ฉลามหัวบาตร (Bull Shark) สัตว์ชนิดนี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างไร เรียนรู้พฤติกรรม นิสัย ถิ่นที่อยู่ เพื่อศึกษา และทำความเข้าใจแล้วคุณจะรู้ว่าฉลามชนิดนี้มีความพิเศษมากขนาดไหน
จากกรณีข่าวนักท่องเที่ยวชายชาวนอร์เวย์ถูกฉลามหัวบาตรกัดที่เท้าบริเวณหาดทรายน้อย ตำบลเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในวงกว้างรวมถึงผลกระทบภาพรวมด้านการท่องเที่ยวของไทยด้วย
ฉลามหัวบาตร (Bull shark) เรียนรู้พฤติกรรม นิสัย
สำหรับฉลามประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มของปลาฉลามครีบดำ รูปร่างกลมยาว หัวกลมแบนรับกับปากและฟันแหลมคม ครีบหลังสามเหลี่ยมแนวตั้ง ลักษณะทางกายภาพของฉลามหัวบาตรเราจะคุ้นเคยกันดีเพราะมักเป็นตัวแทนของความดุร้ายตามสื่อความบันเทิงต่างๆ ขนาดตัวโตเต็มที่ประมาณ 3.5 เมตร น้ำหนักกว่า 316.5 กิโลกรัม
ฉลามหัวบาตรพบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก รวมถึงน้ำจืดที่ฉลามประเภทนี้สามารถปรับตัวเข้ามาหาอาหารได้ด้วย ส่วนแถบทะเลไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน มีรายงานการพบฉลามหัวบาตรตามทะเลจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี
อันดับ 1 ใน 3 ของฉลามอันตรายที่สุด
ลักษณะนิสัยของฉลามหัวบาตรถูกระบุว่าเป็นสัตว์นักล่าที่มีพฤติกรรมดุร้าย อาหารของพวกมันคือปลาขนาดใหญ่ ปลากระเบน หรือแม้แต่พวกเดียวกัน สิ่งที่ควรรู้คือฉลามหัวบาตรไม่กินมนุษย์เป็นอาหารแต่จากรายงานการจู่โจมมนุษย์ทั่วโลกส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการไปลุกล้ำพื้นที่อาศัย และการหลงเข้ามาบริเวณน้ำตื้นและนึกว่าอวัยวะอย่างขาของมนุษย์เป็นอาหาร
รายงานการจู่โจมมนุษย์ในไทยของฉลามหัวบาตรเกิดขึ้นน้อยมากเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง ทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บจากการกัดหรืองับ ส่วนรายงานการเสียชีวิตเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเกือบ 10 ปีก่อน โดยครั้งนั้นนักท่องเที่ยวถูกฉลามกัดที่เกาะพะงันแต่ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลจากภาวะเสียเลือดมากแถมไม่ได้ระบุว่าเป็นการกระทำของฉลามชนิดไหนด้วย
โพสต์โดย แดง จิตต์วารินทร์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 16 เมษายน 2018
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฉลามหัวบาตรที่พบในทะเลไทยส่วนใหญ่เป็นลูกฉลามที่ว่ายพลัดหลงเข้ามาบริเวณน้ำตื้น รูปแบบการทำร้ายเกิดจากการกัดแล้วปล่อยเพียงครั้งเดียวเนื่องจากคิดว่าเป็นอาหาร ส่วนปลาฉลามประเภทอื่นที่อันตรายกว่า อาทิ ฉลามเสือ หรือฉลามขาว ยังไม่มีรายงานการพบเจอในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือสปช.)
ทั้งนี้การพบฉลามหัวบาตรครั้งล่าสุดบริเวณบริเวณหาดทรายน้อย ต.เขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจมีการจัดทีมลาดตระเวณทางทะเล เฝ้าระวัง และลงพื้นที่เพื่อสร้างความอุ่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำ วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ดังกล่าว
Cr. eskipaper.com, abc.net.au