“ดร.สามารถ” จวก! ทอท. ต้องโทษตัวเอง! เหตุสุวรรณภูมิแออัด!

วันนี้ (30 ส.ค.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง ผู้โดยสารสนามของบินสุวรรณภูมิ มากเกินกว่าค่าความจุของสนามบิน(ต่อปี) จึงทำให้ผู้โดยสารแออัด ระบุว่า…

สุวรรณภูมิแออัด
ใครรับผิดชอบ?
เวลานี้สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นประตูสำคัญของประเทศไทยมีผู้โดยสารแน่นแออัด สร้างความไม่สะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร รวมทั้งทำให้ผู้โดยสารล่าช้าเสียเวลา เป็นผลให้คุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิลดลง ด้วยเหตุนี้ Skytrax ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจการบินและจัดอันดับสนามบินดีเด่นของโลกเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ได้จัดให้สนามบินสุวรรณภูมิอยู่ในอันดับที่ 46 ร่วงลงมาจากอันดับที่ 36 ในปี พ.ศ.2561

ในปี พ.ศ.2561 สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสาร 62.8 ล้านคน ในขณะที่มีความจุ 45 ล้านคนต่อปี นั่นหมายความว่ามีปริมาณผู้โดยสารมากกว่าความจุของสนามบินถึง 17.8 ล้านคน จึงทำให้สนามบินแน่นแออัด ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาได้ และทำไมบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จึงไม่เร่งขยายสนามบินให้ทันกับการเพิ่มของปริมาณผู้โดยสาร ปล่อยให้ผู้โดยสารแน่นแออัดได้อย่างไร ใครจะต้องรับผิดชอบ? เป็นคำถามที่ผู้สนใจต้องการคำตอบ
ผมได้ร่วมจัดทำแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิ และได้ทำเสร็จในปี พ.ศ.2536 ในฐานะวิศวกรของบริษัท หลุยส์ เบอร์เจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังของอเมริกา แผนแม่บทนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังนี้ (1) อาคารผู้โดยสารหรือเทอร์มินัล 2 หลัง ประกอบด้วยเทอร์มินัล 1 อยู่ทางทิศเหนือด้านมอเตอร์เวย์ และเทอร์มินัล 2 อยู่ทางทิศใต้ด้านถนนบางนา-ตราด (2) อาคารเทียบเครื่องบินรอง (สำหรับให้ผู้โดยสารนั่งรอขึ้นเครื่องบิน) 2 หลัง ตั้งอยู่ระหว่างเทอร์มินัล 1 และเทอร์มินัล 2 (3) รถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) วิ่งใต้ดินเชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับเทอร์มินัล 2 และ (4) รันเวย์ 4 เส้น ตั้งอยู่ด้านตะวันตก 2 เส้น และด้านตะวันออก 2 เส้น องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 120 ล้านคนต่อปี

แผนแม่บทดังกล่าวมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 สร้างเทอร์มินัล 1 สร้างรันเวย์ 1 และรันเวย์ 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2549 ทำให้สนามบินมีความจุ 45 ล้านคนต่อปี ซึ่งขณะนี้สนามบินก็ยังคงมีความจุเท่าเดิมคือ 45 ล้านคนต่อปี
ระยะที่ 2 ขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก สร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และรถไฟฟ้าไร้คนขับช่วงที่ 1 หรือAPM1 เชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สนามบินจะมีความจุเพิ่มขึ้น 15 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 60 ล้านคนต่อปี (45+15)
ระยะที่ 3 ขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันตก สร้างรันเวย์ 3 จะทำให้สนามบินมีความจุเพิ่มขึ้น 15 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 75 ล้านคนต่อปี (60+15)
ระยะที่ 4 สร้างเทอร์มินัล 2 ด้านทิศใต้ สร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 สร้างรันเวย์ 4 และรถไฟฟ้าไร้คนขับช่วงที่ 2 หรือAPM2 เชื่อมระหว่างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 กับหลังที่ 2 รวมทั้งเชื่อมกับเทอร์มินัล 2 จะทำให้สนามบินจะมีความจุเพิ่มขึ้น 45 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 120 ล้านคนต่อปี (75+45)

แผนแม่บทดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนระยะเวลาการก่อสร้าง และเนื้องานที่ระบุไว้ในช่วงเวลาของการก่อสร้างบ้างเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสาร แต่ไม่มีการเพิ่มหรือลดองค์ประกอบหลักของสนามบิน เช่น เทอร์มินัล เป็นต้น

ถึงเวลานี้การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิยังอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ก่อสร้างในปี พ.ศ.2553 และให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2560 แต่จนถึงขณะนี้ (สิงหาคม 2562) การก่อสร้างระยะที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ที่น่าเป็นห่วงอย่างมากก็คือ ทอท.ยังไม่เริ่มขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก ทั้งๆ ที่ได้ออกแบบเสร็จแล้ว และได้รับอนุมัติผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอแล้ว แต่ ทอท.เปลี่ยนใจจะไปขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันตกแทน ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ออกแบบ และยังไม่ได้ศึกษาอีไอเอ ที่สำคัญ ครม.ก็ยังไม่ได้อนุมัติ

อะไรเป็นเหตุให้ ทอท.ไม่ยอมขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก? ผู้สนใจคงหาคำตอบได้ไม่ยาก
ในขณะที่ไม่ยอมขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก แต่ ทอท.กลับมุ่งมั่นที่จะสร้างเทอร์มินัล 2 ซึ่งผิดแผนแม่บทหรือที่เรียกกันว่า “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” ที่ไม่เคยมีอยู่ในแผนแม่บทมาก่อน แต่เสมือนถูกตัดมาแปะไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเทอร์มินัล 1 ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายดังที่ผมได้กล่าวแล้วในหลายบทความที่ผ่านมา เช่น (1) ไม่ทำให้สนามบินมีความจุเพิ่มขึ้น เพราะ ทอท.ไม่สามารถก่อสร้างหลุมจอดเครื่องบินเพิ่มเติมได้ (2) ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวกสบาย เพราะจะต้องใช้ APM ถึง 3 สาย ประกอบด้วย APM ลอยฟ้า 2 สาย และ APM ใต้ดิน 1 สาย ทำให้เหนื่อย สับสนวุ่นวายก่อนจะได้ขึ้นเครื่อง และ (3) ทำให้เพิ่มปัญหารถติดบนมอเตอร์เวย์ เนื่องจากเทอร์มินัล 2 ตัดแปะจะตั้งอยู่ด้านมอเตอร์เวย์ ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้มอเตอร์เวย์เข้า-ออกสนามบิน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ถูกคัดค้านจากองค์กรวิชาชีพถึง 12 องค์กร และผู้หวังดีหลากหลายกลุ่ม

อนึ่ง ทอท.มักอ้างว่า เหตุที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะก็เพราะว่าองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ได้แนะนำให้ทำเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงไอเคโอได้แนะนำไว้เมื่อปี พ.ศ.2554 ในกรณี ทอท.ใช้เฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น เลิกใช้สนามบินดอนเมือง ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดมารวมอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้มีความจำเป็นต้องมีเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดไอเคโอได้มีหนังสือตอบ ทอท.ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 สรุปได้ว่า ไม่ยืนยันที่จะสนับสนุนให้ ทอท.ก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ เนื่องจากไอเคโอได้แนะนำไว้นานแล้ว แต่ ทอท.ไม่ได้ทำตามคำแนะนำ ที่สำคัญ คงเป็นเพราะ ทอท.ไม่สามารถแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ

การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งล่าช้าอยู่แล้ว ยิ่งล่าช้าเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากการไม่ทำตามแผนแม่บท เป็นผลให้สนามบินสุวรรณภูมิแน่นแออัด หาก ทอท.เร่งก่อสร้างระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2560 ตามที่กำหนดไว้หลังจาก ครม.อนุมัติในปี พ.ศ.2553 ก็จะทำให้สนามบินมีความจุ 60 ล้านคนต่อปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ไม่ใช่มีความจุเพียงแค่ 45 ล้านคนต่อปี สนามบินก็จะไม่แน่นแออัดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่สำคัญ สนามบินสุวรรณภูมิคงได้รับการจัดอันดับสนามบินดีเด่นของโลกให้อยู่ในอันดับที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่อันดับที่ 46

น่าเสียดายที่ ทอท.ไม่เร่งก่อสร้างสนามบินระยะที่ 2 ตั้งแต่ ครม.อนุมัติในปี พ.ศ.2553 ซึ่งในขณะนั้น มีผู้โดยสาร 42.5 ล้านคน น้อยกว่าความจุของสนามบิน น่าเสียดายที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลกดังเช่นสนามบินชางงีของสิงคโปร์ซึ่งครองแชมป์ติดต่อกันมานานหลายปีแล้ว ถ้า ทอท.เดินตามแผนแม่บทมาอย่างต่อเนื่อง สนามบินสุวรรณภูมิคงมีโอกาสได้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลกดังเช่นสนามบินชางงีอย่างแน่นอน
ที่เป็นเช่นนี้ ทอท.จะโทษคนอื่นไม่ได้ นอกจากตัวเอง!

อ่านข่าว Bright Today

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“ขนมจีน” ซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ที่จะส่งความเห็นใจให้ มือที่สาม

“ขนมจีน” ส่งซิงเกิลใหม่ ‘ทำใจเก่ง’ ได้ “เติร์ด Tilly Birds” และ “bnz” โปรดิวซ์ส่งความเห็นใจ ‘มือที่สาม’ พร้อมได้ “มิว ศุภศิษฐ์” ร่วมแสดง MV

ทุ่มสุดตัว! “เจฟ ซาเตอร์” จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติให้แฟนๆ เซอร์ไพร์สครั้งใหญ่

“เจฟ ซาเตอร์” ทุ่มสุดตัว!! จัดเต็มโปรดักชันอลังการ ครบทุกมิติ ขนเซอร์ไพร์ส!! โชว์จัดหนักเพื่อแฟนเพลงในคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้

“RIIZE” เตรียมปล่อยเพลง มินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้แฟนๆ ได้ฟังก่อนใคร!

RIIZE เตรียมปล่อยเพลงในมินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้ได้ฟังกันก่อนใครในวันที่ 29 เมษยน 2024 นี้ พร้อมสไตล์ที่อันโดดเด่น

ศาลตัดสิน! แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” ไม่ได้รับมรดกสักแดงเดียว

แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” แพ้คดีความเรื่องมรดก และศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้สมาชิกในครอบครัวที่ดูแลเธอได้รับมรดกแทน

“Code Kunst” ตัดสินใจแยกทางกับ AOMG หลังอยู่มานานถึง 6 ปี

นักดนตรี/โปรดิวเซอร์ “Code Kunst” ชื่อดัง ได้ตัดสินใจแยกทางกับค่ายเพลง AOMG หลังจากอยู่มานานถึง 6 ปี ทำเอาใจหายไปกันทั้งทามไลน์

ลายพรางสุดโหด! จับสิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ปมฉุนแซวสาว

โหดเหี้ยม ตร.รวบ สิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ก่อนหิ้วป่าละเมาะ ใกล้ดอยสุเทพ เตรียมเร่งล่าผู้ต้องหาอีก 2 คน
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า