ใครที่ชอบเป็น ตะคริว ฟังทางนี้ รู้หรือไม่! ถั่วเหลือง สามารถลดอาการ กล้ามเนื้อหดเกร็งขั้นรุนแรง พร้อมเคล็ดลับ ป้องกัน-ลดการเกิดตะคริว
ตะคริว อาการหดแกร่งกล้ามเนื้อที่หลายคนยังเข้าใจผิดเเละสับสนกับคำว่า “เหน็บชา” ซึ่งจริงๆแล้ว การเป็น “ตะคริว” คือการหดแกร่งของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราบิดขี้เกียจแล้วน่องขาของเราเกิดการเกร็งเเล้วมีความรู้สึกปวดรุนแรง หรือ ตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องการขยับปลายเท้าลง (ให้ปลายเท้าห่างจากลำตัวของเรามากขึ้น) จะต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อน่อง (Gastu – Sloeus Muscles) ให้หดตัว เพื่อให้มีผลในการดึงส้นเท้าเข้าหาลำตัว ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้ปลายเท้าเคลื่อนออกห่างลำตัว ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดจากตัวเราเป็นผู้สั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานโดยหดตัว สำหรับตะคริวที่เกิดที่น่องเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง การเป็นตะคริวไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่น่าเป็นห่วง แต่หากในรายที่เกิดรุนแรงมากก็จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายมาก หากเป็นตะคริวที่มีอาการขาบวมแดงหรือผิวหนังเกิดความเปลี่ยนแปลง หรือพบว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย เกิดตะคริวขึ้นบ่อยครั้ง หรือรักษาเองไม่หาย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และสิ่งที่อันตรายที่สุดเลยคือ การเกิดตะคริวขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งอันตรายถึงชีวิตนั้นเอง

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อยๆ ได้แก่
- กล้ามเนื้อน่อง (Calf Muscles หรือ Gastro – Soleus Muscles)
- กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (Quadriceps และ Hamstring Muscles)
- กล้ามเนื้อบริเวณหลัง (Back Muscles)
วิธีป้องกันเเละลดการเกิดตะคริว
- การกินถั่วเหลืองและถั่วลันเตาสีทอง
เนื่องจาก ในถั่วเหลืองเเละถั่วลันเตาสีทอง มีสาร BCAA ซึ่งมีกรดอะมิโนสำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมมวลกล้ามเนื้อที่สึกหรอ ลดภาวะกล้ามเนื้อเหนื่อยล้า ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ leucine,isoleucine และ valine ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ซึ่งสารเหล่านี้ได้มาจากการรับประทานอาหารเข้าไป หรือมาจากพวกอาหารเสริมนั่นเอง ได้แก่ โปรตีนจากพืชที่สกัดจาก ถั่วลันเตาสีทอง, ถั่วเหลือง ที่เป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่ดีอย่าง BCAA, Arginine,Glutamine & Glutamic Acid นั้นเอง - พยายามออกกำลังกาย
เพื่อบำรุงกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่ม Physical Fitness โดยภาพรวม และต้องพยายามเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว เพื่อให้มี Muscular Fitness เป็นอย่างดีด้วย เพราะการมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการล้า (Fatigue) ก็เกิดช้าลง โอกาสเกิดตะคริวก็น้อยลงไปด้วย - Warm – up หรือการอบอุ่นร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ (Muscle Stretching)
จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บก็จะมีการหดเกร็งตัว มีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่จะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต้องให้เวลากับการ Warm – up ให้เพียงพอ รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อด้วย - การรับประทานน้ำให้เพียงพอ
ดูแลร่างกายไม่ให้มีภาวะขาดน้ำที่เรียกว่า Dehydration โดยเฉพาะคนที่ต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต้องเตรียมความพร้อม โดยสังเกตที่สีของน้ำปัสสาวะ ถ้าหากมีสีค่อนข้างเหลืองแสดงว่าน้ำในร่างกายมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น การรับประทานน้ำก่อนการออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง ประมาณ 100 ซีซีขึ้นไป โดยค่อย ๆ จิบไปเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ และเวลาออกกำลังกายมีเหงื่อออกมาก็ต้องมีการชดเชยระหว่างเล่นกีฬาไปด้วย เพราะขาดน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้เกิด “Heat Cramp” ได้ - การกิน “โปรตีนพืช”
เพราะโปรตีนพืช เป็นโปรตีนที่ไม่มีคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะโปรตีนพืชที่สกัดจาก ถั่วเหลือง,ถั่วลันเตาสีทอง, เมล็ดฟักทอง, ข้าวไรซเบอร์รี่ เนื่องจากโปรตีนที่สกัดจากจำพวกนี้ เป็นโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อได้ดี เเละยังมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิต, ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ, ช่วยรักษาความแข็งแรงของกระดูก,ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย






ชี้เป้าแหล่งโปรตีนพืช :
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY