เตือนคนที่ ท้องผูก กลั้นอุจจาระบ่อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย อย่าชะล่าใจ! อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ท้องผูก อาการนี้ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย จะเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งแสนลำบากเรียกว่าต้องเบ่งกันจนหน้ามืด ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว ยิ่งคิดยิ่งเครียดอย่าปล่อยให้ภาวะการขับถ่ายที่ผิดปกติดำเนินไปโดยไม่แก้ไข หรือแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

ภาวะท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ ซึ่งผู้ที่มีอาการท้องผูกมากถึง 50% มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเหล่านี้ คือ การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพวกพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น
ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง และอันตรายมากแค่ไหน?
- ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
- ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
- ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
- ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ

ผูกได้ ก็แก้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แค่เปลี่ยน ชีวิตก็จะง่ายขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เพราะอาหารประเภทนี้ช่วยการกระตุ้นระบบขับถ่าย ทำให้อุจจาระนิ่ม ป้องกันอาการท้องผูก จึงช่วยป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ มะเร็งในกระเพาะอาหาร
- รับประทานผลไม้จำพวกตระกูลเบอร์รี เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการถูกทำร้ายของเซลล์ของร่างกาย, ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย, มีปริมาณใยอาหารสูงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลเเละช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- รับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เพราะ โพรไบโอติกส์คือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดการอักเสบในลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้เพื่อการขับถ่ายได้ดี
- รับประทานโปรตีนพืชที่ผสมไฟเบอร์ เพราะการทานแหล่งโปรตีนจำพวกนี้ จะช่วยเสริมสร้างและบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรงลดอาการกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอและตัวไฟเบอร์ยังส่งผลให้ระบบขับถ่ายดียิ่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ให้แข็งแรง, ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดี, ช่วยในการย่อยอาหารและส่งเสริมสุขภาพลำไส้
ชี้เป้าแหล่งโปรตีนพืชผสมไฟเบอร์


ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY