นิติฯ จุฬา —ทวิตเตอร์ นิติจุฬาฯจะไม่เป็นทาสคุณอีกต่อไป ได้เปิดเผยว่าชื่อนิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่าจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กว่า 1,589 คน ที่ร่วมกันลงนามออกแถลงการณ์น เรื่อง ขอประณาม คัดค้าน และตั้งข้อเรียกข้องต่อรัฐบาลไทย จากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ โดยระบุว่า
แถลงการณ์ นิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่าแห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วน
เรื่อง ขอประณาม คัดค้าน และตั้งข้อเรียกข้องต่อรัฐบาลไทย
จากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
จากเหตุการณ์อันสืบเนื่องจากการชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ พื้นที่สี่แยกปทุมวัน และบริเวณโดยรอบ การชุมนุมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ของประชาชน โดยสงบ และปราศจากอาวุธ ภายใต้กรอบของกฎหมาย อันเป็นสิทธิของประชาชนชาวไทยที่พึงกระทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้บัญญัติรับรองไว้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า รัฐบาลไทยโดยผู้มีอำนาจ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการสลายการชุมนุม โดยเข้าปะทะและใช้ความรุนแรงกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งปราศจากอาวุธ อาทิ การฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมีไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง การกระทำเช่นว่านั้น เข้าข่ายการใช้ความรุนแรงเกินสัดส่วน อันขัดต่อหลักเสรีภาพ และหลักสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
เหล่านิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่าแห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วน ดังมีรายนามปรากฏท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอประณามและคัดค้าน การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลไทย และมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
๑.ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งฉบับลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ และ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ โดยทันที เนื่องจากเป็นการบังคับใช้กฎหมายเกินสัดส่วนและความจำเป็นเหนือพลเรือน อันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก
๒.ให้ยุติการกระทำใด ๆ อันเป็นการคุกคามหรือลดทอนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงยุติการปฏิบัติใด ๆ เพื่อสลายการชุมนุม และยุติการควบคุมตัวแกนนำพร้อมทั้งผู้ชุมนุมทั้งหมดในทันที
๓.ให้ยุติการคุกคามและควบคุมสื่อมวลชน ในการเผยแพร่ข่าวสารข้อเท็จจริงจากการชุมนุม เพื่อให้ประชาชนได้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดและถูกต้อง
๔.ให้งดเว้นการปิดกั้นการเข้าถึงบริการสาธารณะ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ในการจัดหาและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อาทิ การเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาล และการใช้บริการคมนาคมขนส่งมวลชน
๕.ให้มีการตรวจสอบและลงโทษการกระทำของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสลายการชุมนุมซึ่งมีการใช้อำนาจเกินขอบเขตแห่งกฎหมาย และการใช้ความรุนแรงโดยมิชอบต่อประชาชน
๖.ให้รัฐมีความยึดมั่นในหลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด หากจะมีการบังคับใช้กฎหมายอันกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ย่อมต้องใช้อย่างจำกัดและพอเหมาะตามหลักความได้สัดส่วน รวมถึงการกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ทั้งนี้ ได้ทำการรวบรวมรายชื่อถึงเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ มีผู้ร่วมลงนามทั้งสิ้น ๑,๕๘๙ คน ( ไม่ประสงค์ให้เปิดเผยข้อมูล ๔๘๐ คน )
อาจารย์นิติศาสตร์ 101 คน จี้ยกเลิก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
อ.นิติ จุฬา ซัด พลังประชารัฐ และส.ว.เป็นตัวก่อวิกฤตการเมืองไทย หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นมา ต้องรับผิดชอบ
อ.นิติ จุฬา ซัด พลังประชารัฐ และส.ว.เป็นตัวก่อวิกฤตการเมืองไทย หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นมา ต้องรับผิดชอบ







