หลายๆ คนต้องเป็นแน่นอน 10 เหตุผลที่ทำให้เป็น “ตะคริว” ตอนกลางคืน ทำให้เรานอนไม่หลับ ตื่นมาแล้วเพลีย มีวิธีป้องกันอย่างไร มาดูเลย
ใครเคยเป็นบ้าง ตะคริวตอนกลางคืน ปัญหาที่น่ากวนใจหลายๆ คนและแก้ไขปัญหาด้วยการบีบๆ นวด โดยไม่ได้ใส่ใจกับมัน บอกเลยว่าอย่าปล่อยไว้ อย่าชะล้าใจ นี้อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้การที่เราเป็น ตะคริว ตอนกลางคืนบ่อยๆ ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกเนื่องจากทำให้เราหลับไม่สนิท หลับไม่ต่อเนื่อง ตื่นมาแล้วรู้สึกนอนไม่พอ หรือเพลีย นั่นเอง

อาการของตะคริว
กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง ซึ่งจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ทิ้งเวลาไว้ซักพักอาการก็จะดีสักพักอาการจะดีขึ้น
สาเหตุของการเกิดตะคริว
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดตะคริว แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี เป็นต้น
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดตะคริว
- การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
- ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรง คือเกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
- ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
- หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
- กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก จะทำให้เกิดตะคริวได้บ่อย
- การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
- กล้ามเนื้อขาดเลือด หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้วอร์มอัพ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ
- การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และเกิดตะคริวได้เช่นกัน
- ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุอาจเป็นตะคริวขณะที่เดินนาน ๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
วิธีการป้องกันตะคริว
- ควรนอนในท่าที่ผ่อนคลาย อย่าให้กล้ามเนื้อตึง
- ควรจะห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
- หากเกิดอาการเป็นตะคริวขึ้นมาในตอนกลางคืนหรือในขณะที่นอน ให้คุณยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วิ ทำแบบนี้ 5-10 ครั้งแล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
- ควรดื่มนมก่อนนอนเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายและยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้วพร้อมทั้งฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อย ๆ
อาการตะคริวอาจจะเป็นเพียงไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่ก็ถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติของร่างกาย ดังนั้นเราควรที่จะหาสาเหตุการเกิดที่แท้จริงเช่น สารอาหาร ที่เราทานไม่พอหรือว่าอาหารที่เราไม่ค่อยได้รับประทาน และเพื่อแก้ไข้ที่ต้นเหตุแล้วจะได้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกต่อไป
แหล่งที่มา paolohospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY