า ในช่วงเริ่มต้นอาจจะเริ่มจากวงเงิน 50,000 ล้านบาทก่อนก็ได้ ได้น้อย ก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย

แต่ปรากฏว่า จนถึงปัจจุบันวงเงิน 50,000 ล้านบาท นั้นยังไม่เคยได้รับการอนุมัติเลย ท่ามกลางการแย่งชิงตำแหน่งกันภายในพรรครัฐบาล โดยวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ณ ขณะนั้น ก็โดดประชุมที่กระทรวงการคลังอย่างกะทันหัน และทำให้การประชุม ครม. เศรษฐกิจ ที่จะหารือถึงการช่วยเหลือ SMEs ต้องเลื่อนออกไปด้วย

ตั้งแต่วันนั้น จนถึงปัจจุบัน มาตรการการช่วยเหลือ SMEs แบบน้อยนิดด้วยวงเงิน 50,000 ล้านบาท ก็ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรมเลย ต้องเสียเวลารอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะใช้เงินกู้มาช่วยเหลือ SMEs ได้หรือไม่ และล่าสุด ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สสว. ไม่สามารถใช้เงินกู้ในการช่วยเหลือ SMEs ได้ เพราะผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ ที่กำหนดว่า การจัดตั้งกองทุนต้องมาจากเงินทุนประเดิมของรัฐบาล หรือเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เท่านั้น สรุปก็คือ SMEs ยังคงถูกรัฐบาลนี้ ทอดทิ้งให้เคว้งคว้างต่อไป ในขณะที่นายทุนสนามบิน ได้รับการช่วยเหลือแบบจัดหนักจัดเต็ม แบบรวดเร็วไปถึง 3 รอบแล้ว

นี่จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่า รัฐบาลนี้ไม่ได้ใส่ใจกับปัญหาของประชาชน และผู้ประกอบการตัวเล็กตัวน้อยเลย เอาแต่โอบอุ้มช่วยเหลือ นายทุนลูกเดียว

ปัจจุบัน เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลนี้ได้ใช้ไปแล้วทั้งสิ้น 4 แสนล้านบาท ยังเหลืออีก 6 แสนล้านบาท รัฐบาลควรยุติการเอาเงินที่เหลือไปใช้กับโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์ทางตรงกับประชาชน ไม่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการจ้างงานอย่างมีนัยสำคัญโดยทันที อย่างเช่น การขุดหนอง ถมที่ ปรับภูมิทัศน์ นั้นควรจะยุติได้แล้ว

ผู้ตรวจการแผ่นดิน เชื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอำนาจสั่งกักตัวต่างชาติเข้าไทย 14 วัน ป้องกัน โควิด19 ระบาดอีกรอบ

รัฐบาลควรจะคิดถึงหัวอกของประชาชนบ้าง และสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ขายคนตัวเล็กตัวน้อย ที่สามารถทำได้ทันทีเลย ก็คือ

1) การปลดล็อกโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ตัวเล็กตัวน้อย ที่ไม่เคยมีวงเงินกับสถาบันการเงินมาก่อน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เพิ่งจะมีปัญหาการขาดชำระหนี้ แต่มีแผนธุรกิจที่ดี ให้สามารถเข้าถึงวงเงินกู้ได้ เพราะข้อมูลจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์สามารถอนุมัติสินเชื่อให้กับ SMEs ไปเพียง 103,750 ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็นเพียง 20% ของวงเงินทั้งหมด และมี SMEs เพียง 63,342 รายเท่านั้น ที่ได้รับสินเชื่อ Soft Loan

2) การใช้วงเงิน 200,000 ล้านบาท ในการอุดหนุนค่าจ้าง 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท เพื่อพยุงการจ้างงานของ SMEs ตามที่คุณพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้เสนอไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้าง และการว่างงานที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนยังเป็นการพยุงกำลังซื้อ และการบริโภคภายในประเทศไปควบคู่กันด้วย (Note: 100,000 ล้านบาท ใช้พยุงการท่องเที่ยวในจังหวัดที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก 50,000 ล้านบาท เอาไว้อุดหนุนเด็กยากจน 1.64 ล้านคน ให้ได้เรียนต่อ และ 250,000 ล้าน สำรองไว้ใช้เยียวยา หากมีการระบาดเกิดขึ้นรอบสอง)

โรงเรียนดังย่านลาดพร้าวขู่ไล่ออกนร.หลังมีนร.เตรียมนัด ชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตยสัปดาห์นี้

สิ่งที่ประชาชน ผู้ประกอบการตัวเล็กตัวน้อย อยากจะพร้อมใจกันส่งเสียงเพื่อเรียกหาสามัญสำนึกจากรัฐบาลนี้ก็คือ พอทีเถอะกับการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ และการเอางบไปละเลงกับภารกิจทางการทหารที่ไม่ถูกกาลเทศะ เลิกที่จะเอาผลประโยชน์ของชาติไปโอบอุ้ม ป้องกันความเสี่ยงให้กับนายทุน ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล ควรจะมีสำนึกในหน้าที่ของตน ที่ต้องเอาภาษีที่เป็นน้ำพักน้ำแรงของประชาชน และเงินกู้ที่จะเป็นภาระที่ประชาชนต้องแลกมาด้วยการชะลอการพัฒนา และการอุดหนุนจากรัฐที่ต้องพร่องลงในอนาคต มาช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่จ้องแต่จะขโมยความฝันของพวกเขาไปทุกวัน และทอดทิ้งให้เขามีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอย่างสิ้นหวัง ไปเรื่อยๆ อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

5 วันเกิด รับโชคหลังสงกรานต์ เงินทองกองตรงหน้า!

หมอแอ้ เดอะเมจิกแมน เผย ดวงเมษายน 2567 : 5 วันเกิด หลังสงกรานค์มีโชค โคตรมหาเฮง! ผ่านช่อง Youtube ดวงD 

5 ลัคนาราศี เงินทองไหลมาเทมา แถมเข้ามาหลายช่องทาง!

ซินแสหมิง ขงเบ้งเมืองไทย เผย ดวงการเงิน เมษายน 2567 : 5 ลัคนาราศี โดนสาดทรัพย์ สาดเงิน สาดทอง รับเต็มๆเมษานี้ ผ่านช่อง Youtube ดวงD 

“ปาร์ค แจจุง” ประกาศวันเกณฑ์ทหาร – ปล่อยเพลงใหม่สุดพิเศษเร็วๆ นี้

เอาอีกแล้ว “ปาร์ค แจจุง” จะเข้ากรมในเดือนหน้านี้! พร้อมมอบเพลงสุดท้าย “Did Something Happen?” เป็นของขวัญชิ้นสุดท้าย

ชาวบ้านผวา! หลังเด็กตกปลาเจอศพทารก พร้อมเผยเหตุการสุดหลอน

ตร.เร่งหาแม่ใจร้าย! หลังเด็กวัย 12 ปี ไปตกปลาแล้วพบศพทารกถูกถ่วงในสระน้ำ ด้านชาวบ้าน เผย เรื่องเล่าสุดหลอน

งานงอก! พิธีกรดัง เจอปัญหา ตม. ฟินแลนด์ งานนี้ถึงกับร้องโอ๊ย

พิธีกรชื่อดัง เล่าอุทาหรณ์ เจอปัญหาเกี่ยวกับ ตม. ประเทศฟินแลนด์ หลังเดินทางเที่ยวทริป งานนี้ถึงกับร้องโอ๊ย!

อุ๊ย! ทอล ปาคลิปคู่ กระต่าย พรรณนิภา หลังกระแสดรามาทิ้งแฟน!

อุ๊ยว๊าย! ทอล เกียรติศักดิ์ ปาคลิปคู่ กระต่าย พรรณนิภา พร้อมปาแคปันเด็ด หลังโดนกระแสดรามาทิ้งแฟน!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า